สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ท้องฟ้ารายสัปดาห์

ท้องฟ้ารายสัปดาห์

20–26 มีนาคม ดวงจันทร์บังดาวศุกร์

20 มีนาคม 2566 โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด

20–26 มีนาคม 2566

★ จันทร์, 20 มีนาคม เวลาเช้ามืด ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวเสาร์ที่ระยะ 5° (ใกล้ขอบฟ้า)
★ อังคาร, 21 มีนาคม ดวงอาทิตย์ผ่านตำแหน่งวสันตวิษุวัต (04:24 น.)

 (จาก Wikimedia Commons)

วันที่ 20-21 มีนาคม ของทุกปี ตรงกับวันวสันตวิษุวัต ถือเป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออกและตกตรงทิศตะวันตก ใกล้เคียงกับช่วงที่ระยะเวลากลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืน

แต่ละปีเราสามารถพบปรากฏการณ์ที่กลางวันเท่ากับกลางคืนได้สองครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นประมาณวันที่ 20-21 มีนาคม เรียกว่าวสันตวิษุวัต (vernal equinox) ครั้งที่สองเกิดขึ้นประมาณวันที่ 22-23 กันยายน เรียกว่าศารทวิษุวัต (autumnal equinox) เมื่อถึงวสันตวิษุวัต ทางดาราศาสตร์ถือว่าเป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิในซีกโลกเหนือ ส่วนซีกโลกใต้เป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วง

ท้องฟ้าเปรียบเหมือนทรงกลม เส้นศูนย์สูตรฟ้าซึ่งเป็นเส้นสมมุติที่อยู่แนวเดียวกับเส้นศูนย์สูตรโลก ถูกฉายขึ้นไปบนท้องฟ้า แบ่งทรงกลมฟ้าออกเป็น ซีก เมื่อถึงวันวสันตวิษุวัต ดวงอาทิตย์จะเคลื่อนผ่านเส้นศูนย์สูตรฟ้า โดยเคลื่อนจากซีกฟ้าใต้ไปสู่ซีกฟ้าเหนือ ปีนี้ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม 2566 เวลา 04:24 น.

ทั้งวสันตวิษุวัตและศารทวิษุวัตมีประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่ระยะเวลากลางวันเท่ากับกลางคืน แต่ในความเป็นจริง โลกมีบรรยากาศห่อหุ้ม แสงอาทิตย์หักเหผ่านบรรยากาศโลก ทำให้ดวงอาทิตย์ขึ้นเร็วกว่าที่ควรจะเป็น และตกช้ากว่าที่ควรจะเป็น นอกจากนี้ ดวงอาทิตย์ก็มีขนาดใหญ่จนปรากฏเป็นดวงกลมสว่าง เวลาดวงอาทิตย์ขึ้นและตกกำหนดให้ขอบด้านบนสุดของดวงอาทิตย์แตะกับขอบฟ้า ปัจจัยทั้งสองจึงทำให้ในวันวิษุวัตทั้งสองครั้งมีระยะเวลากลางวันยาวนานกว่ากลางคืนเล็กน้อย

★ อังคาร, 21 มีนาคม ดาวเคราะห์แคระซีรีสอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ (14:41 น. โชติมาตร 6.9)
★ พุธ, 22 มีนาคม จันทร์ดับ (00:23 น.)


จันทร์ดับหรือเดือนดับ เป็นวันที่ไม่เห็นดวงจันทร์อยู่บนท้องฟ้าเวลากลางคืน เนื่องจากดวงจันทร์เคลื่อนไปอยู่ในแนวระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ใกล้เคียงกับวันแรม 14-15 ค่ำ ตามปฏิทินจันทรคติ 

★ ศุกร์, 24 มีนาคม ดวงจันทร์อยู่ที่จุดโหนดขึ้น (09:08 น.)

ระนาบวงโคจรของดวงจันทร์รอบโลกเอียงทำมุมประมาณ 5° กับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ เราเรียกจุดตัดระหว่างระนาบทั้งสองว่าจุดโหนด มี จุด อยู่ตรงข้ามกัน จุดโหนดขึ้นเป็นจุดที่ดวงจันทร์เคลื่อนจากใต้ระนาบสุริยวิถีขึ้นมาทางเหนือ จุดโหนดลงเป็นจุดที่ดวงจันทร์เคลื่อนจากเหนือระนาบสุริยวิถีลงไปทางใต้ หากจันทร์ดับเกิดขึ้นในช่วงที่ดวงจันทร์ผ่านใกล้จุดใดจุดหนึ่ง จะมีโอกาสเกิดสุริยุปราคา ในทำนองเดียวกัน หากจันทร์เพ็ญเกิดขึ้นในช่วงที่ดวงจันทร์ผ่านใกล้จุดใดจุดหนึ่ง จะมีโอกาสเกิดจันทรุปราคา

★ ศุกร์, 24 มีนาคม เวลาหัวค่ำ ดวงจันทร์บังดาวศุกร์ เห็นได้ทั่วประเทศ

แนวการเคลื่อนที่ของดาวศุกร์ขณะเกิดการบังเมื่อมองจากสถานที่ต่าง ๆ ช่วงเริ่มการบัง ท้องฟ้ายังสว่างด้วยแสงสนธยา ช่วงสิ้นสุดการบัง ท้องฟ้ามืดลงแล้ว แต่ดวงจันทร์อยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้ามากขึ้น (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด)

★ เสาร์, 25 มีนาคม เวลาหัวค่ำ ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวยูเรนัสที่ระยะ 
★ อาทิตย์, 26 มีนาคม เวลาหัวค่ำ ดวงจันทร์อยู่ใกล้กระจุกดาวลูกไก่ในกลุ่มดาววัวที่ระยะ 

วันที่ 26 มีนาคม 2566 เวลา 19:30 น. บนท้องฟ้าด้านทิศตะวันตก (จาก Stellarium)

ดาวเคราะห์ในเดือนมีนาคม 2566


ดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดี และดาวอังคาร ยังคงเป็นดาวเคราะห์สว่าง ดวงที่ปรากฏบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ วันที่ มีนาคม ดาวศุกร์ (โชติมาตร -3.9 ถึง -4.0) อยู่ทางขวามือของดาวพฤหัสบดี (โชติมาตร -2.1) ที่ระยะ 0.6° นอกจากดาวเคราะห์ทั้งสองแล้ว กล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์ช่วยให้มองเห็นดาวบริวารสว่าง ดวงของดาวพฤหัสบดี

เดือนนี้เป็นช่วงสุดท้ายที่มีโอกาสสังเกตดาวพฤหัสบดีในเวลาหัวค่ำ หลังจากนั้นดาวพฤหัสบดีจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์และอยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้า ทำให้ไม่สามารถสังเกตได้ ส่วนดาวศุกร์ยังมีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งในคืนวันที่ 24 มีนาคม เมื่อจันทร์เสี้ยวเคลื่อนเข้าบังดาวศุกร์ สามารถสังเกตได้ทั่วประเทศ

ดาวอังคาร (โชติมาตร +0.3 ถึง +0.9) อยู่ในกลุ่มดาววัว ปลายเดือนย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวคนคู่ มองเห็นอยู่สูงทางทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำ ดาวพุธผ่านตำแหน่งร่วมทิศแนววงนอกในกลางเดือนมีนาคม วันท้าย ๆ ของเดือน ดาวพุธจะเริ่มปรากฏเหนือขอบฟ้าทิศตะวันตก โดยสว่างที่โชติมาตร -1.2 แต่ยังสังเกตได้ยาก ต้องอาศัยขอบฟ้าทิศตะวันตกที่เปิดโล่งและสภาพอากาศเอื้ออำนวย วันที่ 28 มีนาคม ดาวพุธอยู่ทางขวามือของดาวพฤหัสบดีที่ระยะ 1.4° อาจพอสังเกตได้หากท้องฟ้าโปร่งและใกล้ขอบฟ้าไม่มีอะไรบดบัง

กลางเดือนมีนาคม ดาวเสาร์ (โชติมาตร +0.9) ทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์จนเริ่มปรากฏใกล้ขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด โดยอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ

ภาพจำลองแสดงส่วนสว่างของดาวเคราะห์ และขนาดปรากฏเปรียบเทียบ (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด Stellarium)

ดูเพิ่ม


★ แผนที่ฟ้าออนไลน์
★ ดาวเคราะห์ในปี 2566
★ ฝนดาวตกในปี 2566
★ สุริยุปราคาและจันทรุปราคาในปี 2566
★ ดวงจันทร์บังดาวศุกร์ 24 มีนาคม 2566
★ ดาวหางและดาวเคราะห์น้อย
★ เวลาดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ขึ้น-ตก
★ เวลาเกิดแสงสนธยาและเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น-ตก
★ คาดหมายการเห็นจันทร์เสี้ยว
★ สารพันคำถามดาราศาสตร์