สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ฮับเบิลถ่ายภาพซากการชนของดาวเคราะห์น้อยได้เป็นครั้งแรก

ฮับเบิลถ่ายภาพซากการชนของดาวเคราะห์น้อยได้เป็นครั้งแรก

16 พ.ย. 2553
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อต้นปี กล้องโทรทรรศน์ได้จับภาพของวัตถุประหลาดโครงสร้างคล้ายดาวหางดวงหนึ่ง ซึ่งมีหางคล้ายดาวหาง แต่มีส่วนใกล้หัวเป็นรูปตัวเอกซ์ (X) ส่วนวัตถุแกนกลับอยู่นอกส่วนที่น่าจะเป็นหัว นักดาราศาสตร์เชื่อว่าสิ่งนั้นคือซากของดาวเคราะห์น้อยชนกัน
จากการติดตามสำรวจมาเป็นเวลาห้าเดือน นักดาราศาสตร์ต้องประหลาดใจที่พบว่า เศษซากที่กระจายออกมาจากวัตถุแผ่ขยายออกด้วยอัตราช้ามาก จากอัตรานี้ แสดงว่า การพุ่งชนนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นเดือน 2552 แล้ว
วัตถุนี้ได้ชื่อว่า พี/2010 เอ (P/2010 A2โคจรอยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อยหลัก 
นักดาราศาสตร์ประเมินว่าในแถบดาวเคราะห์น้อยหลัก มีวัตถุขนาดกลางชนกันเฉลี่ยปีละหนึ่งครั้ง เมื่อวัตถุชนกัน จะสาดเศษฝุ่นกระจายออกไปทั่วอวกาศ ความถี่นี้นักดาราศาสตร์ได้มาจากการวัดปริมาณฝุ่นที่กระจัดกระจายอยู่ในระบบสุริยะร่วมกับแบบจำลองการชนของดาวเคราะห์น้อย 
การสังเกตดาวเคราะห์น้อยชนกันทำได้ยากมากเนื่องจากการชนกันครั้งใหญ่เกิดขึ้นได้ยาก ส่วนการชนในขนาดย่อมลงมาที่อาจเกิดได้บ่อยกว่าแต่แสงก็จางมาก ดาวเคราะห์น้อยสองดวงที่มาชนกันจนเกิด พี/2010 เอ ก็ไม่เคยมีการบันทึกมาก่อนเหมือนกัน เนื่องจากแสงจางมากจนสังเกตไม่พบ 
แม้ข้อมูลจากฮับเบิลจะสนับสนุนความเป็นไปได้สูงที่วัตถุลึกลับนี้จะเกิดจากดาวเคราะห์น้อยชนกัน แต่นักดาราศาสตร์ก็ยังไม่อาจตัดทฤษฎีอื่นออกไปได้ในขณะนี้ เช่นทฤษฎีหนึ่งอธิบายว่า วัตถุนี้เป็นดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็กที่หมุนควงเร็วขึ้นจากแรงจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ จนสาดฝุ่นผงบนดาวออกไปจนเป็นทางคล้ายหางดาวหางดังที่เห็น
การสังเกตการณ์นี้มีความสำคัญต่อนักวิทยาศาสตร์มาก เพราะจะช่วยให้นักดาราศาสตร์ทราบว่าฝุ่นในระบบสุริยะเกิดมาจากอะไร และการชนกันของดาวเคราะห์น้อยจะสร้างฝุ่นขึ้นมาในวงโคจรมากน้อยเพียงใด ความรู้นี้ยังเป็นประโยชน์ในการสร้างแบบจำลองวงแหวนฝุ่นที่พบล้อมรอบดาวฤกษ์ดวงอื่น นักดาราศาสตร์พบวงแหวนฝุ่นรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นหลายแห่ง จานฝุ่นนี้เชื่อว่าเกิดจากการชนกันของวัตถุที่มองไม่เห็นในจานนั้น ดังนั้นถ้าเข้าใจว่าฝุ่นเกิดขึ้นมาได้อย่างไรก็ย่อมช่วยให้เข้าใจวัตถุต้นกำเนิดที่แฝงกายอยู่ในจานฝุ่นนั้นได้
ฮับเบิลถ่ายภาพวัตถุดวงนี้ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนพฤษภาคม 2553 ด้วยกล้องดับเบิลยูเอฟซี อนุภาคในส่วนที่ดูคล้ายหางดาวหางนั้นคาดว่ามีขนาดตั้งแต่ 1/25 นิ้ว จนถึง นิ้ว
นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่าวัตถุนี้เกิดขึ้นจากดาวเคราะห์น้อยขนาด 3-5 เมตรชนเข้ากับดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่งที่ใหญ่กว่าด้วยความเร็วที่อาจสูงถึง 17,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้ดาวเคราะห์ดวงเล็กแตกกระจายเป็นผุยผง เชื่อว่าการชนครั้งนั้นเกิดขึ้นในราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ปี 2552 
ภาพวัตถุประหลาดคล้ายดาวหาง ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลในช่วงเวลา 5 เดือนเศษ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2553 ด้วยกล้องมุมกว้าง 3 แสดงรูปร่างแปลกประหลาดของซาก ซึ่งน่าเชื่อได้ว่าเกิดจากดาวเคราะห์น้อยชนกัน

ภาพวัตถุประหลาดคล้ายดาวหาง ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลในช่วงเวลา 5 เดือนเศษ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2553 ด้วยกล้องมุมกว้าง 3 แสดงรูปร่างแปลกประหลาดของซาก ซึ่งน่าเชื่อได้ว่าเกิดจากดาวเคราะห์น้อยชนกัน (จาก NASA, ESA, and D. Jewitt (UCLA) )

ที่มา: