สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ยานเนียร์ ชูเมกเกอร์ อาจพุ่งชนอีรอส

ยานเนียร์ ชูเมกเกอร์ อาจพุ่งชนอีรอส

7 ม.ค. 2544
รายงานโดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@hotmail.com)
ยานเนียร์ ชูเมกเกอร์ จะสิ้นสุดภารกิจของการเดินทางเข้าใกล้ดาวเคราะห์น้อยอีรอส ด้วยการพยายามลงจอดบนพื้นผิวของอีรอส ซึ่งมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จน้อยกว่า เปอร์เซ็นต์

ยานเนียร์ ชูเมกเกอร์ (NEAR Shoemaker) มีกำหนดการจะสิ้นสุดภารกิจในการสำรวจดาวเคราะห์น้อยอีรอส หนึ่งในดาวเคราะห์น้อยโคจรใกล้โลกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2544 ทีมผู้ควบคุมยานจะบังคับให้ยานค่อยๆ ลงสู่พื้นผิวของดาวเคราะห์น้อย ซึ่งมีความเป็นไปได้ในทางทฤษฎี แต่โอกาสประสบความสำเร็จนั้นมีน้อยมาก และมีความเป็นไปได้สูงที่ยานจะชนกับดาวเคราะห์น้อยและถูกทำลายลงจากการชน

หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน ยานเนียร์ ชูเมกเกอร์จะส่งภาพความละเอียดสูงของพื้นผิวอีรอสภายในระยะ 1,640 ฟุต (500 เมตร) ก่อนการพุ่งชน ซึ่งจะได้ภาพที่มีความละเอียดดีกว่าภาพที่ได้ก่อนหน้านี้ประมาณ 10 เท่า ขณะนี้ยานอวกาศกำลังโคจรรอบดาวเคราะห์น้อยด้วยวงโคจรที่ระดับความสูงราว 35 กิโลเมตร จากพื้นผิวดาว การปรับวงโคจรให้ใกล้ดาวเคราะห์น้อยมากกว่านี้จะมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม แอนดรูว์ เชง นักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการกล่าวว่า การเฉียดเข้าใกล้พื้นผิวของอีรอส ทำให้เขาและทีมงานสามารถใช้สเปกโทรมิเตอร์รังสีแกมมาในการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี และหากการลงจอดสำเร็จ สเปกโทรมิเตอร์ยังสามารถตรวจหากัมมันตภาพรังสีด้วยความลึก 10 เซนติเมตรจากผิวดาวได้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของดาวเคราะห์น้อยจะช่วยในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการก่อกำเนิดระบบสุริยะ

ภารกิจเนียร์ ชูเมกเกอร์ ยานอวกาศมูลค่า 224 ล้านเหรียญสหรัฐนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2539 ด้วยการส่งยานขึ้นจากแหลมคานาเวอรัล หลังจากที่ยานเข้าใกล้ดาวเคราะห์น้อยในเดือนกุมภาพันธ์เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งช้ากว่ากำหนดเดิมหนึ่งปี เนื่องจากปัญหาของการจุดจรวด ยานได้ส่งภาพของดาวเคราะห์น้อยอีรอสมากกว่า 150,000 ภาพ แสดงภาพของอีรอสรูปทรงคล้ายถั่วลิสง มีขนาด 34x13x13 กิโลเมตร ซึ่งใกล้เคียงกับระยะทางจากกรุงเทพฯ ถึงสมุทรสาคร หมุนรอบตัวเองด้วยคาบ ชั่วโมง มีวงโคจรเป็นวงรีรอบดวงอาทิตย์ สามารถเข้าใกล้โลกมากที่สุดที่ระยะห่าง 19 ล้านกิโลเมตร ในเวลา 11 เดือนของการสำรวจอีรอส ยานมีวงโคจรที่ระดับความสูง 50 ถึง 320 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ปีที่แล้ว ยานได้เฉียดเข้าใกล้อีรอสมากที่สุดที่ระยะต่ำกว่า กิโลเมตร และเมื่อกลางเดือนธันวาคม ได้มีการจุดจรวดให้ยานมีวงโคจรต่ำลงที่ระยะ 35 กิโลเมตร จากพื้นผิวในการสำรวจขั้นสุดท้าย

ติดตามความคืบหน้าของเนียร์ ชูเมกเกอร์ ได้จาก http://near.jhuapl.edu

เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2543 ยานเนียร์ได้ถ่ายภาพต่อเนื่อง 780 ภาพ แสดงการหมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์น้อยอีรอส ซึ่งการถ่ายภาพเช่นนี้ทำให้มองเห็นการเปลี่ยนแปลงของแสงเงา ความสว่าง และการสะท้อนแสงขององค์ประกอบบนพื้นผิว

เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2543 ยานเนียร์ได้ถ่ายภาพต่อเนื่อง 780 ภาพ แสดงการหมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์น้อยอีรอส ซึ่งการถ่ายภาพเช่นนี้ทำให้มองเห็นการเปลี่ยนแปลงของแสงเงา ความสว่าง และการสะท้อนแสงขององค์ประกอบบนพื้นผิว

ที่มา: