สมาคมดาราศาสตร์ไทย

สุริยุปราคา 9 มีนาคม 2559

สุริยุปราคา 9 มีนาคม 2559

5 มีนาคม 2559
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 1 สิงหาคม 2560
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
เช้าวันพุธที่ มีนาคม 2559 จะเกิดสุริยุปราคาที่เห็นได้ในประเทศไทย เป็นสุริยุปราคาครั้งแรกในรอบ ปี สำหรับประเทศไทย นับจากสุริยุปราคาบางส่วนเมื่อเช้าวันที่ 21 พฤษภาคม 2555 เริ่มเกิดตั้งแต่เช้าตรู่ และดำเนินไปจนถึงช่วงสายของวัน โดยดวงอาทิตย์แหว่งลึกที่สุดในเวลาประมาณ โมงครึ่ง สุริยุปราคาเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี เมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก เรียงอยู่ในแนวเดียวกัน ทำให้เงาดวงจันทร์พาดผ่านผิวโลก ผู้ที่อยู่ใต้เงามองเห็นดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์

เงาดวงจันทร์แบ่งเป็น ส่วน คือ เงามืดและเงามัว ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นวงรี หากดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกจนเงามืดทอดยาวมาถึงผิวโลก ผู้ที่อยู่ใต้เงามืดจะเห็นดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์มิดหมดทั้งดวง เรียกว่าสุริยุปราคาเต็มดวง ทำให้ท้องฟ้ามืดสลัวลงคล้ายเวลาพลบค่ำ และมองเห็นบรรยากาศชั้นคอโรนาของดวงอาทิตย์ เงามัวตกบนผิวโลกครอบคลุมพื้นที่กว้างใหญ่กว่าเงามืดมาก เป็นบริเวณที่เห็นดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บังเพียงบางส่วน ที่เรียกว่าสุริยุปราคาบางส่วน ไม่สามารถมองดูด้วยตาเปล่าได้ เนื่องจากแสงอาทิตย์สว่างเจิดจ้าจนเป็นอันตรายต่อดวงตา

สุริยุปราคาในวันที่ มีนาคม 2559 เป็นสุริยุปราคาเต็มดวง แต่พื้นที่ซึ่งสามารถมองเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงอยู่ภายในแถบแคบ ๆ ลากผ่านด้านตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย อินโดนีเซีย และมหาสมุทรแปซิฟิก ประเทศไทยอยู่นอกแนวดังกล่าว แต่อยู่ภายในเขตที่เงามัวพาดผ่าน จึงเห็นสุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาบางส่วน

ภาพจำลองสุริยุปราคาขณะดวงอาทิตย์แหว่งเว้ามากที่สุด 

ตารางต่อไปนี้แสดงผลการคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเมื่อสังเกตที่กรุงเทพฯ และอำเภอเมืองของบางจังหวัด


ขั้นตอนการเกิดสุริยุปราคา มีนาคม 2559
สถานที่ เริ่ม บังเต็มที่ สิ้นสุด
เวลา มุมเงย เวลา มุมเงย มุมทิศ ขนาด พื้นที่ เวลา มุมเงย
กรุงเทพฯ06:3907:3314°98°0.52041.7%08:3229°
ขอนแก่น06:4507:3717°100°0.44933.9%08:3631°
จันทบุรี06:3707:3216°98°0.55445.5%08:3531°
เชียงใหม่06:4907:3713°99°0.38427.1%08:3026°
นครราชสีมา06:4207:3516°99°0.48838.1%08:3531°
นครพนม06:4807:4020°101°0.42631.4%08:3933°
ประจวบคีรีขันธ์06:3507:3013°97°0.57547.9%08:3128°
ภูเก็ต06:29-2°07:2611°96°0.68961.6%08:2927°
สงขลา06:2907:2614°96°0.70964.0%08:3130°
สุโขทัย06:4507:3614°99°0.43132.0%08:3227°
อุบลราชธานี06:4307:3820°100°0.48437.7%08:3934°


หมายเหตุ :
    มุมเงย คือ มุมที่วัดจากขอบฟ้า ขึ้นไปหาตำแหน่งดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า (มีค่าน้อยกว่า 0° เมื่ออยู่ใต้ขอบฟ้า ในกรณีนี้คือดวงอาทิตย์ยังไม่ขึ้น)
    มุมทิศ คือ มุมที่วัดจากทิศเหนือ กวาดไปทางขวามือจนถึงตำแหน่งดวงอาทิตย์
    ขนาด คือ ขนาดความลึกของสุริยุปราคา แสดงสัดส่วนที่ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์โดยวัดตามแนวเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ ยิ่งมีค่ามากแสดงว่าดวงอาทิตย์ยิ่งแหว่งเว้ามาก (0.5 หมายถึงดวงอาทิตย์ถูกบังครึ่งดวง เป็นต้น)
    พื้นที่ คือ พื้นที่วงกลมของดวงอาทิตย์ในส่วนที่ถูกดวงจันทร์บัง
    อำเภอเมืองของจังหวัดอื่น ๆ และรายละเอียดเพิ่มเติม ดูได้จากตารางเวลาสำหรับทุกจังหวัดทั่วประเทศ

แผนภาพแสดงเวลาเริ่มและสิ้นสุดสุริยุปราคา (คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่) จากแผนภาพจะเห็นว่าภาคใต้ตอนล่างเริ่มเห็นสุริยุปราคาก่อนภาคอื่น ๆ จังหวัดที่อยู่บนเส้นสีดำที่พาดในแนวทแยง จะเห็นสุริยุปราคาเริ่มขณะดวงอาทิตย์ขึ้น หากอยู่ทางซ้ายมือของเส้นนี้ สุริยุปราคาจะเริ่มเกิดก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นไม่นาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสิ้นสุดสุริยุปราคาช้าที่สุด 

การสังเกตสุริยุปราคา


โดยทั่วไป การดูดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่า ไม่ว่าในยามปรกติหรือขณะเกิดสุริยุปราคาบางส่วน ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง เนื่องจากแสงอาทิตย์ที่สว่างเจิดจ้าสามารถทำอันตรายต่อดวงตาของเราได้ แต่บางครั้งเราอาจสังเกตดวงอาทิตย์ได้เป็นเวลาสั้น ๆ ขณะที่ดวงอาทิตย์เพิ่งขึ้นเหนือขอบฟ้าหรือใกล้ตกลับขอบฟ้า ซึ่งเป็นช่วงที่แสงอาทิตย์ต้องเดินทางผ่านบรรยากาศเป็นระยะทางไกลกว่าเมื่ออยู่สูงบนท้องฟ้า

สุริยุปราคาบางส่วนในเช้าวันที่ มีนาคม 2559 พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยเริ่มเกิดสุริยุปราคาขณะดวงอาทิตย์อยู่สูงจากขอบฟ้าจนมีความสว่างมากแล้ว จึงห้ามดูดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่า และอย่าดูผ่านกล้องที่ไม่มีแผ่นกรองแสงปิดหน้ากล้อง วิธีการสังเกตที่ปลอดภัยคือใช้แผ่นกรองแสง ได้แก่ แว่นสุริยะ หน้ากากหรือแว่นตาที่ช่างเชื่อมโลหะใช้ (ต้องทึบมากพอ ดูแล้วสบายตา ที่แนะนำคือเบอร์ 14 ขึ้นไป) ฟิล์มเอกซ์เรย์ (ใช้ได้เฉพาะส่วนมืดที่ไม่มีภาพเท่านั้น) และอย่าดูติดต่อกันเป็นเวลานาน

แว่นสุริยะของสมาคมดาราศาสตร์ไทย 

วัสดุกรองแสงที่ไม่ปลอดภัยและควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ กระจกรมควัน (เป็นวิธีหนึ่งที่แนะนำกันในอดีต แต่ในทางปฏิบัติ การรมควันอาจไม่สม่ำเสมอ อาจเกิดรอยขีดข่วน หรือเสี่ยงต่อการแตก) แว่นกันแดด กระดาษห่อลูกอม แผ่นดิสเก็ตต์ แผ่นซีดี ฟิล์มเอกซ์เรย์ส่วนที่มีภาพ ฟิล์มถ่ายรูป ฯลฯ แนะนำว่าอย่านำมาใช้ดูดวงอาทิตย์ แม้ว่าวัสดุเหล่านี้จะมีความสามารถในการกรองแสงย่านแสงขาว แต่รังสีอินฟราเรดสามารถทะลุผ่านได้ ไม่ปลอดภัยต่อดวงตา รวมทั้งให้ภาพที่ไม่คมชัด


นอกจากการสังเกตทางตรง ยังมีวิธีสังเกตทางอ้อม คือการให้แสงอาทิตย์ส่องผ่านกล้องโทรทรรศน์หรือกล้องสองตาไปตกที่ฉากรับภาพ หากไม่มีกล้องโทรทรรศน์ สามารถสังเกตได้ด้วยหลักการของกล้องรูเข็ม โดยนำกระดาษมาเจาะเป็นรูขนาด เซนติเมตร แล้วเอาไปประกบกับกระจกเงาด้วยเทปกาว จากนั้นนำกระจกที่ปิดให้เหลือช่องขนาดเล็กนี้ไปรับแสงอาทิตย์ ให้แสงสะท้อนไปที่ผนัง ดวงกลมที่ปรากฏบนผนังคือภาพดวงอาทิตย์ มีลักษณะแหว่งเว้าตามสุริยุปราคาที่เกิดขึ้นบนท้องฟ้า


ขนาดของภาพดวงอาทิตย์บนฉากแปรผันตามระยะห่างระหว่างกระจกกับฉากรับภาพ โดยที่ระยะ เมตรจะได้ภาพดวงอาทิตย์ขนาดประมาณ มิลลิเมตร ดังนั้นที่ระยะห่าง 10 เมตร จะได้ภาพดวงอาทิตย์ขนาด เซนติเมตร วิธีนี้ทำให้เราสามารถสังเกตสุริยุปราคาได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นอันตรายต่อดวงตา แต่พึงระวังอย่าให้ใครที่เดินผ่านไปมามีโอกาสหันมามองแสงอาทิตย์ที่สะท้อนออกมาจากกระจก

สุริยุปราคาวันนี้เริ่มเกิดขณะดวงอาทิตย์ขึ้นหรือหลังดวงอาทิตย์ขึ้นไม่นาน จึงต้องแน่ใจว่าสังเกตจากสถานที่ที่ขอบฟ้าด้านทิศตะวันออก เยื้องไปทางขวาเล็กน้อย เปิดโล่ง ไม่มีสิ่งใดบดบัง หรือสังเกตจากอาคารสูงที่ไม่มีอาคารใกล้เคียงตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของจุดสังเกต

หลังจากครั้งนี้ สุริยุปราคาที่เห็นได้ในประเทศไทยครั้งถัดไปเป็นสุริยุปราคาในวันที่ 26 ธันวาคม 2562 โดยเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วนอีกเช่นเดียวกัน ครั้งนั้นดวงจันทร์อยู่ห่างโลก ทำให้เกิดเป็นสุริยุปราคาวงแหวน เห็นได้ภายในแถบแคบ ๆ ลากผ่านซาอุดีอาระเบีย อินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และเฉียดตอนใต้สุดของฟิลิปปินส์