สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ฝนดาวตกในปี 2563

ฝนดาวตกในปี 2563

7 ธันวาคม 2562
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 19 มกราคม 2563
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด
ดาวตกเกิดจากสะเก็ดดาว ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของดาวหางและดาวเคราะห์น้อย เคลื่อนเข้าสู่บรรยากาศโลก หากสังเกตจากสถานที่ซึ่งท้องฟ้ามืดสนิท ไม่มีเมฆหมอก แสงจันทร์ และแสงไฟฟ้ารบกวน โดยทั่วไปสามารถมองเห็นดาวตกบนท้องฟ้าได้เฉลี่ยราว ดวงต่อชั่วโมง ดาวตกที่สว่างมากเรียกว่าลูกไฟ (fireball) หากระเบิดเรียกว่าดาวตกชนิดระเบิด (bolide) ซึ่งบางครั้งก่อให้เกิดเสียงดัง

เส้นทางที่สะเก็ดดาวจำนวนมากเคลื่อนที่เป็นสายไปในแนวเดียวกันในอวกาศเรียกว่าธารสะเก็ดดาว (meteoroid stream) แรงโน้มถ่วงของวัตถุต่าง ๆ ในระบบสุริยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดาวเคราะห์ ส่งผลรบกวนต่อธารสะเก็ดดาว เมื่อโลกเดินทางฝ่าเข้าไปในธารสะเก็ดดาว ซึ่งเกิดขึ้นหลายช่วงของปี จะทำให้เห็นดาวตกหลายดวงดูเหมือนพุ่งออกมาจากบริเวณเดียวกันบนท้องฟ้า ซึ่งเป็นมุมมองในเชิงทัศนมิติ ลักษณะเดียวกับที่เราเห็นรางรถไฟบรรจบกันที่ขอบฟ้า เรียกปรากฏการณ์ที่เห็นดาวตกดูเหมือนพุ่งมาจากจุดเดียวกันนี้ว่าฝนดาวตก (meteor shower)


ในรอบปีมีฝนดาวตกหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีลักษณะและจำนวนความถี่แตกต่างกันตามแต่องค์ประกอบและความเร็วของสะเก็ดดาว ฝนดาวตกบางกลุ่มอาจมีเพียงไม่กี่ดวงต่อชั่วโมง แต่ก็ยังเรียกว่าฝนดาวตก ดาวตกจากฝนดาวตกสามารถปรากฏในบริเวณใดก็ได้ทั่วท้องฟ้า แต่เมื่อลากเส้นย้อนไปตามแนวของดาวตก จะไปบรรจบกันที่จุดหนึ่ง เราเรียกจุดนั้นว่าจุดกระจาย (radiant) ชื่อฝนดาวตกมักตั้งตามกลุ่มดาวหรือดาวฤกษ์ที่อยู่บริเวณใกล้จุดกระจาย

ดาวตกจากฝนดาวตกจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อจุดกระจายขึ้นมาอยู่เหนือขอบฟ้าแล้ว ฝนดาวตกแต่ละกลุ่มจึงมีช่วงเวลาที่เห็นได้แตกต่างกัน แสงจันทร์และแสงจากตัวเมืองเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการสังเกตดาวตก จึงควรหาสถานที่ซึ่งท้องฟ้ามืด ยิ่งฟ้ามืดก็จะยิ่งมีโอกาสเห็นดาวตกได้มากขึ้น อัตราตกของฝนดาวตกมักสูงสุดในช่วงที่จุดกระจายอยู่สูงบนท้องฟ้า จึงควรเลือกเวลาสังเกตให้ใกล้เคียงกับช่วงที่ตำแหน่งของจุดกระจายอยู่สูงสุด ซึ่งสามารถหาได้จากการหมุนแผนที่ฟ้า หรือซอฟต์แวร์จำลองท้องฟ้า หลีกเลี่ยงช่วงเวลาที่มีแสงจันทร์รบกวน และสังเกตก่อนที่ท้องฟ้าจะสว่างในเวลาเช้ามืด

บางปี ฝนดาวตกบางกลุ่มจะมีอัตราตกสูงเป็นพิเศษ เกิดขึ้นเมื่อโลกโคจรผ่านธารสะเก็ดดาวในส่วนที่มีสะเก็ดดาวอยู่หนาแน่น ปัจจุบัน วิธีการพยากรณ์ว่าจะมีฝนดาวตกที่มีอัตราตกสูงมากเมื่อใด กระทำโดยสร้างแบบจำลองทำนายการเคลื่อนที่ของสะเก็ดดาว แล้วคำนวณว่าโลกจะมีเส้นทางผ่านธารสะเก็ดดาวนั้นเมื่อใด

ฝนดาวตกในปี 2563
ฝนดาวตก ช่วงที่ตก คืนที่มีมากที่สุด เวลาที่จุดกระจายขึ้นเหนือขอบฟ้า (ประมาณ)อัตราตกสูงสุดในประเทศไทย (ดวง/ชั่วโมง) {ไม่ใช่ ZHR} หมายเหตุ
ควอดแดรนต์ 28 ธ.ค. 12 ม.ค. 3/4 ม.ค. 02:00 น. (5-6 น.)-
พิณ 16-25 เม.ย. 21/22 เม.ย. 22:00 น. 15 (3-5 น.)-
อีตาคนแบกหม้อน้ำ 19 เม.ย. 28 พ.ค. 4/5/6 พ.ค. 02:00 น. 25 (4-5 น.)แสงจันทร์รบกวน
เดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้ 12 ก.ค. 23 ส.ค. 29/30 ก.ค. 21:00 น. 20 (2-4 น.)แสงจันทร์รบกวนก่อนตี 2
เพอร์ซิอัส 17 ก.ค. 24 ส.ค. 12/13 ส.ค. 22:30 น. 45 (4-5 น.)แสงจันทร์รบกวนหลังตี 1
นายพราน ต.ค. พ.ย. 20/21 ต.ค. 22:30 น. 20 (3-5 น.)-
สิงโต 6-30 พ.ย. 16/17/18 พ.ย. 00:30 น. 15 (4-6 น.)-
คนคู่ 4-17 ธ.ค. 13/14 ธ.ค. 20:00 น. 115 (2-4 น.)-


หมายเหตุ


    คอลัมน์ "คืนที่มีมากที่สุด" เครื่องหมายทับ (/) ใช้คั่นคืนวันแรกกับเช้ามืดของอีกวันหนึ่ง เช่น 3/4 หมายถึงคืนวันที่ ถึงเช้ามืดวันที่ 4
    ข้อมูลฝนดาวตกโดยทั่วไปบอกอัตราตกสูงสุดที่จุดจอมฟ้า (Zenithal Hourly Rate ZHR) ซึ่งหมายถึงอัตราตกเมื่อจุดกระจายอยู่ที่จุดเหนือศีรษะ และท้องฟ้ามืดจนเห็นดาวจางที่สุดด้วยโชติมาตร 6.5 ในการสังเกตการณ์จริง มุมเงยของจุดกระจายและอัตราตกสูงสุดที่จุดจอมฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงตามเวลา ตัวเลขอัตราตกสูงสุดในตารางนี้ได้คำนวณสำหรับประเทศไทยโดยเฉพาะ โดยคำนึงถึงมุมเงยของจุดกระจายและผลจากแสงจันทร์รบกวนซึ่งทำให้ท้องฟ้าไม่มืดสนิท ในวงเล็บคือชั่วโมงที่คาดว่าตกสูงสุด หรือช่วงเวลาที่มีโอกาสเห็นดาวตกจำนวนมากที่สุดหากไม่มีเมฆบัง
    นอกจากเมฆ มลพิษทางแสงเป็นอุปสรรคสำคัญในการเห็นดาวตก การสังเกตดาวตกในเมืองใหญ่จะมีจำนวนดาวตกลดลงจากตัวเลขในตารางนี้หลายเท่า
    การคาดหมายอัตราตกของฝนดาวตกอาศัยข้อมูลตัวเลขจากปรากฏการณ์ในอดีต ควรใช้เป็นแนวทางคร่าว ๆ เท่านั้น เพราะมีโอกาสคลาดเคลื่อนได้
    ฝนดาวตกควอดแดรนต์มีจุดกระจายอยู่บริเวณใกล้ส่วนหางของกลุ่มดาวหมีใหญ่หรือจระเข้ ส่วนฝนดาวตกกลุ่มอื่นมีจุดกระจายอยู่ในกลุ่มดาวชื่อเดียวกัน
    ใช้ข้อมูลฝนดาวตกจาก International Meteor Organization (IMO) และ Meteor Shower Flux Estimator โดย Peter Jenniskens

ฝนดาวตกควอดแดรนต์ (Quadrantids QUA)


       ฝนดาวตกควอดแดรนต์มีจุดกระจายอยู่บริเวณตรงกลางระหว่างกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส คนเลี้ยงสัตว์ และมังกร ใกล้ปลายหางของกลุ่มดาวหมีใหญ่ หรือดาวจระเข้ ฝนดาวตกมักมีชื่อเรียกตามกลุ่มดาวที่จุดกระจายอยู่ ชื่อควอดแดรนต์มาจาก Quandrans Muralis เป็นชื่อละตินของกลุ่มดาวที่เคยอยู่บริเวณนี้

       สะเก็ดดาวที่ทำให้เกิดฝนดาวตกควอดแดรนต์มาจากดาวเคราะห์น้อย 2003 อีเอช (2003 EH 1) ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับดาวหางมัคโฮลซ์ (96P/Machholz) ภายใต้สภาวะที่ท้องฟ้ามืดสนิทและจุดกระจายอยู่เหนือศีรษะ สามารถมีอัตราการตกได้สูงถึง 120 ดวงต่อชั่วโมง (แปรผันได้ระหว่าง 60-200) โดยมักตกสูงสุดราววันที่ 3-4 มกราคม ของทุกปี

       ตำแหน่งของจุดกระจายบนท้องฟ้าทำให้พื้นที่บนโลกที่สังเกตฝนดาวตกกลุ่มนี้ได้ดีที่สุดคือประเทศในละติจูดสูงของซีกโลกเหนือ ประเทศไทยสังเกตได้ในอัตราที่ต่ำกว่าค่าสูงสุดเสมอ เนื่องจากละติจูดของประเทศไทยทำให้จุดกระจายอยู่สูงจากขอบฟ้าไม่มาก ปีนี้องค์การดาวตกสากลคาดหมายว่าเวลาที่โลกเคลื่อนผ่านจุดที่หนาแน่นที่สุดของธารสะเก็ดดาวตรงกับวันที่ มกราคม 2563 เวลา 15:20 น. ตามเวลาประเทศไทย แต่เราสังเกตฝนดาวตกกลุ่มนี้ได้ดีเฉพาะในช่วงเช้ามืดเท่านั้น ซึ่งห่างจากเวลาที่คาดว่าจะตกถี่ที่สุดหลายชั่วโมง ทำให้คาดว่าอัตราการตกสำหรับประเทศไทยจะต่ำมาก อยู่ที่ราว ดวงต่อชั่วโมงเท่านั้น ส่วนพื้นที่บนโลกที่คาดว่าจะสังเกตได้ดีที่สุดสำหรับปีนี้คือด้านตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือ

ฝนดาวตกพิณ (Lyrids LYR)


       ฝนดาวตกพิณมีอัตราตกสูงสุดราววันที่ 21-22 เมษายน ของทุกปี อยู่ที่ประมาณ 18 ดวงต่อชั่วโมง (แปรผันได้ เคยสูงถึง 90 ในช่วงเวลาสั้น ๆ เมื่อ พ.ศ. 2525) เกิดจากดาวหางแทตเชอร์ (C/1861 G1 Thatcher) เป็นดาวหางที่มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ยาวนานถึง 415 ปี

       สำหรับประเทศไทย ปีนี้คาดว่าฝนดาวตกพิณจะมีอัตราสูงสุดในคืนวันอังคารที่ 21 เมษายน 2563 จุดกระจายขึ้นเหนือขอบฟ้าในเวลา ทุ่ม ช่วงเวลาที่มีโอกาสเห็นดาวตกได้มากที่สุดคือช่วงตี ถึงตี ของเช้ามืดวันพุธที่ 22 เมษายน หากท้องฟ้าเปิดโล่งทุกทิศ ไร้เมฆ และห่างไกลจากแสงไฟฟ้าในเมืองรบกวน คาดว่าอาจนับได้ราว 15 ดวงต่อชั่วโมง

ฝนดาวตกอีตาคนแบกหม้อน้ำ (Eta Aquariids ETA)


       ฝนดาวตกอีตาคนแบกหม้อน้ำมีจุดกระจายอยู่ใกล้ดาวอีตา (η) ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ เกิดจากดาวหางแฮลลีย์ (1P/Halley) มีอัตราตกสูงสุดราววันที่ 5-7 พฤษภาคม ที่ 50 ดวงต่อชั่วโมง (แปรผันได้ระหว่าง 40-85) การสังเกตการณ์ในอดีตพบว่าอัตราตกสูงสุดแปรผันเป็นคาบประมาณ 12 ปี ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวพฤหัสบดี

       ธารสะเก็ดดาวของฝนดาวตกกลุ่มนี้ค่อนข้างกว้าง ช่วงที่ตกในระดับเกิน 30 ดวงต่อชั่วโมง จึงครอบคลุมหลายวัน จุดกระจายขึ้นเหนือขอบฟ้าในเวลาตี เวลาที่มีโอกาสเห็นดาวตกได้มากที่สุดคือช่วงตี – ตี คาดว่าปีนี้จะสังเกตได้ดีที่สุดในเช้ามืดวันอังคารที่ และพุธที่ พฤษภาคม ภายในหนึ่งชั่วโมงดังกล่าวนี้อาจนับได้ราว 25 ดวง

ฝนดาวตกเดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้ (Southern Delta-Aquariids SDA)


       ฝนดาวตกเดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้มีอัตราตกสูงสุดราววันที่ 29-30 กรกฎาคม ของทุกปี โดยอยู่ที่ประมาณ 25 ดวงต่อชั่วโมง ดาวตกจากฝนดาวตกกลุ่มนี้มีความสว่างน้อยเมื่อเทียบกับฝนดาวตกกลุ่มหลักกลุ่มอื่น ๆ ปีนี้สังเกตได้ดีที่สุดในคืนวันพุธที่ 29 ถึงเช้ามืดวันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม 2563 จุดกระจายขึ้นเหนือขอบฟ้าในเวลาประมาณ ทุ่ม แต่ท้องฟ้ายังมีแสงจันทร์รบกวน หลังจากดวงจันทร์ตกแล้ว หากท้องฟ้าเปิด ไม่มีเมฆฝนรบกวน น่าจะเห็นดาวตกในอัตราสูงสุดระหว่างเวลาตี ตี โดยอยู่ที่ประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง

ฝนดาวตกเพอร์ซิอัส (Perseids PER)


       ฝนดาวตกเพอร์ซิอัสหรือฝนดาวตกวันแม่ เป็นฝนดาวตกที่มีชื่อเสียงในประเทศตะวันตก โดยเฉพาะในละติจูดสูงทางเหนือ ซึ่งจุดกระจายดาวตกจะขึ้นไปอยู่สูงเกือบกลางฟ้าในเวลาเช้ามืด อัตราการเกิดดาวตกสูงถึงกว่า 100 ดวงต่อชั่วโมง และเกิดในฤดูร้อนซึ่งท้องฟ้าโปร่ง สะเก็ดดาวที่ทำให้เกิดฝนดาวตกมาจากดาวหางสวิฟต์-ทัตเทิล (109P/Swift-Tuttle) ซึ่งมีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ยาวนาน 130 ปี ช่วงที่ดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ครั้งล่าสุดเมื่อ ค.ศ. 1992 ทำให้ฝนดาวตกเพอร์ซิอัสมีอัตราสูงตลอดช่วงทศวรรษ 1990 และต่อเนื่องมาถึง ค.ศ. 2016

       การสังเกตฝนดาวตกกลุ่มนี้ในประเทศไทยมักพบอุปสรรคจากเมฆเพราะเป็นช่วงฤดูฝน ปีนี้จะมีแสงจันทร์ข้างแรมรบกวนอีกด้วย คาดว่าหากไม่คิดถึงปัจจัยเรื่องเมฆบัง อาจเห็นดาวตกได้สูงสุดในเช้ามืดวันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม 2563 ด้วยอัตราไม่เกิน 45 ดวงต่อชั่วโมง

ฝนดาวตกนายพราน (Orionids ORI)


       ฝนดาวตกนายพรานเป็นฝนดาวตกอีกกลุ่มหนึ่งที่เกิดจากดาวหางแฮลลีย์ จุดกระจายฝนดาวตกอยู่ไม่ไกลจากดาวเบเทลจุส ซึ่งเป็นดาวสว่างสีส้ม ส่วนหนึ่งของสามเหลี่ยมฤดูหนาว มีอัตราตกสูงสุดราววันที่ 20-21 ตุลาคม ของทุกปี ที่ประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง หรือมากกว่า โดยช่วง พ.ศ. 2549 – 2552 อัตราตกได้เพิ่มสูงไปอยู่ที่ 40-70 ดวงต่อชั่วโมง ติดต่อกัน 2-3 วัน คาดว่าอัตราตกอาจแปรผันด้วยคาบ 12 ปี ตามแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวพฤหัสบดี ซึ่งหากสมมุติฐานนี้เป็นจริง ช่วง พ.ศ. 2563-2565 อาจมีอัตราตกสูงเป็นพิเศษได้ 

       ปีนี้สามารถสังเกตฝนดาวตกนายพรานได้โดยไม่มีแสงจันทร์รบกวน สำหรับประเทศไทยคาดว่าจะตกสูงสุดในคืนวันอังคารที่ 20 ถึงเช้ามืดวันพุธที่ 21 ตุลาคม 2563 จุดกระจายขึ้นมาเหนือขอบฟ้าในเวลา ทุ่มครึ่ง เวลาที่มีโอกาสเห็นดาวตกได้มากที่สุดคือช่วงตี ตี ด้วยอัตราราว 20 ดวงต่อชั่วโมง

ฝนดาวตกสิงโต (Leonids LEO)


       ฝนดาวตกสิงโตมีอัตราตกสูงสุดในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยทั่วไปอยู่ที่ราว 15 ดวงต่อชั่วโมง สะเก็ดดาวที่ทำให้เกิดฝนดาวตกกลุ่มนี้มาจากดาวหางเทมเพล-ทัตเทิล (55P/Tempel-Tuttle) ซึ่งมีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 33 ปี ธารสะเก็ดดาวของฝนดาวตกสิงโตมีหลายสาย ทำให้บางปีมีอัตราสูงมากนับร้อยหรือนับพันดวงต่อชั่วโมง อย่างที่เคยสังเกตได้ล่าสุดเมื่อช่วง พ.ศ. 2541-2545 ปีนี้โลกไม่ได้เคลื่อนผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวที่หนาแน่น จึงมีอัตราต่ำมาก

       จุดกระจายของฝนดาวตกสิงโตอยู่บริเวณหัวของสิงโต หรือที่เรียกว่าเคียวของสิงโต (Sickle of Leo) ตามลักษณะดาวที่เรียงกันเป็นวงโค้งคล้ายเคียวเกี่ยวข้าว จุดกระจายจะขึ้นมาเหนือขอบฟ้าในเวลาเที่ยงคืนครึ่ง ช่วงที่สังเกตได้ดีที่สุด คือเวลาตี ถึงก่อนฟ้าสางของเช้ามืดวันอังคารที่ 17 และพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 ด้วยอัตราตกประมาณ 15 ดวงต่อชั่วโมง

ฝนดาวตกคนคู่ (Geminids GEM)


       ฝนดาวตกคนคู่เป็นฝนดาวตกที่เด่นที่สุดกลุ่มหนึ่งในรอบปี ปีก่อน ๆ คาดหมายว่ามีอัตราตกสูงสุดราว 120 ดวงต่อชั่วโมง มักตกสูงสุดประมาณวันที่ 13-15 ธันวาคม ของทุกปี ดาวเคราะห์น้อยเฟทอน (3200 Phaethon) เป็นต้นกำเนิดของฝนดาวตกกลุ่มนี้ จุดกระจายของฝนดาวตกคนคู่อยู่ใกล้ดาวคาสเตอร์ ซึ่งเป็นดาวสว่างที่สุดดวงหนึ่งของกลุ่มดาวนี้

       ปีนี้เป็นปีที่ดีในการสังเกตฝนดาวตกคนคู่ เนื่องจากไม่มีแสงจันทร์รบกวน องค์การดาวตกสากลคาดว่าอัตราตกที่จุดสูงสุดอาจสูงถึง 150 ดวงต่อชั่วโมง ประเทศไทยคาดว่าจะสามารถสังเกตได้ดีที่สุดในคืนวันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม ถึงเช้ามืดวันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563

       ดาวคาสเตอร์ขึ้นเหนือขอบฟ้าในเวลาประมาณ ทุ่ม จึงเริ่มเห็นดาวตกจากฝนดาวตกคนคู่ได้ในช่วงนี้ แต่ยังมีจำนวนน้อย หลังจากนั้นอัตราตกจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คาดว่าน่าจะสูงสุดในช่วงตี – ตี เมื่อสังเกตจากสถานที่ซึ่งท้องฟ้ามืด ห่างจากเมืองใหญ่ ไม่มีแสงไฟและหมอกควันรบกวน คาดว่าอัตราตกอาจสูงถึง 115 ดวงต่อชั่วโมง หรือมากกว่า หากสังเกตในคืนก่อนหน้านั้น คือในคืนวันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม ถึงเช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม ช่วงเวลาเดียวกันอาจนับได้มากกว่า 50 ดวงต่อชั่วโมง