สมาคมดาราศาสตร์ไทย

รอยฝุ่นถล่มบนดาวอังคาร

รอยฝุ่นถล่มบนดาวอังคาร

5 มิ.ย. 2544
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ยานมาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์ซึ่งกำลังสำรวจดาวอังคารอยู่ ได้ถ่ายภาพพื้นผิวดาวอังคารและพบริ้วสีดำจำนวนมากตามพื้นที่ลาดชันบริเวณ ไลคิส ซูคลี (Lycus Sucli) ในขณะที่ภาพพื้นที่เดียวกันนี้ที่ถ่ายเมื่อเกือบสองปีก่อนยังมีริ้วแบบนี้เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น 

นักดาราศาสตร์เชื่อว่าร่องรอยนี้เกิดจากการที่ฝุ่นละเอียดที่ปกคลุมบนพื้นผิวอยู่ไถลลงไปสู่พื้นที่ ๆ ต่ำกว่า จึงเผยให้เห็นชั้นดินชั้นล่างซึ่งมีสีคล้ำกว่าที่อื่น เหมือนกับเมื่อครั้งที่ยานมาร์สพาทไฟน์เดอร์ไปสำรวจดาวอังคารเมื่อปี 2540 รอยล้อของรถสำรวจโซเจอร์เนอร์ได้ขุดพื้นดินทำให้เห็นดินชั้นล่างที่มีสีเข้มกว่าส่วนอื่นเหมือนกัน นักดาราศาสตร์ประมาณว่า ตามพื้นที่ลาดชันบนดาวอังคาร จะเกิดรอยที่เกิดจากฝุ่นถล่มนี้ปี(ดาวอังคาร)ละ ครั้งต่อความยาวของที่ลาดชัน กิโลเมตร

ขณะนี้ยานมาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์กำลังอยู่ในช่วงปฏิบัติการพิเศษ ซึ่งจะจบสิ้นภารกิจในเดือนเมษายนปีหน้า 



ภาพสองภาพนี้เป็นภาพที่ถ่ายในบริเวณไลคุส ซูคลี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ระเกะระกะเต็มไปด้วยภูเขาอยู่ทางตอนเหนือของภูเขาไฟโอลิมปัส ภาพซ้ายถ่ายเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2542 ภาพขวาถ่ายเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2544 ห่างกันเกือบ 1 ปีดาวอังคาร ริ้วสีคล้ำเชื่อว่าเกิดจากการฝุ่นสีขาวละเอียดที่ปกคลุมผิวหน้าอยู่ไถลลงไป (ภาพจาก NASA/JPL/MSSS)

ภาพสองภาพนี้เป็นภาพที่ถ่ายในบริเวณไลคุส ซูคลี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ระเกะระกะเต็มไปด้วยภูเขาอยู่ทางตอนเหนือของภูเขาไฟโอลิมปัส ภาพซ้ายถ่ายเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2542 ภาพขวาถ่ายเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2544 ห่างกันเกือบ 1 ปีดาวอังคาร ริ้วสีคล้ำเชื่อว่าเกิดจากการฝุ่นสีขาวละเอียดที่ปกคลุมผิวหน้าอยู่ไถลลงไป (ภาพจาก NASA/JPL/MSSS)

ที่มา: