สมาคมดาราศาสตร์ไทย

พบแล้ว หลุมดวงจันทร์จากจรวดลึกลับพุ่งชน

พบแล้ว หลุมดวงจันทร์จากจรวดลึกลับพุ่งชน

5 ก.ค. 2565
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ได้มีข่าวน่าตื่นเต้นเล็ก ๆ ข่าวหนึ่งว่า นักดาราศาสตร์พบวัตถุลึกลับดวงหนึ่งกำลังจะพุ่งชนดวงจันทร์ วัตถุดวงนี้ไม่ใช่ดาวเคราะห์น้อยทั่วไป แต่คาดว่าเป็นจรวดท่อนบนของสเปซเอกซ์ซึ่งได้นำยานดิสคัฟเวอร์ (DSCOVR--Deep Space Climate Observatory) ของนาซาขึ้นไปอยู่ที่จุดแอล ของระบบโลก-ดวงอาทิตย์เมื่อปี 2561 

บิลล์ เกรย์ ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับติดตามขยะอวกาศ คำนวณไว้ว่า วัตถุดวงนี้จะพุ่งชนดวงจันทร์ในวันที่ มีนาคม 2565

ข่าวนี้เป็นที่สนใจอย่างกว้างขวาง แม้การชนจะมองไม่เห็นจากโลกเพราะเกิดขึ้นที่ด้านไกลของดวงจันทร์ อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นอีกไม่กี่สัปดาห์ จอน จอร์จินี จากเจพีแอลได้ชี้แจงว่า เป็นไปไม่ได้ที่วัตถุลึกลับนั้นจะเป็นจรวดที่ส่งยานดิสคัฟเวอร์เนื่องจากเส้นทางจรวดไม่เข้าใกล้ดวงจันทร์เลย เกรย์จึงต้องกลับไปทบทวนข้อมูลอีกครั้งว่าวัตถุลึกลับนั้นคืออะไรกันแน่ 

จรวดลองมาร์ช ซี ขณะกำลังนำยานฉางเอ๋อ ที ขึ้นสู่อวกาศในปี 2557 วัตถุลึกลับที่พุ่งชนดวงจันทร์อาจเป็นท่อนบนของจรวดลำนี้ (จาก Xinhua)

ผลการวิเคราะห์ใหม่ชี้ไปที่จรวดท่อนบนจรวดลองมาร์ช ซีของจีนที่นำภารกิจฉางเอ๋อ ที ไปสำรวจดวงจันทร์ ภารกิจฉางเอ๋อ ที เป็นภารกิจทดลองเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะนำไปใช้จริงกับภารกิจฉางเอ๋อ ซึ่งได้ไปสำรวจดวงจันทร์และกลับมายังโลกพร้อมกับนำตัวอย่างจากดวงจันทร์กลับมาด้วยในปี 2564 

อย่างไรก็ตาม ถัดมาอีกไม่กี่วัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของจีนได้ออกมาปฏิเสธว่าวัตถุนั้นไม่ใช่จรวดของจีน เพราะจรวดที่นำภารกิจฉางเอ๋อ ที ได้ตกลงสู่มหาสมุทรไปแล้ว 

วัตถุลึกลับดวงนั้นพุ่งชนดวงจันทร์ที่หลุมเฮิร์ตซปรุงตามวันที่คำนวณไว้เมื่อเวลา 12:25 นาฬิกาด้วยความเร็ว 9,290 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทิ้งปริศนาคาใจนักดาราศาสตร์ว่าวัตถุนั้นคืออะไรกันแน่ 

บางทีหากพบหลุมที่พุ่งชนอาจช่วยให้คำตอบได้ นักดาราศาสตร์จึงฝากความหวังไว้กับยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ ยานสำรวจดวงจันทร์ของนาซาที่โคจรรอบดวงจันทร์อยู่ตั้งแต่ปี 2552 

พื้นผิวดวงจันทร์ที่ตำแหน่งถูกชน เปรียบเทียบระหว่างก่อนชน (ซ้าย 28 กุมภาพันธ์ 2565) และหลังชน (ขวา 21 พฤษภาคม 2565) (จาก NASA/GSFC/Arizona State University.)

ภาพมุมกว้างของจุดพุ่งชน ภาพนี้กินความกว้าง 1,100 เมตร  (จาก NASA/GSFC/Arizona State University.)


