สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ยานสำรวจดวงจันทร์ของญี่ปุ่นลงจอดบนดวงจันทร์(น่าจะ)ล้มเหลว

ยานสำรวจดวงจันทร์ของญี่ปุ่นลงจอดบนดวงจันทร์(น่าจะ)ล้มเหลว

7 มิ.ย. 2568
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อวานนี้ (6 มิถุนายน 2568) เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งในวงการสำรวจอวกาศของประเทศญี่ปุ่น เพราะเป็นวันที่ยานสำรวจลำหนึ่งของประเทศจะลงจอดบนดวงจันทร์

ยานลำนี้มีชื่อว่า เรซิเลียนซ์ เป็นยานอวกาศในภารกิจ ฮะกุโตะ-อาร์ 2 (HAKUTO-R 2) ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทเอกชนของญี่ปุ่น ชื่อ ไอสเปซ 

ภาพในจินตนาการของศิลปิน แสดงยานเรซิเลียนซ์และรถเทเนเชียสบนพื้นผิวดวงจันทร์  (จาก ispace)


เรซิเลียนซ์ออกเดินทางจากโลกไปตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2568 โดยจรวดฟัลคอน ซึ่งเดินทางไปพร้อมกับยาน บลูโกสต์ ซึ่งเป็นภารกิจสำรวจดวงจันทร์ของบริษัทเอกชนของสหรัฐอเมริกาชื่อ ไฟร์ฟลายแอโรสเปซ แม้จะมีเป้ามายที่ดวงจันทร์เหมือนกัน แต่ไม่ได้เดินทางไปด้วยกัน เส้นทางการเดินทางของบลูโกสต์สั้นกว่าเรซิเลียนซ์ จึงเดินทางไปถึงก่อน โดยได้ลงจอดบนดวงจันทร์ได้สำเร็จเมื่อวันที่ มีนาคม และปิดภารกิจไปในอีกสองสัปดาห์ถัดมา

ตัวยานเรซิเลียนซ์เองไม่ใช่ยานลำเดียว ยังมีรถสำรวจเล็กพ่วงไปด้วย มีชื่อว่า เทเนเชียส รถคันนี้มีขนาดเพียง 31.5 54 เซนติเมตร สูง 26 เซนติเมตร หนัก กิโลกรัม สร้างโดยโครงการอวกาศแห่งชาติลักเซมเบิร์ก นับเป็นรถสำรวจดวงจันทร์ลำแรกของโลกที่สร้างจากประเทศยุโรป

แบบจำลองรถเทเนเชียสที่ตั้งอยู่ในสำนักงานอวกาศในลักเซมเบิร์ก  (จาก iSpace)

ภารกิจของเรซิเลียนซ์คือ สำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ทั้งโดยยานลงจอดและรถสำรวจเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิประเทศและพื้นผิวเพื่อประโยชน์ในการส่งคนไปในอนาคต นอกจากนี้ยังมีภารกิจในการทดสอบเทคโนโลยีต่าง ๆ และทดลองทางวิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิต 

ตามกำหนด ยานเรซิเลียนซ์จะลงสัมผัสพื้นผิวดวงจันทร์เมื่อเวลา 2:24 น. ของวันที่ มิถุนายน ตามเวลาประเทศไทย เป้าหมายลงจอดของยานคือทะเลแห่งความหนาวเหน็บหรือ มาเรฟริกอริส (Mare Frigoris) 

ภารกิจของยานเหมือนจะไปด้วยดี แต่เมื่อถึงเวลาที่ยานใกล้ถึงพื้น สัญญาณการสื่อสารจากยานก็หายวับไป ซึ่งอาจหมายความว่าการลงจอดล้มเหลว คาดว่าทางไอสเปซจะมีแถลงข่าวอย่างเป็นทางการในเร็ว ๆ นี้

ครั้งนี้นับเป็นความพยายามนำยานลงจอดบนดวงจันทร์ครั้งที่สองของไอสเปซ ก่อนหน้านี้ในปี 2566 ไอสเปซได้ส่งภารกิจไปดวงจันทร์ภารกิจแรก ชื่อ ฮะกุโตะ-อาร์ ไปลงจอดดวงจันทร์มาแล้ว และภารกิจนั้นก็ล้มเหลวในลักษณะคล้ายกัน นั่นคือยานได้เสียการสื่อสารไปก่อนที่ลงจอดไม่นาน

ไอสเปซมีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีเป้าหมายด้านอวกาศที่ก้าวล้ำไปถึงขึ้นวางแผนจะสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยสำหรับมนุษย์บนดวงจันทร์ จึงพุ่งเป้าไปที่การสำรวจและพัฒนาแหล่งน้ำบนดวงจันทร์ ไอสเปซเชื่อว่าก่อนสิ้นปี 2583 โครงสร้างพื้นฐานบนดวงจันทร์จะดีพร้อมให้คนอยู่อาศัยได้ถึงหนึ่งพันคน และสามารถพาคนไปเที่ยวดวงจันทร์ได้ถึงปีละหนึ่งหมื่นคน 

แต่ก่อนจะถึงจุดนั้น ต้องเอายานลงจอดบนดวงจันทร์ให้ได้เสียก่อน

ที่มา: