สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ฮับเบิลพบบริวารของคามิลลา

ฮับเบิลพบบริวารของคามิลลา

28 มี.ค. 2544
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
อีกครั้งที่นักดาราศาสตร์ได้พบว่าดาวเคราะห์น้อยมีบริวารหรืออยู่ในรูปของดาวเคราะห์น้อยคู่ ล่าสุด เมื่อวันที่ มีนาคม 2544 ที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ได้พบว่า 107 คามิลลา (107 Camilla) ซึ่งเป็นดาวเคราะห์น้อยในแถบหลัก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 220 กิโลเมตร มีบริวารขนาด 10 กิโลเมตรอยู่ด้วย 

คณะสำรวจดาวเคราะห์น้อยนำโดย อเล็กซ์ สตอรส์ จากมหาวิทยาลัย Towson ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลสำรวจดาวเคราะห์น้อยที่ใหญ่ที่สุดในแถบหลัก 50 ดวง พวกเขาได้ถ่ายภาพคามิลลาเป็นจำนวน ภาพ และพบว่าในจำนวนนี้มี ภาพที่จุดเล็กปรากฏอยู่ข้าง ๆ ซึ่งต่อมาทราบว่าเป็นบริวารของคามิลลาเอง ส่วนภาพที่ ไม่ปรากฏจุดเนื่องจากเวลาเปิดหน้ากล้องสั้นเกินไป

ดวงจันทร์ดวงใหม่นี้อยู่ห่างจากดาวเคราะห์น้อยคามิลลาประมาณ 1,000 กิโลเมตร มีความสว่างน้อยกว่า อันดับ คาดว่ามีขนาดเล็กกว่าประมาณ 25 เท่า หรือมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 กิโลเมตร ขณะนี้ยังไม่สามารถคำนวณวงโคจรของบริวารดวงนี้ได้ เพราะยังมีข้อมูลไม่มากพอ

จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า ทั้งคามิลลาและบริวารมีสีสันคล้ายกันมาก จึงเชื่อว่าองค์ประกอบทางเคมีของพื้นผิวน่าจะคล้ายกันด้วย

การค้นพบครั้งนี้ทำให้จำนวนของดาวเคราะห์น้อยที่มีบริวารมีมากถึง ดวงแล้ว นอกจากนี้ยังมีดาวเคราะห์น้อยดวงอื่นอีกหลายดวงที่พบว่ามีเส้นความสว่างผิดปรกติ ซึ่งนักดาราศาสตร์สงสัยว่าอาจมีบริวารเช่นเดียวกัน

ภาพที่ค้นพบบริวารของคามิลลา (จุดเล็ก ๆ ทางขวา) ถ่ายเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2544 แต่ละ 1 พิกเซลมีขนาด 0.046 พิลิปดา (ภาพจาก STScI / Alex Storrs et al.)

ภาพที่ค้นพบบริวารของคามิลลา (จุดเล็ก ๆ ทางขวา) ถ่ายเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2544 แต่ละ 1 พิกเซลมีขนาด 0.046 พิลิปดา (ภาพจาก STScI / Alex Storrs et al.)

ที่มา: