สมาคมดาราศาสตร์ไทย

สุริยุปราคา 26 มกราคม 2552

สุริยุปราคา 26 มกราคม 2552

26 มกราคม 2552
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 17 พฤษภาคม 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)

คำเตือน อย่าจ้องดูดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าหรือผ่านกล้องดูดาวที่ไม่มีแผ่นกรองแสง เพราะจะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อดวงตาของคุณและอาจทำให้ตาบอดได้!


วันจันทร์ที่ 26 มกราคม 2552 ซึ่งตรงกับวันตรุษจีนและเป็นวันเดือนดับ ดวงจันทร์เคลื่อนมาอยู่ตรงกลางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ เกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวน อันเนื่องมาจากวันนั้นดวงจันทร์มีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ ประเทศไทยสามารถสังเกตสุริยุปราคาครั้งนี้ได้ในช่วงเวลาบ่ายถึงเย็น โดยดวงจันทร์บดบังเพียงบางส่วนของดวงอาทิตย์

เส้นทางสุริยุปราคาวงแหวนครั้งนี้ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล เงามืดของดวงจันทร์เริ่มสัมผัสผิวโลกเวลา 13.06 น. (เวลาประเทศไทย) ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก ที่นั่นเกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที 44 วินาที ขณะดวงอาทิตย์ขึ้น จากนั้นเงามืดเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออก เข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย จุดที่เห็นสุริยุปราคาวงแหวนนานที่สุดอยู่ในมหาสมุทรด้วยระยะเวลานาน นาที 56 วินาที

เงามืดเคลื่อนต่อไป ผ่านหมู่เกาะคอคอสในมหาสมุทรอินเดีย เป็นหมู่เกาะขนาดเล็กในเครือรัฐออสเตรเลีย และถึงทางใต้ของเกาะสุมาตรากับด้านตะวันตกของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ในเวลาประมาณ 16.37 น. กรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย อยู่นอกเขตสุริยุปราคาวงแหวนโดยห่างลงไปทางใต้ของเส้นทางสุริยุปราคาวงแหวน

เงามืดเคลื่อนต่อไปยังทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านช่องแคบกะริมาตา พาดผ่านเกาะบอร์เนียวกับบางส่วนทางตอนเหนือของเกาะเซลีเบส สุริยุปราคาวงแหวนสิ้นสุดในเวลา 16.52 น. เป็นจังหวะที่ศูนย์กลางเงาหลุดออกจากผิวโลกในทะเลเซลีเบส ตรงบริเวณกึ่งกลางระหว่างเกาะเซลีเบสของอินโดนีเซียกับเกาะมินดาเนาของฟิลิปปินส์ ที่นั่นเกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที 40 วินาที ขณะดวงอาทิตย์ตก

แผนที่แสดงบริเวณที่มองเห็นสุริยุปราคา 26 มกราคม 2552 

บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมทางใต้ของทวีปแอฟริกา มาดากัสการ์ บางส่วนของแอนตาร์กติกา ตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย (ยกเว้นแทสเมเนีย) รวมไปถึงบางส่วนทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่

ประเทศไทยอยู่ในพื้นที่ที่สามารถเห็นสุริยุปราคาครั้งนี้ได้โดยต้องใช้แผ่นกรองแสงเพื่อป้องกันอันตรายจากแสงอาทิตย์ หรือสังเกตการณ์ทางอ้อม เช่น ดูภาพสะท้อนบนผนังผ่านกระจกที่ทำหน้าที่คล้ายกล้องรูเข็ม ดวงจันทร์เริ่มบังดวงอาทิตย์ในช่วงที่ดวงอาทิตย์อยู่สูงประมาณ 30-40 องศา และดำเนินไปจนกระทั่งดวงอาทิตย์ใกล้ตกลับขอบฟ้า ภาคใต้ตอนล่างเป็นพื้นที่ที่มีโอกาสเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากกว่าภาคอื่น ๆ ซึ่งตรงข้ามกับสุริยุปราคาเมื่อเดือนสิงหาคม 2551 ที่เงามืดพาดผ่านเหนือประเทศไทยขึ้นไป เวลาที่เกิดปรากฏการณ์ก็จะแตกต่างกันไป โดยเฉลี่ยเริ่มเวลาประมาณ 16.00 น. และสิ้นสุดในเวลาประมาณ 18.00 น. ขณะบังเต็มที่ในเวลาประมาณ 17.00 น. โดยจะเห็นดวงอาทิตย์แหว่งทางซ้ายมือค่อนไปทางด้านบน หลายจังหวัดทางด้านตะวันออกของภาคอีสาน จะยังคงเห็นดวงอาทิตย์แหว่งอยู่เล็กน้อยในจังหวะที่ดวงอาทิตย์ตกดิน

ดวงอาทิตย์ที่มองเห็นได้จากที่ต่าง ๆ ขณะดวงจันทร์เข้าบังเต็มที่ 

ขั้นตอนการเกิดสุริยุปราคา 26 มกราคม 2552
สถานที่เริ่มบังเต็มที่สิ้นสุด
เวลามุมเงยเวลามุมเงยขนาดเวลามุมเงยขนาด
กรุงเทพฯ15.53 น.31°17.00 น.16°0.45217.59 น.-
ขอนแก่น15.59 น.26°17.02 น.13°0.41317.58 น.-
เชียงใหม่16.05 น.27°17.02 น.15°0.30417.54 น.-
นครราชสีมา15.56 น.28°17.01 น.14°0.44217.59 น.-
นครศรีธรรมราช15.41 น.36°16.56 น.20°0.57618.00 น.-
นราธิวาส15.38 น.36°16.54 น.19°0.65018.00 น.-
ประจวบคีรีขันธ์15.49 น.33°16.58 น.18°0.49118.00 น.-
ภูเก็ต15.40 น.38°16.55 น.22°0.56818.00 น.-
ระยอง15.51 น.31°16.59 น.16°0.48918.00 น.-
สงขลา15.39 น.38°16.54 น.21°0.61518.00 น.-
สุโขทัย16.01 น.28°17.01 น.15°0.36017.56 น.-
อุบลราชธานี15.56 น.26°17.01 น.11°0.46917.56 น.0.042


หมายเหตุ :

"ขนาด" หมายถึงสัดส่วนที่ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ วัดตามแนวเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ ยิ่งมีค่ามากแสดงว่าดวงอาทิตย์ยิ่งแหว่งเว้ามาก (0.5 หมายถึงดวงอาทิตย์ถูกบังครึ่งดวง เป็นต้น)
จากตารางแสดงว่าบางจังหวัดในภาคอีสาน ดวงอาทิตย์ตกก่อนที่ปรากฏการณ์จะสิ้นสุด
ในความเป็นจริง ดวงอาทิตย์อาจถูกเมฆหมอกใกล้ขอบฟ้าบดบังหายไปก่อนที่จะลับขอบฟ้าจริง ๆ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและสภาพแวดล้อม ณ จุดสังเกตการณ์
เวลาดวงอาทิตย์ตกในที่นี้ ใช้เวลาเมื่อขอบด้านบนของดวงอาทิตย์แตะขอบฟ้า

สุริยุปราคาบางส่วนเป็นปรากฏการณ์ที่ห้ามดูด้วยตาเปล่า จำเป็นต้องมีแว่นกรองแสงหรือแผ่นกรองแสงที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับส่องดูดวงอาทิตย์และอาจใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีแผ่นกรองแสงปิดบังหน้ากล้อง นอกจากนี้เรายังสามารถสังเกตปรากฏการณ์ทางอ้อมได้โดยฉายภาพดวงอาทิตย์ผ่านกล้องโทรทรรศน์หรือกล้องสองตาลงบนฉากรับภาพ แล้วดูดวงอาทิตย์ที่ปรากฏบนฉาก แต่ควรเฝ้าระวังอย่าให้เด็กหรือผู้ที่ไม่รู้มองเข้าไปในกล้อง


วัสดุกรองแสงที่ไม่ปลอดภัยและควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ กระจกรมควัน แว่นกันแดด กระดาษห่อลูกอม แผ่นดิสเก็ตต์ ฟิล์มเอกซ์เรย์ ฟิล์มถ่ายรูป ฯลฯ อย่านำมาใช้ดูดวงอาทิตย์ แม้ว่าวัสดุเหล่านี้จะมีความสามารถในการกรองแสงในย่านแสงที่ตามองเห็น แต่รังสีอินฟราเรดสามารถทะลุผ่านได้และจะเป็นอันตรายต่อดวงตา

แว่นสุริยะของสมาคมดาราศาสตร์ไทย ใช้สำหรับดูดวงอาทิตย์ 

สำหรับผู้ที่ไม่มีแผ่นกรองแสงหรือทัศนูปกรณ์อื่น อาจใช้วัสดุที่พบได้ง่ายในบ้านมาช่วยในการสังเกตสุริยุปราคา โดยใช้หลักการของกล้องรูเข็ม สิ่งที่ต้องมีคือกระจกเงาบานเล็ก กระดาษขนาดใหญ่กว่ากระจก มีดคัตเตอร์หรือกรรไกร และเทปกาว จากนั้นนำกระดาษมาเจาะรูเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด เซนติเมตร ซึ่งอาจใช้มีดกรีดโดยตรงหรือพับกระดาษแล้วใช้กรรไกรตัด เมื่อเจาะกระดาษแล้ว ให้นำไปประกบกับบานกระจกด้วยเทปกาว เวลาใช้งานให้นำกระจกเงาที่ปิดด้วยกระดาษเจาะรูดังกล่าว ไปสะท้อนแสงอาทิตย์ให้แสงไปตกบนผนังสีอ่อนหรือฉากรับภาพสีขาวที่อยู่ในบ้าน ภาพที่เห็นบนฉากคือภาพสะท้อนของดวงอาทิตย์

เมื่อเกิดสุริยุปราคา ภาพดวงอาทิตย์บนฉากจะแหว่งตามลักษณะดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า ขนาดของดวงอาทิตย์บนฉากแปรผันตามระยะห่างระหว่างกระจกกับฉากรับภาพ โดยที่ระยะหนึ่งเมตรจะได้ภาพดวงอาทิตย์ขนาดประมาณ มิลลิเมตร ดังนั้นที่ระยะห่าง 10 เมตร จะได้ภาพดวงอาทิตย์ขนาด เซนติเมตร ยิ่งกระจกอยู่ห่างฉากมากเท่าใดก็จะได้ภาพคมชัดมากขึ้นเท่านั้น แต่ความสว่างของภาพก็จะลดลงตามไปด้วย วิธีนี้ทำให้เราสามารถสังเกตสุริยุปราคาได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นอันตรายต่อดวงตา แต่พึงระวังอย่าให้ใครที่เดินผ่านไปมามีโอกาสหันมามองแสงอาทิตย์ที่สะท้อนออกไปจากกระจก ด้วยหลักการเดียวกันนี้ หากมีต้นไม้อยู่ใกล้ ๆ เราอาจสังเกตเห็นว่าแสงอาทิตย์ที่ส่องผ่านช่องระหว่างใบไม้แล้วไปตกบนพื้นหรือผนังก็มีลักษณะแหว่งเว้าตามดวงอาทิตย์ด้วยเช่นกัน

มีข้อสังเกตว่า รูปร่างของรูที่เจาะ ไม่มีผลต่อภาพปรากฏของดวงอาทิตย์บนฉาก ส่วนขนาดของรูจะส่งผลต่อความคมชัดและความสว่างของภาพ คือ ที่ระยะเดียวกัน รูเล็กให้ภาพคมชัด แต่สว่างน้อยกว่า ส่วนรูใหญ่ให้ภาพที่มีความคมชัดลดลง แต่สว่างมากกว่า สำหรับรูขนาด เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างกระจกกับฉากรับภาพที่แนะนำ คือ เมตรขึ้นไป
หลังจากสุริยุปราคาในวันนี้ ประเทศไทยจะมีโอกาสสังเกตสุริยุปราคาอีกครั้งในช่วงสายของวันพุธที่ 22 กรกฎาคม 2552 เป็นสุริยุปราคาเต็มดวงที่เส้นทางคราสพาดผ่านประเทศอินเดียและจีน ประเทศไทยอยู่นอกเส้นทาง จึงเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วนอีกเช่นเดียวกัน 


มีข้อสังเกตว่า รูปร่างของรูที่เจาะ ไม่มีผลต่อภาพปรากฏของดวงอาทิตย์บนฉาก ส่วนขนาดของรูจะส่งผลต่อความคมชัดและความสว่างของภาพ คือ ที่ระยะเดียวกัน รูเล็กให้ภาพคมชัด แต่สว่างน้อยกว่า ส่วนรูใหญ่ให้ภาพที่มีความคมชัดลดลง แต่สว่างมากกว่า สำหรับรูขนาด เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างกระจกกับฉากรับภาพที่แนะนำ คือ เมตรขึ้นไป

หลังจากสุริยุปราคาในวันนี้ ประเทศไทยจะมีโอกาสสังเกตสุริยุปราคาอีกครั้งในช่วงสายของวันพุธที่ 22 กรกฎาคม 2552 เป็นสุริยุปราคาเต็มดวงที่เส้นทางคราสพาดผ่านประเทศอินเดียและจีน ประเทศไทยอยู่นอกเส้นทาง จึงเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วนอีกเช่นเดียวกัน

เวลาโดยละเอียด

สถานที่เริ่มบังเต็มที่สิ้นสุด
เวลามุมเงยเวลามุมเงยขนาดเวลามุมเงย
ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย15:53:01 น.31°16:59:46 น.16°0.45217:58:53 น.
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ15:52:59 น.31°16:59:46 น.16°0.45417:58:54 น.
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี15:53:05 น.31°16:59:47 น.16°0.45217:58:52 น.
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก15:59:55 น.28°17:01:25 น.15°0.37217:56:31 น.


ความแม่นยำ คาดว่าอยู่ในช่วง 1-2 วินาที (เทียบเวลามาตรฐานได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 181)

ดาวน์โหลด

SE20090126.kmz (8 KB) ไฟล์แสดงเส้นทางสุริยุปราคาวงแหวนในโปรแกรม Google Earth