สมาคมดาราศาสตร์ไทย

จันทรุปราคาคืนวันมาฆบูชา

จันทรุปราคาคืนวันมาฆบูชา

1 มีนาคม 2550
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 16 มิถุนายน 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
หลังเที่ยงคืนของคืนวันมาฆบูชาซึ่งตรงกับวันเสาร์ที่ มีนาคม ย่างเข้าสู่เช้ามืดวันอาทิตย์ที่ มีนาคม 2550 ดวงจันทร์จากที่เคยเห็นสว่างเต็มดวงก่อนหน้านั้นจะถูกเงามืดของโลกเข้าบดบัง ทำให้ดวงจันทร์แหว่งและมืดคล้ำลง เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาหรือเรียกอีกอย่างว่าจันทรคราสและราหูอมจันทร์

จันทรุปราคาเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เกิดได้ในเฉพาะคืนวันเพ็ญและในจังหวะเวลาที่ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านเข้าไปในเงาโลก เงาที่เกิดขึ้นนี้มีอยู่สองชนิด ได้แก่ เงามืดและเงามัว จันทรุปราคาจึงแบ่งออกเป็น ประเภท คือ จันทรุปราคาเต็มดวง จันทรุปราคาบางส่วน และจันทรุปราคาเงามัว

การเกิดเงามืดและเงามัวระหว่างจันทรุปราคา (ไม่ได้วาดตามมาตราส่วนจริง) 

จันทรุปราคาเต็มดวงเกิดเมื่อดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดหมดทั้งดวง ดวงจันทร์จึงมืดคล้ำลงมากแต่ไม่มืดสนิท ส่วนใหญ่มีสีส้มแดงหรือน้ำตาล จันทรุปราคาบางส่วนเกิดเมื่อดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดเพียงบางส่วนจึงเห็นดวงจันทร์แหว่ง จันทรุปราคาเงามัวเกิดเมื่อดวงจันทร์เข้าไปในเงามัวเท่านั้น ไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดผ่านเข้าไปในเงามืด จึงเห็นดวงจันทร์สว่างเต็มดวงอยู่อย่างนั้น ที่ต่างไปจากเดิมคือดวงจันทร์จะลดความสว่างลงเล็กน้อย ดังนั้นมันจึงไม่ค่อยเป็นที่สนใจมากเท่าสองประเภทแรก

จันทรุปราคาครั้งที่จะเกิดขึ้นในคืนวันเสาร์นี้ หากยึดตามหลักการเปลี่ยนวันในเวลาเที่ยงคืนก็จะถือได้ว่าเกิดในวันอาทิตย์ที่ มีนาคม 2550 ดวงจันทร์เริ่มเข้าไปในเงามัวของโลกตั้งแต่เวลา 3.18 น. ซึ่งเป็นเวลาที่ดวงจันทร์ปรากฏอยู่เหนือท้องฟ้าทิศตะวันตกในกลุ่มดาวสิงโต กึ่งกลางระหว่างขอบฟ้ากับจุดเหนือศีรษะโดยมีดาวเสาร์อยู่ต่ำลงไป ห่างกันประมาณขนาดของฝ่ามือเมื่อกางมือของเราออกแล้วเหยียดแขนออกไปให้สุด อย่างไรก็ตามเรายังจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นกับดวงจันทร์จนกระทั่งเวลาประมาณ 4.10 น. ขอบดวงจันทร์ด้านซ้ายมือค่อนไปทางด้านบนจะเริ่มคล้ำลงจนสังเกตเห็นได้ ดวงจันทร์มืดสลัวลงทีละน้อยจนเริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วนในเวลา 4.30 น. ซึ่งจะเห็นขอบดวงจันทร์ด้านนี้เริ่มแหว่ง

เส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ระหว่างเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง มีนาคม 2550 (ภาพดัดแปลงจาก Fred Espenak/NASA) 

ภาพจำลองคาดหมายลักษณะดวงจันทร์ในเช้ามืดวันที่ มีนาคม 2550 

ก่อนตี ครึ่งเล็กน้อย ดาวเสาร์จะตกลับขอบฟ้าขณะที่ดวงจันทร์แหว่งไปเกินกว่าครึ่งดวง เงามืดของโลกเข้าบังดวงจันทร์ลึกมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงเวลา 5.44 น. เป็นเวลาที่ดวงจันทร์ทั้งดวงเคลื่อนเข้าไปในเงามืดของโลกและเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง แสงอาทิตย์ที่หักเหผ่านบรรยากาศโลกไปตกที่พื้นผิวดวงจันทร์ทำให้ดวงจันทร์ไม่มืดสนิทอย่างที่ควรจะเป็น แต่มีสีน้ำตาล สีแดงอิฐ หรือสีส้ม ไม่กี่นาทีต่อมาหลังจากนั้นแสงเงินแสงทองจะเริ่มจับขอบฟ้า ท้องฟ้าจึงค่อย ๆ สว่างขึ้นในขณะที่ดวงจันทร์ยังอยู่ในเงามืดของโลก

เวลา 6.21 น. ดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดลึกที่สุดและใกล้จะตกลับขอบฟ้าแล้ว ขณะนี้ท้องฟ้าจะสว่างเป็นสีฟ้า ที่กรุงเทพฯ ดวงอาทิตย์จะขึ้นเหนือขอบฟ้าทิศตะวันออกในเวลา 6.33 น. ส่วนดวงจันทร์จะตกทางทิศตะวันตกในเวลา 6.37 น.

เวลาดวงอาทิตย์ขึ้นและดวงจันทร์ตกในจังหวัดอื่น ๆ จะต่างไปจากนี้ เช่น เชียงใหม่ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 6.42 น. ดวงจันทร์ตกเวลา 6.46 น. ภูเก็ตดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 6.39 น. ดวงจันทร์ตกเวลา 6.43 น. ส่วนที่อุบลราชธานีดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 6.16 น. ดวงจันทร์ตกเวลา 6.20 น.

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง มีนาคม 2550
เหตุการณ์เวลามุมเงยของดวงจันทร์ (ที่กรุงเทพฯ)
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก (ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง)3.18 น.47°
2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน (เริ่มเห็นดวงจันทร์แหว่ง)4.30 น.29°
3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง (ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดทั้งดวง)5.44 น.12°
ดวงอาทิตย์ขึ้น (อุบลราชธานี)6.16 น.-
ดวงจันทร์ตก (อุบลราชธานี)6.20 น.-
4. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ (ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด)6.21 น.
ดวงอาทิตย์ขึ้น (กรุงเทพฯ)6.33 น.-
ดวงจันทร์ตก (กรุงเทพฯ)6.37 น.-
ดวงอาทิตย์ขึ้น (ภูเก็ต)6.39 น.-
ดวงอาทิตย์ขึ้น (เชียงใหม่)6.42 น.-
ดวงจันทร์ตก (ภูเก็ต)6.43 น.-
ดวงจันทร์ตก (เชียงใหม่)6.46 น.-
5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง (ดวงจันทร์เริ่มออกจากเงามืด)6.58 น.-6°
6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน (ดวงจันทร์ออกจากเงามืดทั้งดวง)8.11 น.-23°
7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก9.24 น.-40°


จุดที่น่าสนใจอย่างหนึ่งสำหรับจันทรุปราคาครั้งนี้ก็คือ ดวงจันทร์ถูกเงาโลกบังหมดทั้งดวงในขณะที่อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากกลางคืนไปสู่กลางวัน จึงเป็นไปได้ว่าขณะที่ดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดลึกที่สุดนี้ ท้องฟ้าจะสว่างมากจนเราอาจไม่สามารถมองเห็นดวงจันทร์ได้หรือเห็นได้เพียงลาง ๆ ให้ลองสังเกตดวงจันทร์ด้วยตาเปล่าและด้วยทัศนูปกรณ์ที่มีอยู่ เช่น กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลา 6.00 6.40 น. และเนื่องจากปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงที่ดวงจันทร์กำลังจะตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตก ดังนั้นหากต้องการสังเกตให้ชัดเจนควรหาสถานที่ที่ไม่มีสิ่งใดบดบังขอบฟ้าทิศดังกล่าว หรือหากเป็นไปได้อาจสังเกตจากตึกสูง

นอกจากประเทศไทยแล้วบางส่วนของทุกทวีปในโลกมีโอกาสเห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ด้วยพร้อม ๆ กัน ตัวอย่างเช่น ทวีปยุโรปและแอฟริกาเห็นขณะเริ่มเกิดปรากฏการณ์ในค่ำวันที่ มีนาคมตามเวลาท้องถิ่น อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้เห็นได้ในค่ำวันเดียวกันแต่เป็นช่วงท้ายของปรากฏการณ์ขณะดวงจันทร์ขึ้นทางทิศตะวันออก ส่วนในเอเชียตะวันออก ตอนกลางของจีน และตะวันตกของออสเตรเลียจะเห็นได้ในเช้ามืดวันที่ มีนาคมขณะดวงจันทร์ใกล้จะตกเช่นเดียวกับประเทศไทย

จันทรุปราคาครั้งนี้นับเป็นจันทรุปราคาเต็มดวงครั้งแรกในรอบ ปีสำหรับคนไทยในประเทศ และเป็นอุปราคาครั้งแรกจากทั้งหมด ครั้งที่เกิดในปีนี้ อีก 15 วันถัดไป เช้าวันจันทร์ที่ 19 มีนาคมจะเกิดสุริยุปราคาบางส่วนเห็นได้ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย และหากท้องฟ้าเปิดไม่มีเมฆฝนเป็นอุปสรรคเราจะมีโอกาสเห็นจันทรุปราคาในช่วงเวลาหัวค่ำของวันอังคารที่ 28 สิงหาคม 2550

ประมาณค่าความสว่างของดวงจันทร์

เราสามารถคะเนความสว่างและสีของดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงได้โดยการสังเกตดวงจันทร์ด้วยตาเปล่า ความสว่างของดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงแบ่งได้ตามมาตราดองชง (Danjon's scale) ตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสที่เป็นผู้ริเริ่มกำหนดมาตรานี้ เรียกย่อ ๆ ว่าค่าแอล (L) มีค่าจาก ถึง และสามารถประมาณค่าเป็นทศนิยมได้ สีและความสว่างของดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้งมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ระยะห่างระหว่างดวงจันทร์กับศูนย์กลางเงา ปริมาณเมฆและฝุ่นละอองในบรรยากาศโลก โดยมีเกณฑ์กำหนดดังที่แสดงในตาราง ถ้าจะให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดที่สุด อาจทำการประมาณค่าแอลทุก ๆ 10-20 นาที นับตั้งแต่ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดทั้งดวง

 ความสว่างและสีของดวงจันทร์
0ดวงจันทร์มืดมาก เกือบมองไม่เห็น
1ดวงจันทร์มืด มีสีเทาหรือน้ำตาล มองเห็นรายละเอียดบนพื้นผิวได้ยาก
2ดวงจันทร์มีสีแดงเข้ม หรือสีสนิมเหล็ก บริเวณใกล้ใจกลางมืดมาก แต่ขอบดวงจันทร์สว่าง
3ดวงจันทร์มีสีแดงอิฐ ขอบเงามืดมีสีเหลืองหรือสว่าง
4ดวงจันทร์มีสีทองแดงหรือสีส้ม ดวงจันทร์สว่างมาก ขอบเงามืดมีสีฟ้าและสว่างมาก


อย่างไรก็ดี จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งนี้ประเทศไทยเห็นในช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้าและท้องฟ้าเริ่มสว่าง การประมาณค่าแอลอาจทำได้ยากกว่าปกติหรือได้ค่าที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง