ดาวเคราะห์ในปี 2567
ดาวเคราะห์สว่างที่เห็นได้ง่ายด้วยตาเปล่าจากโลกมี 5 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ ส่วนดาวยูเรนัสและเนปจูน ต้องอาศัยกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ นอกจากดาวเคราะห์แล้ว ยังสามารถส่องเห็นดาวบริวารได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดาวบริวารของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์
แผนภาพแสดงตำแหน่งดาวเคราะห์ตามมุมห่างจากดวงอาทิตย์ตลอดปี2567 ช่วยให้เห็นภาพรวมคร่าว ๆ ของการปรากฏของดาวเคราะห์ในแต่ละวัน เส้นตรงกลางในแนวดิ่งคือตำแหน่งดวงอาทิตย์ แถบที่แผ่ออกไปสองข้างจากแนวกลางเป็นส่วนที่มีแสงอาทิตย์รบกวน แกนนอนบอกมุมห่างจากดวงอาทิตย์ แกนตั้งบอกวันในแต่ละเดือน แถบที่พาดในแนวเฉียงบอกขอบเขตของกลุ่มดาวจักรราศี เมื่อดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางตะวันตก (ขวามือ) แสดงว่ามองเห็นได้ดีในเวลาเช้ามืด เมื่อดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางตะวันออก (ซ้ายมือ) แสดงว่ามองเห็นได้ดีในเวลาหัวค่ำ ดาวเคราะห์วงนอกจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เมื่อทำมุม 180° แสดงว่าเป็นช่วงเวลาที่ดาวเคราะห์ดวงนั้นสว่างและใกล้โลกที่สุดในรอบปี
ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์วงในอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดในระบบสุริยะ ด้วยมุมห่างจากดวงอาทิตย์ที่จำกัด คนบนโลกจึงมีโอกาสสังเกตดาวพุธได้เฉพาะในเวลาที่ท้องฟ้าไม่มืดสนิท ประเทศไทยเห็นดาวพุธได้เฉพาะในเวลาหัวค่ำหรือเช้ามืดเท่านั้น
ปี2567 มีช่วงที่สังเกตดาวพุธได้ในเวลาเช้ามืดอยู่ 4 ช่วง ช่วงแรกต่อเนื่องมาจากปลายปี 2566 จนถึงสิ้นเดือนมกราคม ช่วงที่ 2 อยู่ในเดือนพฤษภาคม ช่วงที่ 3 คือต้นเดือนถึงกลางเดือนกันยายนถึง ช่วงสุดท้ายอยู่ในครึ่งหลังของเดือนธันวาคม
ช่วงที่สังเกตดาวพุธได้ในเวลาหัวค่ำมี3 ช่วง เริ่มจากปลายเดือนมีนาคม ช่วงถัดไปอยู่ในเดือนกรกฎาคม ดาวศุกร์ผ่านมาอยู่ใกล้ดาวพุธ ช่วงสุดท้ายอยู่ในเดือนพฤศจิกายน
ต้นปีดาวศุกร์เป็นดาวประกายพรึกอยู่บนท้องฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืดและกำลังทำมุมเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น เช้ามืดวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ ดาวศุกร์ผ่านใกล้ดาวอังคารที่ระยะ 0.7° จากนั้นอยู่ใกล้ดาวเสาร์ในวันที่ 22 มีนาคม ที่ระยะ 0.3° แต่อยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้าเมื่อท้องฟ้าเริ่มสว่าง ปลายเดือนเมษายนหรือต้นพฤษภาคมเริ่มสังเกตได้ยาก
ต้นเดือนมิถุนายนดาวศุกร์ผ่านตำแหน่งร่วมทิศแนววงนอก (ดวงอาทิตย์อยู่ระหว่างโลกกับดาวศุกร์)หลังจากนั้นเคลื่อนห่างจากดวงอาทิตย์มากขึ้น เริ่มสังเกตได้อีกครั้งบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม และทำมุมห่างดวงอาทิตย์มากขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดระยะเวลาที่เหลือของปี
ดาวอังคารมีวงโคจรอยู่ถัดไปจากโลกตามระยะห่างจากดวงอาทิตย์ช่วงที่สังเกตดาวอังคารได้ดีที่สุดคือขณะที่ดาวอังคารอยู่ใกล้โลก ตรงกับช่วงที่ดาวอังคารอยู่ที่ตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ เกิดขึ้นเฉลี่ยทุกประมาณ 2 ปีเศษ วงโคจรของดาวอังคารที่เป็นวงรี ทำให้ดาวอังคารอยู่ห่างโลกไม่เท่ากันในการเข้าใกล้แต่ละครั้ง หากวันที่ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ใกล้เคียงกับวันที่ผ่านจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ดาวอังคารจะมีขนาดใหญ่และสว่างมากเป็นพิเศษ ส่วนใหญ่ดาวอังคารที่ปรากฏในกล้องโทรทรรศน์จะมีขนาดเล็ก ไม่สามารถสังเกตเห็นร่องรอยบนพื้นผิวได้ มีเวลาไม่กี่เดือนเท่านั้นที่ดาวอังคารจะใกล้โลกจนใหญ่พอสำหรับการสังเกตรายละเอียดบนพื้นผิว
ตลอดปี2567 ดาวอังคารไม่ผ่านจุดตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ แต่จะเห็นดาวอังคารสว่างโดดเด่นในช่วงปลายปี ก่อนจะใกล้โลกในเดือนมกราคม 2568 ช่วงแรกของปี ดาวอังคารอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู อยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืดและสังเกตได้ยากปลายเดือนมกราคม ดาวพุธผ่านมาอยู่ใกล้ดาวอังคาร ใกล้กันที่สุดในเช้ามืดวันที่ 28 มกราคม ที่ระยะ 0.3°
ดาวศุกร์ผ่านมาใกล้ดาวอังคารในเช้ามืดวันที่22-23 กุมภาพันธ์ ขณะอยู่ในกลุ่มดาวแพะทะเล เช้ามืดวันที่ 11 เมษายน จะเห็นดาวอังคารอยู่ใกล้ดาวเสาร์ที่ระยะ 0.4° ดาวอังคารทำมุมฉากกับดวงอาทิตย์ในกลางเดือนตุลาคม และมีขนาดปรากฏใหญ่กว่า 10 พิลิปดาตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน
ต้นเดือนธันวาคมดาวอังคารเริ่มเคลื่อนที่ถอยหลัง เป็นสัญญาณว่ากำลังจะผ่านตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าพร้อมกับความสว่างที่เพิ่มขึ้น ดาวอังคารจะผ่านตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในกลางเดือนมกราคม 2568 โดยสว่างที่สุดที่โชติมาตร -1.5
ต้นปีดาวพฤหัสบดีอยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทำมุมตั้งฉากกับดวงอาทิตย์ในปลายเดือนมกราคม ปลายเดือนเมษายน ดาวพฤหัสบดีกับดาวยูเรนัสเคลื่อนเข้าใกล้กัน ดาวเคราะห์ทั้งสองอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์และเคลื่อนที่ค่อนข้างช้า นานหลายปีจึงมีโอกาสเห็นดาวพฤหัสบดีกับดาวยูเรนัสอยู่ใกล้กัน โดยเฉลี่ยเกิดขึ้นทุก ๆ 13-14 ปี และครั้งนี้ใกล้กันที่สุดในวันที่ 21 เมษายน แต่อยู่ค่อนข้างต่ำใกล้ขอบฟ้าและมีเวลาสังเกตได้ไม่นานหลังจากท้องฟ้าเริ่มมืด เป็นการเข้าใกล้กันที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งห่างพอ ๆ กันที่ 0.5°
หลังจากดาวพฤหัสบดีอยู่ร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ในเดือนพฤษภาคมต้นเดือนมิถุนายนดาวพฤหัสบดีจะทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากพอให้เริ่มสังเกตได้ในเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก ปลายเดือนเข้าสู่กลุ่มดาวแกะ กลางเดือนกันยายน ดาวพฤหัสบดีทำมุมตั้งฉากโดยอยู่ห่างไปทางทิศตะวันตกของดวงอาทิตย์ จึงเห็นอยู่สูงบนท้องฟ้าทิศใต้ในเวลาเช้ามืด
ต้นเดือนตุลาคมดาวพฤหัสบดีเริ่มหยุดนิ่งแล้วเคลื่อนที่ถอยหลังในมุมมองจากโลก วันที่ 6-8 ธันวาคม 2567 ดาวพฤหัสบดีผ่านตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และใกล้โลกที่สุดในรอบปี สว่างที่โชติมาตร –2.8 ช่วงสิ้นปี ดาวพฤหัสบดีเริ่มหยุดนิ่งแล้วกลับมาเคลื่อนที่เดินหน้าเมื่อเทียบกับดาวฤกษ์ฉากหลัง
ตลอดปีนี้ดาวเสาร์อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำช่วงแรกอยู่บนท้องฟ้าทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ดาวเสาร์เริ่มเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จนเริ่มสังเกตได้ยาก และผ่านตำแหน่งร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์
กลางเดือนมีนาคมดาวเสาร์เริ่มปรากฏบนท้องฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด ดาวศุกร์ผ่านมาใกล้ในวันที่ 22 มีนาคม และดาวอังคารผ่านมาใกล้ในวันที่ 11 เมษายน ต้นเดือนมิถุนายน ดาวเสาร์ทำมุมฉากโดยอยู่ห่างไปทางทิศตะวันตกของดวงอาทิตย์ จึงเห็นอยู่สูงบนท้องฟ้าทิศใต้ในเวลาเช้ามืด
วันที่8 กันยายน 2567 ดาวเสาร์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และใกล้โลกที่สุดในรอบปี สว่างที่โชติมาตร 0.6 ต้นเดือนธันวาคม ดาวเสาร์ทำมุมตั้งฉากโดยห่างไปทางทิศตะวันออกของดวงอาทิตย์ จึงเห็นอยู่สูงบนท้องฟ้าทิศใต้ในเวลาพลบค่ำ
ปีนี้ดวงจันทร์มีระนาบวงโคจรผ่านใกล้ตำแหน่งของดาวเสาร์ทำให้มีโอกาสบังดาวเสาร์ได้หลายครั้ง ที่สังเกตได้ในประเทศไทยเกิดขึ้นในเช้ามืดวันที่ 25 กรกฎาคม และ 15 ตุลาคม
ดาวยูเรนัสอยู่ในกลุ่มดาวแกะต้นเดือนมกราคมมองเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่ห่างไปทางทิศตะวันตกประมาณ 14° สังเกตได้บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำตลอดช่วง 4 เดือนแรกของปี ดาวยูเรนัสห่างดวงอาทิตย์เป็นมุม 90° ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ ระยะห่างระหว่างดาวยูเรนัสกับดาวพฤหัสบดีลดลงจนกระทั่งใกล้กันที่สุดในวันที่ 21 เมษายน
เมื่อถึงปลายเดือนเมษายนดาวยูเรนัสทำมุมเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นจนเริ่มสังเกตได้ยากอยู่ร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ในเดือนพฤษภาคม ดาวยูเรนัสเริ่มมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากพอให้สังเกตได้บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดตั้งแต่ราวต้นเดือนมิถุนายนเป็นช่วงที่ย้ายเข้าสู่กลุ่มดาววัว
เช้ามืดวันที่16 กรกฎาคม จะเห็นดาวอังคารผ่านมาใกล้ดาวยูเรนัสที่ระยะ 0.6° ดาวยูเรนัสทำมุมตั้งฉากกับดวงอาทิตย์ในกลางเดือนสิงหาคม และผ่านตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2567 สว่างที่โชติมาตร 5.6 มีขนาดเชิงมุมตามแนวศูนย์สูตร 3.8 พิลิปดา วันท้าย ๆ ของปี ดาวยูเรนัสถอยกลับไปอยู่ในกลุ่มดาวแกะ
ตลอดปีนี้ดาวเนปจูนอยู่ในกลุ่มดาวปลาช่วงแรกอยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก มีความสว่างน้อย จำเป็นต้องสังเกตด้วยกล้องโทรทรรศน์ หลังจากนั้นเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จนไม่สามารถสังเกตได้
ดาวเนปจูนอยู่ร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ในต้นเดือนมีนาคมเริ่มสังเกตได้บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออกในราวกลางเดือนเมษายน และมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากขึ้น ดาวอังคารมาอยู่ใกล้ดาวเนปจูนในเช้ามืดวันที่ 29 เมษายน ที่ระยะ 0.2° แล้วทำมุมตั้งฉากกับดวงอาทิตย์ในปลายเดือนมิถุนายน
ปีนี้ดาวเนปจูนอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และใกล้โลกที่สุดในวันที่20-21 กันยายน 2567 สว่างที่โชติมาตร 7.8 มีขนาดเชิงมุมตามแนวศูนย์สูตร 2.4 พิลิปดา หลังจากนั้นเริ่มสังเกตได้บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ และทำมุมตั้งฉากกับดวงอาทิตย์ในกลางเดือนธันวาคม
แผนภาพแสดงตำแหน่งดาวเคราะห์ตามมุมห่างจากดวงอาทิตย์ตลอดปี
ดาวพุธ
ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์วงใน
ปี
ช่วงที่สังเกตดาวพุธได้ในเวลาหัวค่ำมี
ดาวศุกร์
ต้นปีดาวศุกร์เป็นดาวประกายพรึกอยู่บนท้องฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด
ต้นเดือนมิถุนายน
ดาวอังคาร
ดาวอังคารมีวงโคจรอยู่ถัดไปจากโลกตามระยะห่างจากดวงอาทิตย์
ตลอดปี
ดาวศุกร์ผ่านมาใกล้ดาวอังคารในเช้ามืดวันที่
ต้นเดือนธันวาคม
ดาวพฤหัสบดี
ต้นปีดาวพฤหัสบดีอยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ
หลังจากดาวพฤหัสบดีอยู่ร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ในเดือนพฤษภาคม
ต้นเดือนตุลาคม
ดาวเคราะห์ | วันที่ | โชติมาตร |
---|---|---|
ดาวเสาร์ | 8 | +0.6 |
ดาวเนปจูน | 21 | +7.8 |
ดาวยูเรนัส | 17 | +5.6 |
ดาวพฤหัสบดี | 8 | -2.8 |
ดาวอังคาร | - | - |
ดาวเสาร์
ตลอดปีนี้ดาวเสาร์อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ
กลางเดือนมีนาคม
วันที่
ปีนี้ดวงจันทร์มีระนาบวงโคจรผ่านใกล้ตำแหน่งของดาวเสาร์
ดาวยูเรนัส
ดาวยูเรนัสอยู่ในกลุ่มดาวแกะ
เมื่อถึงปลายเดือนเมษายน
เช้ามืดวันที่
ดาวเนปจูน
ตลอดปีนี้ดาวเนปจูนอยู่ในกลุ่มดาวปลา
ดาวเนปจูนอยู่ร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ในต้นเดือนมีนาคม
ปีนี้ดาวเนปจูนอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และใกล้โลกที่สุดในวันที่