วัตถุดวงนี้ถูกค้นพบเมื่อเดือนมีนาคมปี 2558 โดยโครงการแคทาลีนาสกายเซอร์เวย์ซึ่งเป็นโครงการค้นหาวัตถุอันตรายใกล้โลก เมื่อแรกค้นพบได้ชื่อชั่วคราวว่า ดับเบิลยูอี 0913 เอ (WE0913A) อย่างไรก็ตาม ดับเบิลยูอี 0913 เอไม่ได้โคจรรอบดวงอาทิตย์แบบดาวเคราะห์น้อยทั่วไป แต่โคจรรอบโลก จึงเป็นที่สงสัยว่าอาจเป็นวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นมากกว่าที่จะเป็นดาวเคราะห์น้อย

ล่าสุด นักดาราศาสตร์พบหลุมที่เกิดจากการพุ่งชนนั้นแล้ว ยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ ได้ถ่ายภาพจุดที่พุ่งชนนั้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม และเมื่อเปรียบเทียบกับจุดเดียวกันที่ถ่ายไว้ก่อนการพุ่งชน แสดงถึงหลุมใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นอย่างชัดเจน

แต่สิ่งที่ทำให้นักดาราศาสตร์ต้องประหลาดใจที่สุดเมื่อเห็นภาพหลุมพุ่งชนนี้ก็คือ หลุมนี้ไม่ใช่หลุมเดี่ยว แต่เป็นสองหลุมอยู่ชิดติดกัน 

การเกิดหลุมคู่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้แต่ไม่บ่อยนัก โอกาสที่การชนจะทำให้เกิดหลุมคู่ได้ เช่นหากการชนเป็นการชนในมุมที่เลียดพื้น แต่ในกรณีนี้ก็ไม่ใช่การชนแบบเลียดพื้น วิถีการพุ่งชนในครั้งนี้เป็นมุม 15 องศาเทียบกับแนวดิ่ง การชนเลียดพื้นจึงไม่ใช่คำตอบ จรวดอะพอลโลเอส-4บี ที่เคยถูกบังคับให้พุ่งชนดวงจันทร์ก็ไม่มีลำไหนที่สร้างหลุมการพุ่งชนแบบคู่เลย 

ภาพพื้นผิวดวงจันทร์ แสดงจุดที่จรวด เอส-1วีบี ซึ่งเป็นจรวดท่อนบนที่นำยานอะพอลโลไปยังดวงจันทร์พุ่งชนดวงจันทร์ ทั้งหมดไม่มีหลุมใดเลยที่มีลักษณะเป็นหลุมคู่แบบหลุมที่เพิ่งพบเมื่อเดือนมีนาคม 2565 ภาพทั้งหมดถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ (จาก NASA/GSFC/Arizona State University)

หลุมที่พบใหม่นี้มีความกว้าง 18 เมตรและ 16 เมตร มาร์ก รอบินสัน หัวหน้าผู้สอบสวนของกล้องบนยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์อธิบายว่า ลักษณะของหลุมคู่แบบนี้อาจเกิดจากวัตถุที่มีมวลที่มีมวลมากที่ปลายทั้งสองด้าน จรวดที่ผ่านการใช้งานแล้วจะมีแต่ถังเชื้อเพลิงเปล่าเสียส่วนใหญ่ แต่มีน้ำหนักมากที่ส่วนปลายเพราะเป็นตำแหน่งของเครื่องยนต์ 

แต่จรวดใช้แล้วก็หนักปลายแค่ด้านเดียว จึงยังอธิบายที่มาของการเกิดหลุมคู่ไม่ได้อยู่ดี

แม้นักดาราศาสตร์จะยังอธิบายไม่ได้ว่าหลุมคู่เกิดขึ้นได้อย่างไร แต่เกรย์ยังคงมั่นใจมากว่าวัตถุนั้นเป็นจรวดท่อนบนที่ส่งฉางเอ๋อ ที แน่นอน คำกล่าวของรัฐมนตรีต่างประเทศจีนอาจเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน เกรย์สันนิษฐานว่ารัฐมนตรีอาจสับสนระหว่างยานฉางเอ๋อ กับฉางเอ๋อ ที ซึ่งจรวดที่นำยานฉางเอ๋อ นั้นตกลงสู่มหาสมุทรไปแล้วจริง

การที่ยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ค้นพบหลุมหลังการพุ่งชนเพียงไม่กี่เดือนนับเป็นความก้าวหน้าอย่างมาก ทั้งนี้ความสำเร็จนี้ได้รับการสนับสนุนจากเกรย์และเจพีแอลในการช่วยตีกรอบพื้นที่ค้นหาให้แคบจนเหลือเพียงระดับสิบกิโลเมตร จึงทำให้ค้นพบหลุมพุงชนภายในเวลาไม่นาน เทียบกับการค้นหาตำแหน่งพุ่งชนดวงจันทร์ของจรวด เอส-1วีบี ที่นำยานอะพอลโล 16 ไปดวงจันทร์ต้องใช้เวลานานถึง ปี