สมาคมดาราศาสตร์ไทย

พบหลักฐานดาวเคราะห์น้อยขนาด 30 กิโลเมตรชนโลกเมื่อ 3.4 พันล้านปีก่อน

พบหลักฐานดาวเคราะห์น้อยขนาด 30 กิโลเมตรชนโลกเมื่อ 3.4 พันล้านปีก่อน

The impact would have triggered earthquakes orders of magnitude greater than terrestrial earthquakes, it would have caused huge

20 พ.ค. 2559
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
พบหลักฐานของดาวเคราะห์น้อยขนาด 20-30 กิโลเมตรพุ่งชนโลกเมื่อ 3.5 พันล้านปีก่อนทางตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย พลังงานจากการชนรุนแรงยิ่งกว่าระเบิดนิวเคลียร์เป็นล้านลูก ทำให้เกิดแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ที่รุนแรงในระดับที่พลิกโฉมธรณีวิทยาของโลกเลยทีเดียว

หลักฐานนี้ค้นพบโดย แอนดรู กลิกสัน และอาร์เทอร์ ฮิกแมน จากมหาวิทยาลัยออสเตรเลียนเนชันนัลหรือเอเอ็นยูในขณะที่ขุดสำรวจอยู่ในออสเตรเลีย ทั้งสองได้พบตะกอนที่เก่าแก่ที่สุดตัวอย่างหนึ่งของโลกที่ประกบด้วยชั้นของละอองแก้วที่เรียกว่าเม็ดกลมเล็ก ซึ่งเป็นแก้วที่เกิดจากไอระเหยของวัสดุที่กระเด็นออกมาจากการพุ่งชน

"พลังงานจากการพุ่งชนทำให้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงยิ่งกว่าแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเองบนโลกหลายเท่า" ดร.กลิกสัน จากสถาบันดาวเคราะห์ของเอเอ็นยูกล่าว

หลักฐานการชนที่พบในครั้งนี้เป็นหลักฐานที่เก่าแก่เป็นอันดับสองเท่าที่เรารู้จัก และเป็นการชนที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งด้วย คาดว่าดาวเคราะห์น้อยที่ชนโลกในครั้งนั้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20-30 กิโลเมตร นั่นหมายความว่ามีขนาดใหญ่กว่าดาวเคราะห์น้อยที่ชนโลกเมื่อ 65 ล้านปีก่อนที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ถึง 2-3 เท่า

การชนในครั้งนั้นย่อมทำให้เกิดหลุมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางหลายร้อยกิโลเมตร แต่เป็นไปไม่ได้ที่จะพบหลุมนั้นในปัจจุบัน ร่องรอยของหลุมที่มีอายุมากขนาดนั้นย่อมเลือนหายไปนานแล้ว ดังนั้นการจะหาจุดถูกชนที่แน่นอนจึงทำไม่ได้ แต่การชนทำให้วัสดุสาดกระเด็นออกไปทั่วโลก มีการพบเม็ดกลมเล็กปะปนอยู่กับตะกอนที่ก้นทะเลที่มีระบุอายุได้ว่าเก่าแก่ถึง 3.46 พันล้านปี

ตัวเลข 3.46 พันล้านปีมีนัยสำคัญ เนื่องจากใกล้เคียงกับยุคที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า "ยุคชนกระหน่ำครั้งหลังซึ่งเกิดขึ้นระหว่าง 4.1 ถึง 3.8 พันล้านปีที่แล้ว ช่วงเวลานี้คือยุคที่โลก ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะชั้นในถูกชนกระหน่ำด้วยดาวเคราะห์น้อยและดาวหาง สันนิษฐานว่าเกิดจากการที่ดาวเคราะห์ยักษ์ที่อยู่รอบนอกมีการเคลื่อนย้ายวงโคจร ส่งแรงดึงดูดรบกวนให้วัตถุในแถบดาวเคราะห์น้อยหลักและแถบไคเปอร์เสียสมดุลและเบี่ยงทิศทางการเคลื่อนที่เข้ามายังระบบสุริยะชั้นในซึ่งโลกอาศัยอยู่

หลักฐานของยุคชนกระหน่ำครั้งหลังมาจากการสำรวจอายุของหินบนดวงจันทร์ที่นำกลับมายังโลกโดยนักบินอวกาศในโครงการอะพอลโล นักวิทยาศาสตร์พบว่าหินจากดวงจันทร์ส่วนใหญ่มีอายุไล่เลี่ยกันอยู่ในช่วงแคบ ๆ จึงชื่อว่าช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่ดวงจันทร์ถูกชนจากดาวเคราะห์น้อยถี่กว่าปกติ จึงเรียกกันว่า "ยุคชนกระหน่ำครั้งหลัง" 

โลกเราซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กันก็ย่อมพบกับชะตากรรมเดียวกัน แต่บนโลกมีกิจกรรมทางธรณีวิทยาเช่นภูเขาไฟและการเลื่อนของแผ่นทวีปที่คอยลบเลือนรอยถูกชนให้หายไปตามกาลเวลา มีเพียงตะกอนจากวัสดุที่เป็นผลพวงจากการชนนั้นที่ยังเหลือเป็นหลักฐาน

เป็นเวลา 20 ปีมาแล้วที่คณะของกลิกสันและฮิกแมนเฝ้าค้นหาหลักฐานของการพุ่งชนดึกดำบรรพ์ คณะนี้ได้พบการชนที่มีอายุมากกว่า 2.5 พันล้านปีมาแล้ว 17 ครั้ง แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าตัวเลขนี้เป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น ตัวเลขที่แท้จริงน่าจะมีอยู่ถึงหลายร้อย

ภาพในจินตนาการการชนของดาวเคราะห์น้อยขนาด <wbr>10 <wbr>กิโลเมตรเมื่อ <wbr>65 <wbr>ล้านปีก่อน <wbr>ซึ่งเป็นสาเหตุให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ <wbr>ดาวเคราะห์น้อยที่ชนโลกที่ออสเตรเลียตามหลักฐานที่พบล่าสุดมีขนาดใหญ่กว่านี้ <wbr>2-3 <wbr>เท่า<br />

ภาพในจินตนาการการชนของดาวเคราะห์น้อยขนาด 10 กิโลเมตรเมื่อ 65 ล้านปีก่อน ซึ่งเป็นสาเหตุให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ ดาวเคราะห์น้อยที่ชนโลกที่ออสเตรเลียตามหลักฐานที่พบล่าสุดมีขนาดใหญ่กว่านี้ 2-3 เท่า
(จาก Don Davis/Southwest Research Institute)

เม็ดกลมเล็กที่ฝังอยู่ในชั้นตะกอน เกิดขึ้นจากการชนของดาวเคราะห์น้อย

เม็ดกลมเล็กที่ฝังอยู่ในชั้นตะกอน เกิดขึ้นจากการชนของดาวเคราะห์น้อย (จาก A. Glikson/Australian National University)

ภาพถ่ายของคาบสมุทรยูกาตันจากดาวเทียม แสดงหลุมอุกกาบาตชิกซูลุบอันเลือนลางที่เกิดจากดาวเคราะห์น้อยชนโลกเมื่อ 65 ล้านปีก่อน หลุมที่มีอายุนับพันล้านปีย่อมถูกลบเลือนไปโดยกาลเวลาไปนานแล้ว

ภาพถ่ายของคาบสมุทรยูกาตันจากดาวเทียม แสดงหลุมอุกกาบาตชิกซูลุบอันเลือนลางที่เกิดจากดาวเคราะห์น้อยชนโลกเมื่อ 65 ล้านปีก่อน หลุมที่มีอายุนับพันล้านปีย่อมถูกลบเลือนไปโดยกาลเวลาไปนานแล้ว (จาก NASA/JPL)

แผนภาพแสดงจำนวนของการชนโลกตามยุคต่าง ๆ ยุค 4.1-3.8 พันล้านปีก่อนมีจำนวนการชนเพิ่มขึ้นสูงกว่าปกติ เรียกว่ายุคชนกระหน่ำครั้งหลัง

แผนภาพแสดงจำนวนของการชนโลกตามยุคต่าง ๆ ยุค 4.1-3.8 พันล้านปีก่อนมีจำนวนการชนเพิ่มขึ้นสูงกว่าปกติ เรียกว่ายุคชนกระหน่ำครั้งหลัง (จาก NASA/ESA)

ที่มา: