สมาคมดาราศาสตร์ไทย

สมาร์ต-1 พุ่งชนดวงจันทร์

สมาร์ต-1 พุ่งชนดวงจันทร์

16 ก.ย. 2549
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อเช้ามืดของวันที่ กันยายนที่ผ่านมา ยานสมาร์ต-1 ขององค์การอีซา ได้พุ่งเข้าชนดวงจันทร์ แรงปะทะส่งแสงวาบขึ้น เป็นการจุดพลุฉลองปิดภารกิจที่สมบูรณ์แบบที่ยาวนานมาถึงหนึ่งปีครึ่งอย่างสวยงาม

การชนเกิดขึ้นเมื่อเวลา 12:42:22 ตามเวลาประเทศไทย เมื่อสัญญาณจากยานที่ส่งมายังศูนย์ปฏิบัติการอวกาศยุโรปของอีซาหายวับไป เป้าหมายที่พุ่งชนคือทะเลสาบแห่งความสมบูรณ์แบบ (Lake of Excellence) ตำแหน่ง 34.4 องศาใต้ 46.2 องศาตะวันตก เกิดขึ้นที่ด้านใกล้และเป็นส่วนที่เป็นกลางคืนใกล้รอยต่อระหว่างกลางวันและกลางคืน มุมที่ชนเป็นมุมเฉียงมากเพียงประมาณ องศากับพื้นดินด้วยความเร็ว กิโลเมตรต่อวินาที ตำแหน่งและเวลาที่ชนนี้เป็นการตั้งใจ เพื่อให้กล้องโทรทรรศน์บนโลกได้จับภาพได้ชัดเจน 

ปรากฏการณ์ครั้งนี้จึงมีผู้ร่วมสังเกตการณ์มากมายทั้งนักดาราศาสตร์อาชีพและนักดาราศาสตร์สมัครเล่น

ชื่อยานสมาร์ต-1  (SMART-1) ย่อมาจาก Small Mission for Advanced Research and Technology เป็นยานสำรวจดวงจันทร์ลำแรกของยุโรป มีน้ำหนักเพียง 366 กิโลกรัม ออกเดินทางจากโลกเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2546 ด้วยจรวดเอเรียน และเดินทางไปถึงดวงจันทร์ในเดือนพฤศจิกายน 2547 ด้วยเส้นทางที่สุดแสนยาวนาน เพราะใช้วิธีวนรอบโลกหลายรอบพร้อมกับขยายวงโคจรถอยห่างออกไปเรื่อย ๆ ก่อนจะบ่ายหน้าสู่ดวงจันทร์ 

การวางแผนการเดินทางที่ยาวนานของยานเป็นบททดสอบสำหรับให้ยานได้ทำการทดลองหลายอย่าง เช่นทดสอบความทนทานต่อการอาบรังสีจากดวงอาทิตย์เป็นเวลานาน การติดต่อสื่อสาร การนำร่องอัตโนมัติ และยังเป็นบททดสอบการปรับแก้เส้นทางจากการถูกแรงโน้มถ่วงของระบบโลก-ดวงจันทร์รบกวนได้เป็นอย่างดี สมาร์ต-1 ยังได้ทำการทดลองหลายอย่างบนวงโคจรรอบดวงจันทร์เป็นครั้งแรก เพื่อบุกเบิกลู่ทางสำหรับยานอวกาศในอนาคต เช่นเช่นการใช้เครื่องยนต์ไอออนในการเดินทางในอวกาศจริงเป็นครั้งแรกและการใช้เครื่องยนต์ไอออนร่วมกับแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์ในการปรับเส้นทางของยานเข้าโคจรรอบ และการใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กจิ๋ว

การสำรวจดวงจันทร์เริ่มต้นขึ้นในเดือนมีนาคม 2548 อุปกรณ์หลักประกอบด้วย กล้องถ่ายภาพจิ๋ว (AMIE--Miniaturised Imaging Camera) กล้องโทรทรรศน์รังสีเอกซ์สำหรับสำรวจองค์ประกอบทางเคมีบนพื้นผิวดวงจันทร์ และสเปกโทรมิเตอร์อินฟราเรด นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์สำรวจความผันแปรของดวงอาทิตย์อีกสองชิ้นได้แก่ เอ็กซ์เอสเอ็ม (XSM--X-ray solar monitor) และ ดี-ซีไอเอ็กซ์เอส

เป็นเวลาราว 16 เดือนของภารกิจ สมาร์ต-1 ได้ศึกษาดวงจันทร์ในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านสัญฐานวิทยา องค์ประกอบของแร่บนพื้นผิว ทั้งย่านความถี่แสงขาว อินฟราเรด และรังสีเอกซ์ ภารกิจของสมาร์ต-1 ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นทั้งทางด้านการบุกเบิกเทคโนโลยีสำรวจใหม่ ๆ และข้อมูลที่ได้รับ โดยเฉพาะขณะนี้ที่ทุกฝ่ายก็เริ่มกลับไปมองที่ดวงจันทร์อีกครั้งหนึ่ง ภารกิจสำรวจในอนาคตย่อมได้รับประโยชน์จากการบุกเบิกทางเทคโนโลยีอวกาศที่สมาร์ต-1 ทำไว้อย่างมาก

ยานสมาร์ต-1

ยานสมาร์ต-1

ภาพการพุ่งชนตามลำดับเหตุการณ์ แต่ละภาพมีความกว้างxยาว 2x2 ลิปดา กินพื้นที่ 200x200 กิโลเมตร ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์แคนาดา-ฝรั่งเศส-ฮาวาย แสดงแสงวาบและพวยของเศษดินที่กระจุยออกมา (ภาพจาก ESA)

ภาพการพุ่งชนตามลำดับเหตุการณ์ แต่ละภาพมีความกว้างxยาว 2x2 ลิปดา กินพื้นที่ 200x200 กิโลเมตร ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์แคนาดา-ฝรั่งเศส-ฮาวาย แสดงแสงวาบและพวยของเศษดินที่กระจุยออกมา (ภาพจาก ESA)

เส้นทางโคจรของยานสมาร์ต-1 ช่วงสุดท้ายก่อนพุ่งเข้าชนดวงจันทร์

เส้นทางโคจรของยานสมาร์ต-1 ช่วงสุดท้ายก่อนพุ่งเข้าชนดวงจันทร์

เครื่องยนต์ไอออน แนวโน้มใหม่ของการเดินทางในอวกาศในอนาคต สมาร์ต-1 เป็นยานลำแรกที่นำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในการเดินทางจริงเป็นครั้งแรก

เครื่องยนต์ไอออน แนวโน้มใหม่ของการเดินทางในอวกาศในอนาคต สมาร์ต-1 เป็นยานลำแรกที่นำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในการเดินทางจริงเป็นครั้งแรก

ที่มา: