สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ท้องฟ้ารายสัปดาห์

ท้องฟ้ารายสัปดาห์

30 ธันวาคม 2567 – 5 มกราคม 2568 ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวศุกร์และดาวเสาร์

31 ธันวาคม 2567 โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด

30 ธันวาคม 2567 – มกราคม 2568

★ จันทร์, 30 ธันวาคม ดวงจันทร์มีเดคลิเนชันไปทางใต้มากที่สุด (-28.4°) (12:00 น.)
★ อังคาร, 31 ธันวาคม จันทร์ดับ (05:27 น.)


จันทร์ดับหรือเดือนดับ เป็นวันที่ไม่เห็นดวงจันทร์อยู่บนท้องฟ้าเวลากลางคืน เนื่องจากดวงจันทร์เคลื่อนไปอยู่ในแนวระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ใกล้เคียงกับวันแรม 14-15 ค่ำ ตามปฏิทินจันทรคติ 

★ ศุกร์, มกราคม เวลาหัวค่ำ ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวศุกร์ที่ระยะ 

วันที่ มกราคม 2568 เวลา 19:00 น. บนท้องฟ้าด้านทิศตะวันตก (จาก Stellarium)

★ เสาร์, มกราคม เวลาเช้ามืด ฝนดาวตกควอดแดรนต์มีอัตราสูงสุด
★ เสาร์, มกราคม เวลาหัวค่ำ ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวเสาร์ที่ระยะ 

วันที่ มกราคม 2568 เวลา 19:00 น. บนท้องฟ้าด้านทิศตะวันตก (จาก Stellarium)

★ เสาร์, มกราคม ดวงอาทิตย์อยู่ใกล้โลกที่สุด (20:28 น. ระยะห่าง 0.98333 หน่วยดาราศาสตร์ ขนาดปรากฏ 32′ 32″)
★ อาทิตย์, มกราคม เวลาหัวค่ำ ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวเนปจูนที่ระยะ 

6–12 มกราคม 2568

★ จันทร์, มกราคม ดวงจันทร์ผ่านเส้นศูนย์สูตรฟ้า (02:08 น.) ดวงจันทร์อยู่ที่จุดโหนดขึ้น (02:45 น.)
★ อังคาร, มกราคม จันทร์กึ่งข้างขึ้น (06:56 น.)
★ พุธ, มกราคม ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกที่สุด (07:01 น. ระยะห่าง 370,171 กม. ขนาดปรากฏ 32′ 17″)
★ พฤหัสบดี, มกราคม เวลาหัวค่ำ ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวยูเรนัสที่ระยะ 4° และอยู่ใกล้กระจุกดาวลูกไก่ในกลุ่มดาววัวที่ระยะ 
★ ศุกร์, 10 มกราคม ดาวศุกร์ทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์ที่สุด (12:02 น. 47.2° ตะวันออก)
★ ศุกร์, 10 มกราคม เวลาหัวค่ำ ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีที่ระยะ 8° และอยู่ใกล้กระจุกดาวลูกไก่ในกลุ่มดาววัวที่ระยะ 
★ อาทิตย์, 12 มกราคม ดวงจันทร์มีเดคลิเนชันไปทางเหนือมากที่สุด (28.5°) (11:23 น.)
★ อาทิตย์, 12 มกราคม ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด (20:37 น. ระยะห่าง 0.64228 หน่วยดาราศาสตร์ ขนาดปรากฏ 14.58″ โชติมาตร -1.43)

ดาวเคราะห์ในเดือนมกราคม 2568

ดาวพุธ เป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวบนท้องฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด เดือนนี้อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงูและคนยิงธนู สังเกตได้ต่อเนื่องมาจากเดือนธันวาคม 2567 และสังเกตได้ต่อไปจนถึงประมาณวันที่ 20 มกราคม หลังจากนั้นเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จนสังเกตได้ยาก ช่วงวันที่ 1-20 มกราคม ดาวพุธมีความสว่างเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากโชติมาตร -0.4 ไปที่ -0.5
ดาวศุกร์ (โชติมาตร -4.4 ถึง -4.7) เป็นดาวประจำเมืองอยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 เดือนนี้ดาวศุกร์จะทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 10 มกราคม ที่ระยะ 47° จึงมีเวลาสังเกตได้นานหลังจากท้องฟ้าเริ่มมืดในเวลาพลบค่ำ ปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำและเข้าสู่กลุ่มดาวปลาในวันที่ 23 มกราคม ตกลับขอบฟ้าหลังดวงอาทิตย์ตกประมาณ ชั่วโมงครึ่ง และอยู่ใกล้ดาวเสาร์ในค่ำวันที่ 18 มกราคม
ดาวอังคาร อยู่ในกลุ่มดาวปูและเคลื่อนถอยหลังเข้าสู่กลุ่มดาวคนคู่ในกลางเดือนมกราคม มองเห็นเป็นดาวสว่างเด่นอยู่บนท้องฟ้าเกือบตลอดทั้งคืน วันแรกของปีสว่างที่โชติมาตร -1.3 ดาวอังคารจะอยู่ใกล้โลกที่สุดในวันที่ 12 มกราคม และผ่านตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 16 มกราคม สว่างที่โชติมาตร -1.4 นับว่าเป็นช่วงที่ดาวอังคารสว่างมากที่สุดในรอบ ปีเศษ หลังจากอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ความสว่างจะลดลงทุกวันจนไปอยู่ที่โชติมาตร -1.2 ในวันที่ 31 มกราคม วงโคจรที่มีความรีค่อนข้างสูงทำให้ดาวอังคารอยู่ห่างโลกไม่เท่ากันในการเข้าใกล้แต่ละครั้ง ครั้งนี้อยู่ค่อนข้างไกลเมื่อเทียบกับครั้งอื่น แต่ก็มีขนาดใหญ่พอที่จะเห็นร่องรอยบนพื้นผิวได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายสูง
ดาวพฤหัสบดี (โชติมาตร -2.7 ถึง -2.5) อยู่ในกลุ่มดาววัว สังเกตได้บนท้องฟ้าตั้งแต่เวลาหัวค่ำจนถึงก่อนเช้ามืดของวันถัดไป
ดาวเสาร์ (โชติมาตร 1.1) อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก ต้นเดือนตกลับขอบฟ้าประมาณ ทุ่มครึ่ง ปลายเดือนตกเร็วขึ้นอีก ชั่วโมง
ดาวยูเรนัส (โชติมาตร 5.7) อยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำในกลุ่มดาวแกะ ค่อนไปทางด้านที่ติดกับกลุ่มดาววัว ต้องอาศัยแผนที่ดาวและกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์จึงจะระบุตำแหน่งของดาวยูเรนัสได้ เนื่องจากมีดาวฤกษ์สว่างใกล้เคียงกันอยู่จำนวนมาก
ดาวเนปจูน (โชติมาตร 7.8) อยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำในกลุ่มดาวปลา ต้องอาศัยแผนที่ดาวกับกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์จึงจะสังเกตได้ดี

ภาพจำลองแสดงส่วนสว่างของดาวเคราะห์ และขนาดปรากฏเปรียบเทียบ (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด Stellarium)

ดูเพิ่ม


★ แผนที่ฟ้าออนไลน์
★ ดาวเคราะห์ในปี 2567
★ ฝนดาวตกในปี 2568
★ สุริยุปราคาและจันทรุปราคาในปี 2568
★ ดาวหางและดาวเคราะห์น้อย
★ เวลาดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ขึ้น-ตก
★ เวลาเกิดแสงสนธยาและเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น-ตก
★ คาดหมายการเห็นจันทร์เสี้ยว
★ สารพันคำถามดาราศาสตร์