สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ฮะยะบุซะ 2 ไปได้สวย

ฮะยะบุซะ 2 ไปได้สวย

9 ต.ค. 2561
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อเดือนธันวาคม 2557 องค์การแจ็กซาของญี่ปุ่นได้ส่งยาน ฮะยะบุซะ ขึ้นสู่อวกาศเพื่อไปสำรวจดาวเคราะห์น้อย 162173 ริวงุ (162173 Ryugu) ยานได้เดินทางไปถึงดาวเคราะห์น้อยดวงนี้เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

ยานฮะยะบุซะ มียานลูกชื่อ มิเนอร์วา-2 (MINERVA-II) พัฒนามาจากมิเนอร์วารุ่นก่อนซึ่งเดินทางไปกับยานฮะยะบุซะลำแรก โดยเพิ่มความสามารถมากขึ้น เมื่อวันที่ 23 กันยายน ยานได้ปล่อยมิเนอร์วา-2 ลำสองลงไปสำรวจถึงบนพื้นผิว ปฏิบัติการส่วนนี้ประสบความสำเร็จ ยานลงไปสัมผัสพื้นผิวดาวเคราะห์น้อยริวงุพร้อมกับส่งภาพระยะใกล้กลับมา ทั้งภาพนิ่งและภาพวิดีโอ 

แม้คุณภาพของภาพถ่ายจากมิเนอร์วา-2 ที่ได้มามีความพร่ามัวบ้าง แต่ก็ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างงดงาม มิเนอร์วา-2 ถ่ายภาพขณะที่ยานกำลังกระโดดอยู่บนพื้นผิว ไม่ได้ถ่ายขณะจอดนิ่ง หน้าที่หลักของยานมิเนอร์วา-2 คือการทดสอบวิธีการเคลื่อนที่ในสภาพความโน้มถ่วงต่ำมากอย่างบนดาวเคราะห์น้อย แม้จะมีรูปร่างเหมือนล้อ แต่มิเนอร์วา-2 ไม่ได้เคลื่อนที่ด้วยการหมุนล้อ เพราะหลักการของล้อทำงานไม่ได้ในสภาพความโน้มถ่วงที่ต่ำมากบนดาวเคราะห์น้อย มิเนอร์วาจึงต้องใช้วิธีกระโดดแทน ผลงานของมิเนอร์วา-2 จึงเป็นการยืนยันถึงประสิทธิภาพในการควบคุมการเคลื่อนไหวของยานสำรวจบนวัตถุท้องฟ้าขนาดเล็ก ซึ่งเป็นผลของการทุ่มเทวิจัยมานานหลายปี 

ขณะที่ยานฮะยะบุซะ เฉียดเข้าใกล้ผิวของริวงุเพื่อที่จะปล่อยยานลูกทั้งสอง ยานก็ได้ถ่ายภาพพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ไว้เหมือนกันด้วยกล้องที่มีชื่อว่า โอเอ็นซี-ที ขณะที่ยานอยู่เหนือพื้นผิว 64 เมตร ภาพที่ได้จากยานฮะยะบุซะ มีความคมชัดมากกว่าที่ได้จากยานมิเนอร์วา 

สำหรับมิเนอร์วา-2 สองลำแรกที่เพิ่งปล่อยไป ลำหนึ่งสร้างโดยกลุ่มมหาวิทยาลัยของญี่ปุ่น อีกลำหนึ่งสร้างโดยแจ็กซาและมหาวิทยาลัยไอซุ แต่ละลำหนักประมาณ 1.1 กิโลกรัม 

ต่อมาในวันที่ ตุลาคม ฮะยะบุซะ ก็เริ่มปฏิบัติการที่สอง นั่นก็คือปล่อยยานสำรวจขนาดเล็ก ชื่อ มาสคอต ลงไปบนดาวเคราะห์น้อยริวงุบ้าง

หุ่นมาสคอต (MASCOT--Mobile Asteroid Surface Scout) สร้างโดยศูนย์อากาศและอวกาศเยอรมนีร่วมกับองค์การอวกาศฝรั่งเศส มีรูปร่างเป็นก้อนสี่เหลี่ยมขนาดเท่ากล่องรองเท้า 

หน้าที่ของมาสคอตต่างจากมิเนอร์วาอย่างสิ้นเชิง มิเนอร์วาเป็นยานทดสอบระบบการเคลื่อนที่บนสภาพแรงโน้มถ่วงต่ำ แต่มาสคอตเป็นหุ่นสำรวจ มีอุปกรณ์หลักสี่ตัว คือกล้องถ่ายภาพ สเปกโทรมิเตอร์ แมกนีโทมิเตอร์ และมาตรรังสี  วิศวกรภารกิจหวังว่าข้อมูลสำรวจจากมาสคอตจะส่งกลับขึ้นมายังยานแม่ฮะยะบุซะ ได้ทั้งหมดก่อนจะหยุดทำงานไป การที่มาสคอตมีอุปกรณ์สำรวจหลายชิ้น จึงกินกระแสไฟฟ้ามากเกินกว่าจะใช้แผงเซลสุริยะ มาสคอตจึงต้องทำงานด้วยพลังงานจากแบตเตอรีเพียงอย่างเดียว ซึ่งทำให้มีอายุงานสั้นมาก หลังจากปฏิบัติภารกิจได้ 17 ชั่วโมง แบตเตอรีก็หมดไป อย่างไรก็ตามก็ยังถือว่าทำงานได้เกินเป้าหมายเพราะเดิมคาดว่าจะทำงานได้เพียง 16 ชั่วโมงเท่านั้น

เช่นเดียวกับยานมิเนอร์วา-2 หุ่นมาสคอตไม่ใช้ล้อในการเคลื่อนที่ ใช้การเหวี่ยงตุ้มเพื่อกลิ้งยานแทน

ในปลายปีนี้ ยานฮะยะบุซะ จะปล่อยยานมิเนอร์วา-2 อีกลำหนึ่ง และในปีหน้า ยานฮะยะบุซะจะปฏิบัติการลงไปใกล้ผิวดาวเคราะห์น้อยริวงุเพื่อเก็บตัวอย่างหินบนพื้นผิว ก่อนที่จะนำกลับโลกในปลายปี 2563

ภาพพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยริวงุ <wbr>ถ่ายจากยานมาสคอตขณะกำลังลงจอดบนพื้นผิว <wbr>เมื่อวันที่ <wbr>2 <wbr>ตุลาคม <wbr>2561 <wbr>เงาของยานยังปรากฏอยู่ที่มุมขวาบนของภาพ <wbr>ภาพนี้ดูเผิน <wbr>ๆ <wbr>เหมือนพื้นผิวเต็มไปด้วยแอ่งตื้น <wbr>ๆ <wbr>น้อยใหญ่อยู่ทั่วไปและมีหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่ทางซ้ายของภาพ <wbr>แต่ความจริงแล้วสิ่งเหล่านั้นเป็นก้อนหิน <wbr>ภาพนี้แสงฉายมาจากซ้ายล่างของภาพ <wbr><br />

ภาพพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยริวงุ ถ่ายจากยานมาสคอตขณะกำลังลงจอดบนพื้นผิว เมื่อวันที่ ตุลาคม 2561 เงาของยานยังปรากฏอยู่ที่มุมขวาบนของภาพ ภาพนี้ดูเผิน ๆ เหมือนพื้นผิวเต็มไปด้วยแอ่งตื้น ๆ น้อยใหญ่อยู่ทั่วไปและมีหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่ทางซ้ายของภาพ แต่ความจริงแล้วสิ่งเหล่านั้นเป็นก้อนหิน ภาพนี้แสงฉายมาจากซ้ายล่างของภาพ 
(จาก German Aerospace Center (DLR))

ภาพพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยริวงุ ถ่ายโดยยานมิเนอร์วา-2

ภาพพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยริวงุ ถ่ายโดยยานมิเนอร์วา-2

ภาพในจินตนาการของศิลปิน <wbr>แสดงยานมาสคอตลงจอดบนดาวเคราะห์น้อยริวงุ <wbr><br />

ภาพในจินตนาการของศิลปิน แสดงยานมาสคอตลงจอดบนดาวเคราะห์น้อยริวงุ 
(จาก DLR (CC-BY 3.0))

ยานมิเนอร์วา 2 บนดาวเคราะห์น้อยริวงุ

ยานมิเนอร์วา 2 บนดาวเคราะห์น้อยริวงุ (จาก JAXA)

ภาพจากพื้นผิวดาวเคราะห์น้อยริวงุที่ละเอียดที่สุดเท่าที่ได้จนถึงขณะนี้ <wbr>ถ่ายโดยกล้องโอเอ็นซี-ที <wbr>เมื่อวันที่ <wbr>21 <wbr>กันยายน <wbr>2561 <wbr><br />

ภาพจากพื้นผิวดาวเคราะห์น้อยริวงุที่ละเอียดที่สุดเท่าที่ได้จนถึงขณะนี้ ถ่ายโดยกล้องโอเอ็นซี-ที เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2561 
(จาก JAXA)

ที่มา: