สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(15 พ.ย. 49) เปล่า นาซาไม่ได้ส่งเครื่องเสียงไปให้ใครฟังเพลงในอวกาศ สเตอริโอในที่นี้คือยานอวกาศแฝดคู่ของนาซา ชื่อสเตอริโอ (STEREO) ย่อมาจาก Solar Terrestrial Relations Observatory ดาวเทียมคู่นี้ทำหน้าที่ศึกษาการปะทุบนดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์เรียกการปะทุบนดวงอาทิตย์ว่า การลุกจ้า (flare) เป็นการระเบิดพลังมหาศาล สามารถอัดมวลสารของ ...

พบดาวแคระน้ำตาลร่วมอยู่ในครอบครัวดาวเคราะห์

(15 พ.ย. 49) นักวิทยาศาสตร์นำโดย เควิน ลูห์แมน จากมหาวิทยาลัยเพนน์สเตต ได้ค้นพบระบบสุริยะใหม่อีกแห่งหนึ่งแล้ว เป็นระบบสุริยะที่แปลกไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน ระบบนี้ มีดาวแม่เป็นดาวฤกษ์แบบดวงอาทิตย์ มีบริวารเป็นดาวเคราะห์กับ ...

ดาวเคราะห์ชนิดใหม่ ใหญ่แต่เบา

(10 ต.ค. 49) นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นอีกแล้ว แต่ดาวเคราะห์ที่พบใหม่นี้ไม่เหมือนกับดาวเคราะห์ดวงไหน ๆ ที่เคยค้นพบมาก่อน อาจต้องจัดไว้เป็นดาวเคราะห์ประเภทใหม่เลยทีเดียว ดาวเคราะห์ดวงนี้เป็นบริวารของดาว เอดีเอส 16402 บี (ADS 16402B) ซึ่งเป็นสมาชิกของระบบดาวคู่คู่หนึ่งชื่อว่า เอดีเอส 16402 ในกลุ่มดาวกิ้งก่า อยู่ห่างจากโลก 450 ปีแสง มองเห็นได้ด้วยกล้องสองตา ดาวทั้งสองดวงอยู่. ...

พบต้นกำเนิดซูเปอร์โนวาปี ค.ศ. 185

(7 ต.ค. 49) หอดูดาวเอกซ์เอ็มเอ็ม-นิวตันขององค์การอวกาศยุโรปและหอดูดาวจันทราของนาซา พบหลักฐานที่ช่วยชี้ต้นกำเนิดของดาวระเบิดที่เก่าแก่ที่สุดที่มนุษย์เคยบันทึกไว้ได้ ...

ไขปริศนาแมงมุมดำบนดาวอังคาร

(20 ก.ย. 49) บนโลก เมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ ยอดอ่อนของต้นไม้ในป่าผลัดใบจะบานสะพรั่ง แต่ที่ดาวอังคาร เมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ รอยกระดำกระด่างรูปร่างแปลกผุดสะพรั่งขึ้นบริเวณขั้วใต้แทน นักวิทยาศาสตร์สังเกตเห็นรอยจุดคล้ำร่างแปลกนี้มานานแล้ว แต่ก็ยังไม่ทราบว่าเป็นรอยอะไร รอยคล้ำนี้ บางจุดรูปร่างเหมือนพัด ...

ซีนาได้ชื่อใหม่

(16 ก.ย. 49) ในที่สุด วัตถุที่นำมาซึ่งปัญหาและความขัดแย้ง ก็ได้ชื่อสามัญอย่างเป็นทางการแล้ว และเป็นชื่อที่ดูจะเหมาะสมแก่บทบาทของตนที่สุด อีริส ชื่อของเทพีแห่งความขัดแย้งของกรีก ได้รับการนำมาตั้งเป็นชื่อสามัญของ 2003 ยูบี 313 (2003 UB313) วัตถุดวงนี้ค้นพบเมื่อเดือนมกราคม 2548 โดยไมเคิล บราวน์, ชาด ทรูจิลโล, และเดวิด แอล. ราบิโนวิตซ์ จาก ...

สมาร์ต-1 พุ่งชนดวงจันทร์

(16 ก.ย. 49) เมื่อเช้ามืดของวันที่ 3 กันยายนที่ผ่านมา ยานสมาร์ต-1 ขององค์การอีซา ได้พุ่งเข้าชนดวงจันทร์ แรงปะทะส่งแสงวาบขึ้น เป็นการจุดพลุฉลองปิดภารกิจที่สมบูรณ์แบบที่ยาวนานมาถึงหนึ่งปีครึ่งอย่างสวยงาม การชนเกิดขึ้นเมื่อเวลา 12:42:22 ตามเวลาประเทศไทย เมื่อสัญญาณจากยานที่ส่งมายังศูนย์ปฏิบัติการอวกาศยุโรปของอีซา ...

ดาวพลูโต ซีรีส คารอน และซีนา เป็นดาวเคราะห์?

(21 ส.ค. 49) ดาวพลูโตจะถือเป็นดาวเคราะห์ได้หรือไม่ หรือจะถูกลดชั้นไปเป็นวัตถุไคเปอร์ ข้อถกเถียงที่ดำเนินมาอย่างยาวนานนี้กำลังจะได้ข้อยุติในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ เมื่อกำลังจะมีการให้คำจำกัดความของคำว่าดาวเคราะห์กันใหม่ การกำหนดคำจำกัดความของคำว่าดาวเคราะห์เริ่มเป็นประเด็นร้อนในวงการดาราศาสตร์มาอย่างต่อเนื่องหลายปี เดิมทีก่อนที่จะมีการค้นพบ ...

เจมส์ แวน อัลเลน

(18 ส.ค. 49) เจมส์ แวน อัลเลน วัย 91 ปี ได้เสียชีวิตแล้วเมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมาที่ไอโอวาซิตี มลรัฐไอโอวาด้วยอาการหัวใจล้มเหลว เจมส์ แวน อัลเลน มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาโครงการอวกาศของสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะในช่วงต้นของสงครามชิงความเป็นจ้าวอวกาศกับสหภาพโซเวียต อัลเลน เกิดในเมานต์เพลซันต์ มลรัฐไอโอวา เขาจบการศึกษาจาก ...

ทะเลสาบบนดวงจันทร์ไททัน

(18 ส.ค. 49) นักดาราศาสตร์ได้ตั้งข้อสงสัยมาเป็นเวลานานแล้วว่าบนดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์อาจมีแหล่งของเหลวที่มีมีเทนหรืออีเทนเหลวอยู่ โดยเฉพาะในพื้นที่หนาวเย็นเช่นบริเวณใกล้ขั้วดาว ภาพถ่ายล่าสุดของดวงจันทร์ไททันเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคมที่ผ่านมาได้ทำให้ทฤษฎีดังกล่าวน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ภาพชุดนี้ถ่ายโดยอุปกรณ์ชื่อเรดาร์ของยานแคสซีนี แสดง ...

วัดขนาดก้อนหินบนไททันจากสัญญาณวิทยุ

(31 ก.ค. 49) เมื่อยานแคสซีนีได้เดินทางไปถึงดาวเสาร์อันเป็นจุดหมายปลายทางเมื่อต้นปีที่แล้ว ยานได้ปล่อยยานลูกลำหนึ่งชื่อ ยานไฮเกนส์ ลงไปบนดวงจันทร์ไททันซึ่งเป็นบริวารที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ เพื่อสำรวจบริวารดวงนี้ในระยะใกล้ชิด ภารกิจหลักของยานไฮเกนส์คือตรวจวัดสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในบรรยากาศของไททันในขณะที่ยานตกลงสู่พื้นผิวโดยมีร่มชะลอความเร็ว พร้อมกันนั้นก็ส่ง ...

คอรอต ดาวเทียมจิ๋วแต่แจ๋ว

(30 ก.ค. 49) ใคร ๆ ก็มักบอกว่า ยิ่งใหญ่ยิ่งดี นักวิทยาศาสตร์ก็ชอบดาวเทียมดวงใหญ่ เพราะยิ่งใหญ่ก็มักมีความสามารถมาก แต่ดาวเทียมดวงจิ๋วชื่อ คอรอต (COROT) ของยุโรปกำลังจะพิสูจน์ว่าดาวเทียมเล็กก็อาจเก่งไม่แพ้ดาวเทียมใหญ่ได้ คอรอตเป็นดาวเทียมประเภทกล้องโทรทรรศน์อวกาศ มีความไวอย่างสุดยอด มีความสามารถในการตรวจ ...

บันทึกซูเปอร์โนวาแห่งปี 1006 ของอินเดียนแดง

(22 มิ.ย. 49) เมื่อหนึ่งสหัสวรรษที่แล้ว บรรพบุรุษของเราได้มีโอกาสเห็นดาวดวงหนึ่งทางท้องฟ้าซีกใต้ที่สว่างที่สุดในประวัติศาสตร์ มีความสว่างถึงประมาณหนึ่งในสี่ของพระจันทร์เต็มดวง มีบันทึกถึงเหตุการณ์ช่วงนั้นจากบันทึกของชาวเอเชีย ตะวันออกกลาง และยุโรป 
...

อุกกาบาตชนดวงจันทร์ ถ่ายได้คาหนังคาเขา

(19 มิ.ย. 49) เมื่อวันที่ พฤษภาคม 2549 มีหลุมอุกกาบาตหลุมใหม่เกิดขึ้นดวงจันทร์อีกหนึ่งหลุม อุกกาบาตชนดวงจันทร์เกิดหลุมขึ้นไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะเป็นที่รู้กันทั่วไปอยู่แล้วจากภาพถ่ายพื้นผิวดวงจันทร์ที่พรุนไปด้วยหลุมน้อยใหญ่ทั่วทั้งดวง แต่ที่ต้องเป็นข่าวเพราะครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการบันทึกภาพไว้ 
...

แสงวาบรังสีแกมมากับซูเปอร์โนวา

(10 มิ.ย. 49) ในอวกาศมีปรากฏการณ์ที่รุนแรงประเภทการระเบิดการปะทุหลายแบบ การระเบิดสองชนิดที่รุนแรงมากและเป็นที่สนใจของนักดาราศาสตร์เป็นพิเศษคือ ซูเปอร์โนวา และแสงวาบรังสีแกมมา (gamma-ray burst) ซูเปอร์โนวา เป็นสิ่งที่มีการศึกษามานานแล้ว นักดาราศาสตร์ทราบต้นกำเนิดเป็นอย่างดี ...

ต่ออายุโซโฮ

(6 มิ.ย. 49) นับตั้งแต่ดาวเทียมโซโฮ ซึ่งเป็นหอสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ได้ขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อวันที่ ธันวาคม 2538 ยานได้นำความลับมากมายจากดวงอาทิตย์มาสู่วงการวิทยาศาสตร์สุริยะ จนถึงวันนี้ โซโฮได้เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญให้แก่รายงานวิจัยกว่า 2,400 ฉบับโดยนักดาราศาสตร์กว่า 2,300 คน 
...

ดาวเคราะห์ของดาวเอชดี 69830

(2 มิ.ย. 49) นักดาราศาสตร์พบดาวเคราะห์ดวงใหม่ของดาวฤกษ์ดวงอื่นอีกแล้ว คราวนี้พบทีเดียวสามดวง และยังมีมวลประมาณดาวเนปจูนเท่านั้น ดาวเคราะห์ที่พบใหม่นี้เป็นบริวารของดาว เอชดี 69830 เป็นดาวฤกษ์ดวงเล็กที่อยู่ห่างจากโลกเพียง 41 ปีแสงในกลุ่มดาวท้ายเรือ 
...

วัตถุท้องฟ้าชนิดใหม่ ครึ่งดาวเคราะห์น้อย ครึ่งดาวหาง

(9 พ.ค. 49) ระบบสุริยะเรามีสมาชิกประเภทใหม่อีกประเภทหนึ่งแล้ว จะว่าดาวเคราะห์น้อยก็ไม่ใช่ จะว่าดาวหางก็ไม่เชิง เฮนรี ไซห์ และเดวิด จีวิตต์ จากมหาวิทยาลัยฮาวาย ได้ค้นพบและเผยแพร่ลงในวารสารไซนซ์เอกซ์เพรสส์ เมื่อวันที่ 23 มีนาคมว่า ดาวเคราะห์น้อยชื่อ 118401 หรือ 1999 อาร์อี 70 (1999 RE70) ปล่อยหางออกมาเหมือนดาวหาง ...

ลดชั้น 2003 ยูบี 313

(19 เม.ย. 49) เมื่อปีที่แล้ว ได้มีการค้นพบหนึ่งที่น่าจะเป็นข่าวดาราศาสตร์โด่งดังที่สุดในรอบปี นั่นคือการค้นพบวัตถุไคเปอร์ยักษ์ดวงใหม่ชื่อ 2003 ยูบี 313 วัตถุดวงนี้มีขนาดใหญ่มากจนอาจจะนับเป็นดาวเคราะห์ดวงที่สิบของระบบสุริยะก็ได้ เพราะขนาดที่ประเมินไว้เบื้องต้นคือ ใหญ่กว่าดาวพลูโตราวหนึ่งในสาม การสำรวจในย่านอินฟราเรดต่อมาโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์และ ...

ภาพแรกจากวีนัสเอกซ์เพรส

(15 เม.ย. 49) เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2549 ยานวีนัสเอกซ์เพรส ยานสำรวจดาวศุกร์ขององค์กรอีซา (องค์การอวกาศยุโรป) ได้ประสบผลสำเร็จในจุดจรวดชะลอนาน 50 นาทีจนเหลือความเร็วเพียง 1 กิโลเมตรต่อวินาที เพื่อปรับทิศทางเข้าสู่วงโคจรรอบดาวศุกร์ ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น