ดาวหางแมกนอต (C/2006 P1 McNaught)
โรเบิร์ต แมกนอต ค้นพบดาวหางดวงนี้เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2549 ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาด 20 นิ้วบนหอดูดาวไซดิงสปริงในออสเตรเลีย ขณะนั้นดาวหางอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงู โชติมาตร 17 จางกว่าดาวพลูโตหลายเท่า มีกำหนดเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในวันที่ 12 มกราคม 2550 ด้วยระยะห่างเพียง 0.17 หน่วยดาราศาสตร์ (25.5 ล้านกิโลเมตร) ใกล้กว่าวงโคจรของดาวพุธ
ตั้งแต่ราวเดือนธันวาคม2549 เป็นต้นมา ดาวหางแมกนอตมีตำแหน่งอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์พร้อมกับสว่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นมันเริ่มเคลื่อนห่างจากดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นมุมมองจากโลก แท้จริงระยะห่างระหว่างดาวหางกับดวงอาทิตย์กำลังลดลง
นักดาราศาสตร์ในยุโรปเริ่มสังเกตเห็นดาวหางแมกนอตได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์มาตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม2549 ต่อมาดาวหางมีความสว่างเพิ่มขึ้นอีก มองเห็นได้ดีที่สุดในพื้นที่แถบละติจูดสูง ๆ แต่ประเทศไทยเห็นดาวหางดวงนี้ได้ยากหรือแทบเป็นไปไม่ได้เนื่องจากปัจจัยสำคัญ 2 อย่าง คือ ดาวหางอยู่ใกล้ขอบฟ้ามากแม้ในขณะที่ดวงอาทิตย์เพิ่งจะตกลับขอบฟ้า และแสงจากดาวหางต้องเดินทางผ่านบรรยากาศโลกซึ่งหนาแน่นมากในบริเวณใกล้ขอบฟ้า ดาวหางจึงสว่างน้อยกว่าที่ควร
ช่วงที่ดาวหางแมกนอตเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดมันจะปรากฏในภาพถ่ายคอโรนากราฟของดาวเทียมโซโฮระหว่างวันที่ 12-16 มกราคม 2550
ตั้งแต่ราวเดือนธันวาคม
นักดาราศาสตร์ในยุโรปเริ่มสังเกตเห็นดาวหางแมกนอตได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์มาตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม
ช่วงที่ดาวหางแมกนอตเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด