สมาคมดาราศาสตร์ไทย

จันทรุปราคาเต็มดวง : 9/10 มกราคม 2544

จันทรุปราคาเต็มดวง : 9/10 มกราคม 2544

2 มกราคม 2544
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 29 กันยายน 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
เดือนนี้มีปรากฏการณ์พิเศษบนท้องฟ้าที่ไม่ควรพลาด จันทรุปราคาเต็มดวงจะเกิดขึ้นในค่ำคืนของวันอังคารที่ มกราคม 2544 ซึ่งเป็นอุปราคาครั้งแรกของปี เหตุผลที่จันทรุปราคาครั้งนี้เป็นครั้งที่พลาดไม่ได้เนื่องจากหลังจากคืนวันนี้ไปเป็นเวลาอีกนานถึง ปีที่คนไทยในประเทศจะไม่ได้เห็นจันทรุปราคาเต็มดวงอีก โดยครั้งถัดไปจะเกิดในวันที่ พฤษภาคม 2547

เส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ผ่านเงาโลก 

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 10 มกราคม 2544
เหตุการณ์เวลามุมเงยของดวงจันทร์
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก00.43 น.79°
2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน (เริ่มเห็นดวงจันทร์แหว่ง)01.42 น.69°
3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง (ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดทั้งดวง)02.49 น.54°
4. กึ่งกลางของการเกิด03.20 น.47°
5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง (ดวงจันทร์ออกจากเงามืด)03.51 น.40°
6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน (ดวงจันทร์กลับมาเต็มดวง)04.59 น.25°
7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก05.58 น.12°


จากตารางเวลาและมุมเงยของดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาจะเห็นว่า จันทรุปราคาเริ่มเกิดในขณะที่ดวงจันทร์อยู่สูงจากขอบฟ้า ดวงจันทร์จะปรากฏอยู่เหนือท้องฟ้าทางด้านทิศตะวันตกซึ่งตรงข้ามกับครั้งที่เกิดขึ้นเมื่อกลางปีที่แล้ว และจันทรุปราคาเต็มดวงครั้งนี้เงามืดของโลกจะบังดวงจันทร์อยู่เป็นระยะเวลานาน ชั่วโมง นาที คาดว่าความสว่างของดวงจันทร์ขณะถูกบังหมดดวงจะใกล้เคียงกับจันทรุปราคาเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2541 ซึ่งดวงจันทร์เป็นสีส้มและมีความสว่างค่อนข้างมาก

6335209058126448332302

แม้ว่าดวงจันทร์จะเริ่มเข้าไปในเงามัวตั้งแต่เวลา 0.43 น. แต่เราจะยังไม่พบความผิดปกติใด ๆ ในขณะนี้ คาดว่าน่าจะสังเกตเห็นความสว่างของดวงจันทร์ที่ลดลงได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 1.30 น. หรือก่อนหน้านั้น ซึ่งหลังจากนี้ไปขอบด้านบนของดวงจันทร์จะเริ่มคล้ำลงมากขึ้น ๆ จนเวลา 1.42 น. ก็จะเริ่มเห็นว่าขอบด้านดังกล่าวของดวงจันทร์ถูกเงาโลกกินลึกเข้าไปเล็กน้อยเป็นจังหวะที่เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน

เมื่อเวลาผ่านไปจะเห็นเงาโลกบนดวงจันทร์เริ่มเคลื่อนมาทางซ้าย กระทั่งเวลา 2.45 น. จะเห็นดวงจันทร์เหลือส่วนสว่างอยู่ทางขวามือด้านล่าง ขณะนี้ดวงจันทร์ส่วนที่เงาโลกบังอยู่จะเริ่มสว่างขึ้นเล็กน้อย กล้องโทรทรรศน์หรือกล้องสองตาอาจมองเห็นความสว่างในเงามืดได้ตั้งแต่ก่อนหน้านี้ จนเวลา 2.49 น. เงามืดจะบังดวงจันทร์ไว้หมดทั้งดวง ซึ่งแสงที่หักเหในบรรยากาศโลกที่ไปตกลงบนดวงจันทร์จะทำให้ดวงจันทร์สว่างมีสีส้ม เป็นจังหวะที่เรียกว่าเริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ขณะนี้ขอให้สังเกตทางด้านทิศใต้ (ซ้ายมือ) ใกล้ขอบดวงจันทร์ มีดาวฤกษ์ความสว่าง 3.5 อยู่ตรงนั้น ดาวดวงนี้คือดาวเดลตาคนคู่

ดวงจันทร์จะผ่านใกล้จุดศูนย์กลางเงามืดของโลกมากที่สุดในเวลา 3.20 น. และจันทรุปราคาเต็มดวงจะสิ้นสุดลงในเวลา 3.51 น. หลังจากนั้นจะกลายเป็นจันทรุปราคาบางส่วน เงามืดเริ่มเคลื่อนออกจากดวงจันทร์จนเวลา 4.59 น. จึงสิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน ดวงจันทร์ยังคงมืดสลัวกว่าปกติต่อไปอีกอย่างน้อย 15 นาที และดวงจันทร์จะออกจากเงามัวของโลกในช่วงก่อนรุ่งเช้าของวันที่ 10 มกราคม

ประมาณค่าความสว่างของดวงจันทร์

การวัดความสว่างและสีของดวงจันทร์ทำได้ด้วยการสังเกตด้วยตาเปล่า ความสว่างของดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงแบ่งได้ตามมาตราดองชง (Danjon's scale) เรียกง่าย ๆ ว่าค่า แอล (L) มีค่าจาก ถึง ซึ่งประมาณค่าเป็นทศนิยมได้ สีและความสว่างของดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้งมีความแตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง อาทิ ระยะห่างระหว่างดวงจันทร์กับศูนย์กลางเงา ปริมาณเมฆและฝุ่นละอองเถ้าถ่านในบรรยากาศโลก เราอาจประมาณค่าแอลได้จากตาราง และถ้าจะให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดที่สุด อาจทำการประมาณค่าแอลทุก ๆ 10-20 นาที นับตั้งแต่ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดทั้งดวง

 ความสว่างและสีของดวงจันทร์
0ดวงจันทร์มืดมาก เกือบมองไม่เห็น
1ดวงจันทร์มืด มีสีเทาหรือน้ำตาล มองเห็นรายละเอียดบนพื้นผิวได้ยาก
2ดวงจันทร์มีสีแดงเข้ม หรือสีสนิมเหล็ก บริเวณใกล้ใจกลางมืดมาก แต่ขอบดวงจันทร์สว่าง
3ดวงจันทร์มีสีแดงอิฐ ขอบเงามืดมีสีเหลืองหรือสว่าง
4ดวงจันทร์มีสีทองแดงหรือสีส้ม ดวงจันทร์สว่างมาก ขอบเงามีสีฟ้าและสว่างมาก


สำหรับจันทรุปราคาครั้งนี้ คาดหมายว่าค่าแอล ณ เวลากึ่งกลางของการเกิดน่าจะอยู่ระหว่าง 3.5-4.0 คือ ดวงจันทร์มีสีทองแดงหรือสีส้ม เนื่องจากดวงจันทร์อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางของเงามืด โดยน่าจะเห็นได้ว่าด้านทิศเหนือของดวงจันทร์ซึ่งอยู่ทางขวามือเมื่อเทียบกับของฟ้าประเทศไทย มีความสว่างมากกว่าด้านตรงข้าม