เมื่อวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมา ได้กลายเป็นวันสำคัญของประเทศอินเดีย เมื่อ มงคลยาน (मङ्गलयान) ยานสำรวจดาวอังคารลำแรกของประเทศ เดินทางไปถึงดาวอังคาร ก่อนหน้าประเทศอินเดีย มีเพียงสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และองค์การอวกาศยุโรปเท่านั้นที่เคยทำสำเร็จ
มงคลยานเดิมมีชื่อว่า เอ็มโอเอ็ม (MOM--Mars Orbiter Mission) นับเป็นยานอวกาศที่มีต้นทุนการสร้างต่ำมากเพียง 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น ต่ำกว่างบในการสร้างภาพยนต์เรื่องแกรวิตีของฮอลิวูดเสียอีก
มงคลยานมีอุปกรณ์ห้าชิ้นสำหรับสำรวจภูมิประเทศและวิวัฒนาการของดาวอังคาร ตรวจวัดมีเทน และร่องรอยของสิ่งมีชีวิต
อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์ว่า ภารกิจของมลคลยานอาจไม่ได้เผยเรื่องใหม่ ช่วยคลี่คลายปริศนา หรือให้ความเข้าใจเกี่ยวกับดาวอังคารให้ถ่องแท้ขึ้นมากนัก ซึ่งสอดคล้องกับการยอมรับของประธานองค์การวิจัยอวกาศอินเดียเอง ที่ระบุว่า องค์การไม่ได้มองมงคลยานว่าเป็นภารกิจวิทยาศาสตร์ หากแต่เป็นการ "สำแดงเทคโนโลยี" หากองค์การต้องการที่จะดำเนินภารกิจเบื้องลึกในระดับเดียวกับภารกิจของนาซา ค่าใช้จ่ายของโครงการย่อมสูงกว่านี้หลายเท่า
ข้อเท็จจริงนี้ย่อมเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเข้าด้วยโดยเฉพาะในช่วงเวลานี้ที่จีนกำลังพัฒนาโครงการอวกาศและระบบอาวุธต่อต้านดาวเทียมอย่างแข็งขัน แม้ก่อนหน้านี้จีนและอินเดียจะมีการลงนามในข้อตกลงที่จะร่วมมือกันในกิจการด้านอวกาศก็ตาม
ก่อนหน้านี้จีนเคยส่งยานสำรวจดาวอังคารชื่อ หยิงหั่ว-1 ขึ้นสู่อวกาศ และญี่ปุ่นก็เคยส่งยานโนะโซะมิไปดาวอังคาร แต่ทั้งสองโครงการก็ไม่ประสบความสำเร็จ
มงคลยาน
มงคลยาน
อย่างไรก็ตาม
ข้อเท็จจริงนี้ย่อมเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเข้าด้วย
ก่อนหน้านี้จีนเคยส่งยานสำรวจดาวอังคารชื่อ หยิงหั่ว-1 ขึ้นสู่อวกาศ และญี่ปุ่นก็เคยส่งยานโนะโซะมิไปดาวอังคาร แต่ทั้งสองโครงการก็ไม่ประสบความสำเร็จ