เมื่อวันที่ 27 มีนาคมที่ผ่านมา อินเดียได้ทำการทดลองยิงดาวเทียมของตนเองชื่อ ไมโครแซต-อาร์ ด้วยขีปนาวุธ การทดลองครั้งได้ประสบความสำเร็จ ดาวเทียมถูกทำลายที่ความสูง 300 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก นายนเรนทระ โมที นายกรัฐมนตรีอินเดียได้กล่าวชื่นชมปฏิบัติการในครั้งนี้ว่าเป็นการแสดงให้เห็นว่าอินเดียมีศักยภาพสูงเทียบชั้นมหาอำนาจในอวกาศได้ ก่อนหน้านี้มีเพียงสหรัฐอเมริกา รัสเซีย และจีนเท่านั้นที่มีสร้างขีปนาวุธต่อต้านดาวเทียมได้
เรื่องนี้องค์การนาซาได้ตำหนิการกระทำของอินเดียอย่างรุนแรง จิม ไบรเดนสไตน์ ผู้อำนวยการองค์การนาซาถึงกับกล่าวว่า "เป็นเรื่องบ้าบอที่สุด" ไบรเดนสไตน์อธิบายว่า การกระทำครั้งนี้ได้ทำให้เกิดขยะอวกาศถึง 400 ชิ้นกระจายไปในวงโคจร และเป็นภัยคุกคามต่อมนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติ
อีวานมอยเซฟ ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายอวกาศของรัสเซียก็แสดงความกังวลต่อเรื่องนี้เช่นกัน แต่ก็ให้ความเห็นว่าโอกาสที่จะทำให้เกิดอันตรายมีไม่มากนัก
แม้ระดับความสูงของดาวเทียมที่ถูกทำลายจะอยู่ต่ำกว่าระดับวงโคจรของสถานีอวกาศนานาชาติราว100 กิโลเมตร แต่ขยะอวกาศที่กระจายออกจากการระเบิดบางชิ้นปลิวทะยานออกไปจนถึงระดับวงโคจรของสถานีอวกาศนานาชาติ ที่ตรวจพบและติดตามได้แล้วมีไม่น้อยกว่า 50 ชิ้น
ไบรเดนสไตน์ยังให้ข้อมูลต่อว่าการกระทำของอินเดียในครั้งนี้ทำให้ความเสี่ยงที่สถานีอวกาศนานาชาติจะถูกขยะอวกาศชนสูงขึ้น 44 เปอร์เซ็นต์ภายในเวลาแค่ 10 วัน
กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกามีฐานข้อมูลและระบบติดตามวัตถุขนาดเล็กในวงโคจรระดับต่ำเพื่อประเมินถึงความเสี่ยงที่ขยะเหล่านั้นจะเป็นอันตรายต่อดาวเทียมหรือสถานีอวกาศนานาชาติ โดยมีความไวพอที่จะตรวจพบวัตถุที่มีขนาดเล็กได้ถึง 10 เซนติเมตร ปัจจุบันได้ติดตามวัตถุได้ราว 23,000 ชิ้น ในจำนวนนี้เป็นขยะอวกาศราว 10,000 ชิ้น
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการยิงขีปนาวุธใส่ดาวเทียมจนทำให้เกิดปัญหายุ่งยากตามมาในปี 2550 จีนได้ยิงขีปนาวุธใส่ดาวเทียมตนเองที่โคจรอยู่ที่ความสูง 850 กิโลเมตร การทดลองครั้งนั้นได้ทำให้เกิดขยะอวกาศออกไปจำนวนมาก เกือบหนึ่งในสามของขยะอวกาศในฐานข้อมูลขยะอวกาศที่กองทัพอากาศสหรัฐรวมรวมอยู่เกิดจากเหตุการณ์ครั้งนั้นครั้งเดียว
เรื่องนี้
อีวาน
แม้ระดับความสูงของดาวเทียมที่ถูกทำลายจะอยู่ต่ำกว่าระดับวงโคจรของสถานีอวกาศนานาชาติราว
ไบรเดนสไตน์ยังให้ข้อมูลต่อว่า
กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกามีฐานข้อมูลและระบบติดตามวัตถุขนาดเล็กในวงโคจรระดับต่ำ
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการยิงขีปนาวุธใส่ดาวเทียมจนทำให้เกิดปัญหายุ่งยากตามมา