ท่ามกลางการโหมพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศอย่างดุเดือดในปัจจุบัน ที่มีสหรัฐอเมริกา ยุโรป และจีน เป็นผู้เล่นหลัก อินเดียก็เป็นอีกรายหนึ่งในเวทีการขนส่งอวกาศที่กำลังมาแรง อินเดียประสบความสำเร็จอย่างมากในภารกิจสำรวจอวกาศในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อินเดียประสบความสำเร็จในการส่งยานไปสำรวจดวงจันทร์และดาวอังคาร แต่เป้าหมายของอินเดียไม่หยุดแค่นั้น
ในปลายปีนี้องค์การวิจัยอวกาศอินเดีย หรือ อิสโร (ISRO--Indian Space Research Organization) จะส่งยานอวกาศทดสอบแบบไม่มีมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศเป็นครั้งแรก หากภารกิจนี้สำเร็จ ก็จะตามมาด้วยภารกิจทดสอบแบบไม่มีมนุษย์อีกสามภารกิจ หากทั้งหมดสำเร็จด้วยดี ก็จะถึงคราวส่งมนุษย์จริง ๆ ขึ้นไป
การที่อินเดียวางภารกิจทดสอบแบบไม่มีมนุษย์มากถึงสี่ครั้งซึ่งดูจะมากกว่าแนวทางที่องค์กรอวกาศประเทศอื่นทำเนื่องจากอิสโรต้องการให้แน่ใจว่าระบบปลอดภัยจริง
"เราไม่อยากให้ภารกิจของเราจบลงแบบโบอิ้ง" เอส. โสมนาถ ผู้อำนวยการของอิสโรกล่าวแบบไม่เกรงใจขาใหญ่ในวงการ
โบอิ้งเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาระบบขนส่งอวกาศรายสำคัญของอเมริกาเป็นผู้สร้างจรวดเอสแอลเอส ยานโอไรอัน ยานสตาร์ไลเนอร์ ยานสตาร์ไลเนอร์ของโบอิ้งประสบปัญหาต่าง ๆ มากมาย ในภารกิจทดสอบที่ผ่านมาสามครั้ง เป็นความล้มเหลวถึงสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดโบอิ้งเสี่ยงที่จะให้นำมนุษย์อวกาศขึ้นไปยังสถานีอวกาศนานาชาติด้วย แม้จะทำได้สำเร็จในขาขึ้น แต่ก็พบปัญหามากมายจนในทำให้นาซาไม่กล้าให้มนุษย์อวกาศนั่งกลับลงมา แต่ให้สตาร์ไลเนอร์ตียานเปล่ากลับลงมาเมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ส่วนมนุษย์อวกาศที่นั่งขึ้นไปสองนายก็ให้ทำงานอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติไปก่อน รอให้ยานของสเปซเอกซ์ไปรับกลับมาในต้นปีหน้าแทน ความล้มเหลวนี้ทำให้โบอิ้งพบกับหนทางที่ยากลำบาก ซึ่งอิสโรย่อมไม่ต้องการให้โครงการอวกาศของตนเองเป็นเช่นนั้น
ยานอวกาศที่จะนำมนุษย์ไปอวกาศของอินเดียมีชื่อว่าคคันยาน ยานคคันยานของอินเดียสามารถจุผู้โดยสารได้สามคน ในภารกิจทดสอบแรกปลายปีนี้ ยานจะเข้าสู่วงโคจรรอบโลกที่มีความสูงจากผิวโลก 400 กิโลเมตรเป็นเวลาสามวัน
นอกจากยานคคันยานแล้วอินเดียยังมีโครงการอื่นที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กัน เช่นภารกิจจันทรายาน-4 ไปสำรวจดวงจันทร์ ภารกิจวีนัสออร์บิเตอร์ไปสำรวจดาวศุกร์ การสร้างจรวดขับดันตระกูลใหม่ชื่อ เอ็นจีแอลวี (NGLV--Next Generation Launch Vehicle)
ในระยะยาวอินเดียยังมีโครงการจะสร้างสถานีอวกาศของตนเอง ซึ่งอินเดียตั้งเป้าไว้ว่าจะทำให้สำเร็จก่อนปี 2578 และจะส่งชาวอินเดียลงไปเดินบนดวงจันทร์ให้ได้ก่อนปี 2583
ในปลายปีนี้
การที่อินเดียวางภารกิจทดสอบแบบไม่มีมนุษย์มากถึงสี่ครั้งซึ่งดูจะมากกว่าแนวทางที่องค์กรอวกาศประเทศอื่นทำเนื่องจากอิสโรต้องการให้แน่ใจว่าระบบปลอดภัยจริง
"เราไม่อยากให้ภารกิจของเราจบลงแบบโบอิ้ง"
โบอิ้งเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาระบบขนส่งอวกาศรายสำคัญของอเมริกา
ยานอวกาศที่จะนำมนุษย์ไปอวกาศของอินเดียมีชื่อว่า
นอกจากยานคคันยานแล้ว
ในระยะยาว