สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ฝนดาวตกในปี 2545

ฝนดาวตกในปี 2545

7 มกราคม 2545
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 15 กันยายน 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
ฝนดาวตกที่น่าสนใจในปี 2545
ฝนดาวตกวันที่มีมากที่สุดอัตราการเกิดสูงสุดที่อาจเป็นไปได้ (ดวงต่อชั่วโมง)ดวงจันทร์ความคาดหมายเกี่ยวกับท้องฟ้าและแสงจันทร์
ควอดแดรนต์4-5 ม.ค.100 (อาจอยู่ระหว่าง 50-70)จันทร์เพ็ญแสงจันทร์รบกวน ท้องฟ้าโปร่งเป็นส่วนมาก
พิณ22-23 เม.ย.15 (อาจมากถึง 80)ข้างขึ้นแก่ แสงจันทร์รบกวน โอกาสมีเมฆร้อยละ 50
อีตาคนแบกหม้อน้ำ6-7 พ.ค.60ครึ่งดวงข้างแรมแสงจันทร์รบกวน ท้องฟ้าอาจมีเมฆมาก
เดลตาคนแบกหม้อน้ำ27-28 ก.ค.20จันทร์เพ็ญแสงจันทร์รบกวน ท้องฟ้าอาจมีเมฆมาก
เพอร์ซิอัส12-13 ส.ค.80จันทร์ดับปานกลาง ท้องฟ้าอาจมีเมฆมาก
นายพราน22-23 ต.ค..20จันทร์เพ็ญแสงจันทร์รบกวน ท้องฟ้าอาจมีเมฆบางส่วนถึงมาก
สิงโต17-19 พ.ย.อาจมีจำนวนมากกว่า 1,000 ดวงต่อชั่วโมง ในทวีปอเมริกาจันทร์เพ็ญแสงจันทร์รบกวน ท้องฟ้าอาจมีเมฆบางส่วน
คนคู่14-15 ธ.ค.100ข้างขึ้นแก่ แสงจันทร์รบกวน ท้องฟ้าโปร่งเป็นส่วนมาก


ฝนดาวตกสิงโตในปี 2544 ที่ผ่านมา ทำให้ผู้คนให้ความสนใจในปรากฏการณ์ลักษณะนี้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ความสำเร็จในการทำนายเวลาการเกิดฝนดาวตกสิงโตที่แม่นยำในปีที่ผ่านมาทำให้ปีนี้มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดฝนดาวตกสิงโตเป็นจำนวนมาก แต่บริเวณที่มองเห็นดาวตกจากฝนดาวตกสิงโตในช่วงที่มีอัตราการเกิดสูงสุด ตามผลการคำนวณของเดวิด แอชเชอร์ โรเบิร์ต แม็กนอต ทอม แวน ฟลานเดิร์น และเอสโค ลือทิเนน คือ ทวีปยุโรปและอเมริกา อย่างไรก็ตาม การดูฝนดาวตกสิงโตในปีนี้จะมีอุปสรรคเนื่องจากแสงจันทร์รบกวน สำหรับประเทศไทยคาดว่าจะมองเห็นได้ไม่มากนัก อาจต่ำกว่า 50 ดวงต่อชั่วโมง

ดาวตกปรากฏให้เห็นบนท้องฟ้าอยู่เสมอ ๆ แต่จะมีจำนวนมากกว่าปกติเมื่อโลกเดินทางฝ่าเข้าไปในอาณาบริเวณของสายธารอุกกาบาตที่มีฝุ่นอุกกาบาตที่ดาวหางทิ้งไว้ ดาวตกที่เกิดจากฝุ่นอุกกาบาตเหล่านี้มีหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีลักษณะของดาวตกที่เห็น และจำนวนความถี่แตกต่างกันตามแต่องค์ประกอบและความเร็วของอุกกาบาต ดาวตกกลุ่มที่สำคัญในรอบปีมีอยู่ประมาณ กลุ่ม กลุ่มฝนดาวตกส่วนใหญ่ในปีนี้ถูกแสงจันทร์รบกวนรวมทั้งฝนดาวตกสิงโต มีอยู่กลุ่มเดียวที่ไม่มีแสงจันทร์รบกวน คือ ฝนดาวตกเพอร์ซิอัส แต่ประเทศไทยจะมีโอกาสที่จะเห็นได้น้อยเนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน