สมาคมดาราศาสตร์ไทย

อุกกาบาตชนดวงจันทร์ ถ่ายได้คาหนังคาเขา

อุกกาบาตชนดวงจันทร์ ถ่ายได้คาหนังคาเขา

19 มิ.ย. 2549
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
    เมื่อวันที่ พฤษภาคม 2549 มีหลุมอุกกาบาตหลุมใหม่เกิดขึ้นดวงจันทร์อีกหนึ่งหลุม

    อุกกาบาตชนดวงจันทร์เกิดหลุมขึ้นไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะเป็นที่รู้กันทั่วไปอยู่แล้วจากภาพถ่ายพื้นผิวดวงจันทร์ที่พรุนไปด้วยหลุมน้อยใหญ่ทั่วทั้งดวง แต่ที่ต้องเป็นข่าวเพราะครั้งนี้มีการบันทึกภาพไว้เป็นหลักฐานชัดเจน

    บิล คูก หัวหน้าสำนักงานสิ่งแวดล้อมด้านอุกกาบาตของนาซา ได้เฝ้าสังเกตดวงจันทร์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาด 10 นิ้วและบันทึกภาพไว้ในกล้องวิดีโอ จนจับภาพสำคัญนี้ได้

    การพุ่งชนครั้งนี้เกิดขึ้นที่ทะเลแห่งเมฆ (Mare Nubium) เป็นการสว่างวาบจุดเล็ก ๆ ความสว่างเทียบเท่าดาวที่มีอันดับความสว่าง และเกิดขึ้นเป็นเวลาสั้นเพียงสี่ในสิบของวินาที แต่บนดวงจันทร์คือการระเบิดที่เกิดจากการพุ่งชนที่มีพลังงานจลน์ 17,000 ล้านจูล หรือเทียบเท่าการระเบิดของระเบิดทีเอ็นที ตัน

    จากระยะเวลาของการสว่างวาบและระดับความสว่าง นักดาราศาสตร์คำนวณได้ว่า หลุมที่เกิดขึ้นใหม่นี้มีความกว้าง 14 เมตร ลึก เมตร อุกกาบาตที่พุ่งชนมีขนาดราว 25 เซนติเมตร พุ่งด้วยความเร็ว 38 กิโลเมตรต่อวินาที

    หากก้อนหินก้อนนี้พุ่งเข้าใส่โลก ก็จะตกลงมาไม่ถึงพื้นเพราะการเสียดสีกับบรรยากาศโลกจะทำให้แตกและระเหิดหายไปหมดก่อนถึงพื้น แต่บนดวงจันทร์ไม่มีบรรยากาศช่วยปกป้อง พื้นผิวจึงเปิดรับการพุ่งชนของวัตถุจากอวกาศเต็มที่

    การที่นาซากำลังมีโครงการส่งมนุษย์กลับไปเยือนดวงจันทร์อีกครั้งในอนาคตอันใกล้ จึงเกิดคำถามขึ้นว่าการพุ่งชนของอุกกาบาตแบบนี้จะก่อปัญหาหรือไม่?

    คำตอบของคำถามนี้ยังเป็นที่แน่ชัด เพราะปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่าเกิดการพุ่งชนหรือไม่ แต่อยู่ที่ว่าเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน ซึ่งนักดาราศาสตร์ก็ยังไม่ทราบตัวเลขนี้ การเฝ้าติดตามดวงจันทร์อย่างที่ทำในครั้งนี้จะช่วยให้หาคำตอบได้

    ปัจจุบันงานเฝ้ามองดวงจันทร์ยังคงดำเนินต่อไป คณะของคูกเฝ้าสำรวจดวงจันทร์ด้วยกล้องที่สร้างโดย รอบ ซักส์ และเวสลีย์ สวิฟต์จากศูนย์การบินอวกาศมาร์แชล ประมาณ 10 คืนต่อเดือน การสังเกตทุกคืนทำไม่ได้ เพราะทำได้เฉพาะคืนที่ดิถีของดวงจันทร์อยู่ระหว่าง 15 ถึง 50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

    ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ พฤศจิกายนปีที่แล้ว ขณะที่ซักส์ และสวิฟต์กำลังทดสอบการทำงานของกล้องก็ตรวจพบชิ้นส่วนของดาวหางเองเคอชนดวงจันทร์ที่ทะเลแห่งฝน (Mare Imbrium) มาแล้วครั้งหนึ่ง

ภาพบันทึกการระเบิดที่เกิดจาก พุ่งชนของอุกกาบาตบนดวงจันทร์เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2549 ภาพยนตร์หน่วงให้ช้าลง 7 เท่า เพราะแสงสว่างจริงเกิดขึ้นสั้นมาก (ภาพจาก Heather McNamara และ Danielle Moser)

ภาพบันทึกการระเบิดที่เกิดจาก พุ่งชนของอุกกาบาตบนดวงจันทร์เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2549 ภาพยนตร์หน่วงให้ช้าลง 7 เท่า เพราะแสงสว่างจริงเกิดขึ้นสั้นมาก (ภาพจาก Heather McNamara และ Danielle Moser)

กราฟความสว่างของการระเบิดที่เกิดจากการชนเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2549

กราฟความสว่างของการระเบิดที่เกิดจากการชนเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2549

ที่มา: