สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(23 พ.ย. 50) นักดาราศาสตร์มีคำอธิบายสำหรับซูเปอร์โนวาที่ส่องสว่างทะลุทฤษฎีที่พบเมื่อปีกลายแล้ว แบบจำลองใหม่นี้อธิบายว่าซูเปอร์โนวาไม่ใช่ซูเปอร์โนวาธรรมดาทั่วไป แต่เป็นซูเปอร์โนวาสองจังหวะ อเลกซานเดอร์ เฮเกอร์ จากกลุ่มทฤษฎีฟิสิกส์ดาราศาสตร์ของห้องทดลองแห่งชาติลอสอะลามอสร่วมกับ สตัน วูสเลย์ จากมหา 
...

ดาราจักรจิ๋ว

(10 พ.ย. 50) นักดาราศาสตร์ได้พบดาราจักรแคระแห่งใหม่ที่อยู่ห่างไกลถึงครึ่งทางของเอกภพ เป็นดาราจักรที่เล็กที่สุดที่เคยพบมาในระยะเดียวกัน การค้นพบนี้เป็นผลงานของคณะนักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เเนีย นักดาราศาสตร์คณะนี้ได้ใช้ข้อมูลที่สะสมไว้โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลและหอดูดาวดับเบิลยู. เอ็ม. เคก ในฮาวาย ดาราจักรแห่ง ...

ดาวเคราะห์ดวงที่ห้า

(10 พ.ย. 50) ดาว 55 ปู (55 Cancri) กลายเป็นเจ้าของสถิติดาวฤกษ์ที่มีดาวเคราะห์เป็นบริวารมากที่สุดแล้ว เมื่อนักดาราศาสตร์พบดาวเคราะห์ดวงที่ห้าดาวฤกษ์ดวงนี้ ดาว 55 ปู มองเห็นได้ง่ายด้วยกล้องสองตา อยู่ห่างจากโลก 41 ปีแสงในทิศทางของกลุ่มดาวปู มีมวลและอายุใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์ นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์ดวงที่ห้าด้วยเทคนิคการวัดปรากฏการณ์ดอป 
...

ซูเปอร์โนวาจากดาวแคระขาวชนกัน

(1 พ.ย. 50) หลายล้านปีก่อน มีดาวคู่คู่หนึ่งที่โคจรรอบกัน เมื่อกาลเวลาผ่านไป ดาวดวงหนึ่งได้ใช้พลังงานของตนเองไปจนหมด จึงเริ่มพองใหญ่ขึ้นกลายเป็นดาวยักษ์แดง และหลังจากนั้นก็ค่อยยุบลง เย็นลง กลายเป็นดาวแคระขาว อันเป็นสถานะสุดท้ายของวงจรชีวิตของดาวฤกษ์ขนาด ...

พบทะเลสาบที่ขั้วใต้ของไททัน

(31 ต.ค. 50) ไททันเป็นดวงจันทร์บริวารดาวเคราะห์ที่น่าสนใจที่สุดดวงหนึ่งในระบบสุริยะ เพราะมีลักษณะหลายอย่างที่เหมือนดาวเคราะห์มากกว่าดวงจันทร์ นักดาราศาสตร์พบว่าที่นั่นมีทั้งบรรยากาศ ฝน มีทั้งเมฆ และแม้แต่ทะเลสาบ จนถึงปัจจุบัน ยานแคสซีนีได้ทำแผนที่พื้นผิวของดวงจันทร์ไททันบริเวณขั้วเหนือ (ตั้งแต่ ...

วงแหวนดาวเสาร์อาจหนักและเก่ากว่าที่คิด

(31 ต.ค. 50) วงแหวนของดาวเสาร์บางมาก บางถึงขนาดที่เมื่อใดที่ดาวเสาร์หันด้านขอบวงแหวนมายังโลกพอดี วงแหวนดาวเสาร์ก็จะหายไปเลย แม้วงแหวนจะดูบางเบาเหมือนกระดาษ แต่นักดาราศาสตร์เพิ่งพบว่า แท้จริงแล้ววงแหวนดาวเสาร์อาจมีสสารมากกว่าที่มองเห็น ...

โซโฮพบดาวหางรายคาบ

(12 ต.ค. 50) หอดูดาวโซโฮได้ค้นพบดาวหางดวงใหม่ขึ้นอีกหนึ่งดวงเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา การค้นพบดาวหางของหอดูดาวโซโฮไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะหอดูดาวลอยฟ้าแห่งนี้ค้นพบดาวหางมาแล้วมากมาย นับจนถึงล่าสุดได้ 1,350 ดวง บนเป็นหอดูดาวที่มีผลงานค้นพบดาวหางมากที่สุด แต่ดาวหางดวงที่เพิ่งพบใหม่นี้มีความพิเศษกว่าดวงอื่น เพราะว่าโซโฮเคยพบดาวหางดวงนี้มาก่อน ...

ปลุกผีสตาร์ดัสต์

(28 ก.ย. 50) หลายคนคงจำกันได้ เมื่อสองปีก่อนมีข่าวดาราศาสตร์ข่าวหนึ่งที่ใหญ่โตคึกโครมที่สุดในรอบปี นั่นคือการปฏิบัติการของยานดีปอีมแพกต์ ดีปอิมแพกต์เป็นโครงการของนาซา ภารกิจสำคัญของโครงการนี้คือการปล่อยลูกตุ้มทองแดงหนัก 370 กิโลกรัมลงไปชนดาวหางเทมเพล วัตถุประสงค์คือเพื่อเปิดแผลสดบนผิวของนิวเคลียสดาวหาง แล้วยานก็จะได้ศึกษาถ่ายภาพรอยแผล 
...

วัตถุประหลาดรอบพัลซาร์

(18 ก.ย. 50) นักดาราศาสตร์พบวัตถุที่มีมวลระดับดาวเคราะห์ที่แปลกประหลาดที่สุดเท่าที่เคยพบเห็น ฮันส์ คริมม์ จากกอดดาร์ดได้ค้นพบระบบนี้เมื่อวันที่ มิถุนายนที่ผ่านมา เมื่อกล้องบีเอที (Burst Alert Telescope) ที่อยู่บนดาวเทียมสวิฟต์ตรวจพบการประทุของรังสีเอกซ์และรังสีแกมมามาจากทิศทางของใจกลางดาราจักร แหล่งกำเนิดนี้จึงได้ชื่อว่า สวิฟต์ เจ 1756.9-2508 (SWIFT J1756.9-2508) ตาม 
...

พิสูจน์ทฤษฎีซูเปอร์โนวา 1 เอ

(16 ก.ย. 50) เป็นครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์สามารถตรวจวัดสสารที่อยู่รอบดาวฤกษ์ก่อนที่จะระเบิดเป็นซูเปอร์โนวาชนิด 1 เอ ซึ่งเป็นหลักฐานหนักแน่นที่สนับสนุนว่าซูเปอร์โนวาชนิดนี้เกิดจากดาวแคระขาว ซูเปอร์โนวาชนิด 1 เอ เป็นซูเปอร์โนวาที่สว่างมาก และแต่ละดวงมีความคล้ายคลึงกันมาก นักดาราศาสตร์จึงใช้ซูเปอร์โนวาชนิดนี้เป็นดวงไฟ ...

ดาวมิรามีหาง

(21 ส.ค. 50) ดาวที่มีหางไม่ได้มีแต่ดาวหางเท่านั้น ดาวเทียมของนาซาที่ชื่อว่า กาเล็กซ์ (Galaxy Evolution Explorer (GALEX)) ได้ส่องสำรวจท้องฟ้าและพบว่า ดาวฤกษ์ชื่อ ดาวมิรา ก็มีหางเหมือนกัน มิรา เป็นภาษาละติน แปลว่า มหัศจรรย์ เป็นดาวที่น่าพิศวงและชวนหลงใหลดวงหนึ่งบนท้องฟ้า นักดาราศาสตร์ก็สนใจดาวดวงนี้มานานร่วม 400 ปีแล้ว อยู่ห่างจากโลก 350 ปีแสง เป็นดาวยักษ์แดงที่มีความ 
...

ยักษ์ชนยักษ์

(23 ก.ค. 50) นักดาราศาสตร์ได้ใช้ดาวเทียมฟิวส์ (FUSE--Far Ultraviolet Spectroscopic Explorer) ของนาซาร่วมกับกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินสำรวจดาวคู่คู่หนึ่งและได้พบกับสมบัติสำคัญของดาวคู่อายุน้อยที่มีมวลสูงมาก ดาวคู่ดังกล่าวคือ แอลเอช 54-425 (LH54-425) อยู่ในดาราจักรเมฆแมเจเลนใหญ่ ซึ่งเป็นดาราจักรบริวารของดาราจักรทางช้างเผือก สมาชิกของดาวคู่นี้เป็นดาวชนิดโอทั้งสองดวง ดาวชนิดโอเป็น 
...

ดาวแคระน้ำตาลก็มีลำสสารได้

(18 ก.ค. 50) ดาวแคระน้ำตาล เป็นวัตถุประเภทกึ่งดาวฤกษ์ นักดาราศาสตร์จัดว่าเป็นพวก "บุญไม่ถึง" ที่จะเป็นดาวฤกษ์เนื่องจากมวลไม่มากพอ แต่ยังมีกระบวนการภายในคล้ายดาวฤกษ์อายุน้อยอยู่ แต่ดาวแคระน้ำตาลชื่อ 2MASS1207-3932 ดูเหมือนจะมีบุญวาสนามากกว่าดวงอื่น เพราะได้เป็นข่าวพาดหัว ...

ถึงวันต้องพลัดพราก

(18 ก.ค. 50) กลุ่มดาวคนครึ่งม้าเป็นกลุ่มดาวที่มีวัตถุท้องฟ้าน่าสนใจมากมาย ในจำนวนนั้นคือ ดาราจักรคู่ เอ็นจีซี 5011 มีสองดาราจักรคือ เอ็นจีซี 5011 บี และ เอ็นจีซี 5011 ซี นักดาราศาสตร์เชื่อมานานว่าดาราจักรทั้งสองนี้สัมพันธ์กัน แม้แต่ชื่อก็บอกเป็นนัยอยู่แล้วว่าสัมพันธ์กัน ...

ตะลึง! ลูกไฟยักษ์ผ่านไทย

(15 ก.ค. 50) ในวันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม 2550 เวลาประมาณ 19.40 น. สมาคมดาราศาสตร์ไทยได้รับรายงานผ่านทางรายการร่วมด้วยช่วยกันและ จส.100 ว่ามีผู้พบเห็นลูกไฟขนาดใหญ่เคลื่อนที่ผ่านท้องฟ้า เห็นได้ใน อ.แม่พริก จ.ลำปาง และในขณะเดียวกันสมาคมดาราศาสตร์ไทยก็ได้รับรายงานจากคุณชัยโชค กองเกิด สมาชิกสมาคมดาราศาสตร์ไทยว่าเห็นลูกไฟยักษ์เคลื่อนผ่านท้องฟ้าใกล้ขั้วฟ้าเหนือ เห็นได้นานประมาณ 1.5 - 2 วินาที ...

เขตอันตรายรอบดาวฤกษ์

(13 ก.ค. 50) ดาวฤกษ์ชนิดโอ เป็นดาวฤกษ์ที่ร้อนที่สุดในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมด ความร้อนของดาวชนิดนี้เชื่อว่าจะทำลายการก่อจานฝุ่นของดาวฤกษ์ใกล้เคียงที่เย็นกว่า จานฝุ่นรอบดาวฤกษ์เป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการสร้าง 
...

แคลสซีนีพบไฮโดรคาร์บอนบนไฮเพียเรียน

(13 ก.ค. 50) เป็นครั้งแรกที่ยานแคสซีนีของนาซาได้เปิดเผยรายละเอียดของพื้นผิวของดวงจันทร์ไฮเพียเรียนของดาวเสาร์ ข้อมูลเบื้องต้นบ่งบอกว่าว่าสารเคมีพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตมีอยู่ทั่วไปในระบบสุริยะของเรา ก่อนหน้านี้ในเดือนกันยายนปี 2548 ยานแคสซีนีเคยเข้าใกล้และถ่ายภาพดวงจันทร์ดวงนี้มาครั้งหนึ่ง ในครั้งนั้นได้แสดงรูปร่างพื้นผิวที่แปลกประหลาด มีพื้นผิวที่พรุน 
...

สร้างดาวเคราะห์ โลหะไม่ต้อง

(16 มิ.ย. 50) วิลเลียม คอชแรน จากมหาวิทยาลัยเทกซัส และ ไมเคิล เอนเดิล รอเบิร์ต วิตเทนไมเออร์ จาคอบ บีน ได้ค้นพบระบบสุริยะแห่งใหม่ โดยใช้กล้องฮอบบี-เอเบอร์ลีขนาด 9.2 เมตรของหอดูดาวแมกดอนัลด์ ระบบสุริยะแห่งใหม่นี้มีดาวเคราะห์แบบดาวพฤหัสบดีสองดวงโคจรรอบ 
...

ซูเปอร์โนวาที่สว่างที่สุด

(29 พ.ค. 50) นักดาราศาสตร์ได้ใช้หอดูดาวจันทราของนาซาและกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินตรวจพบการระเบิดของดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมา การระเบิดของดาวฤกษ์หรือซูเปอร์โนวาครั้งนี้ อาจป็นซูเปอร์โนวาชนิดใหม่ที่ค้นหากันมานาน การค้นพบนี้แสดงว่าการระเบิดอย่างรุนแรงของดาวฤกษ์มวลมหาศาลเกิดขึ้นเป็นประจำในเอกภพยุคต้น และการระเบิด 
...

สนามแม่เหล็กในดาวเคราะห์ระบบสุริยะอื่น

(29 พ.ค. 50) เป็นครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์สามารถวัดสนามแม่เหล็กของดาวฤกษ์ที่มีดาวเคราะห์แบบ "พฤหัสร้อน" อยู่ด้วย คณะนักวิทยาศาสตร์นำโดย โคลด คาตาลา จากหอดูดาวปารีสได้สำรวจดาวเทาคนเลี้ยงสัตว์ (Tau Bootis) ด้วยกล้องแคนาดา-ฝรั่งเศส-ฮาวายที่ตั้งอยู่บนเขามานาเคอา ฮาวาย ดาวดวงนี้มีมวลราวหนึ่งเท่าครึ่งของดวงอาทิตย์ อยู่ห่างจากโลกราว 50 ปีแสง มีสนามแม่เหล็กเข้มกว่า ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น