สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(11 พ.ค. 50) นักเอกภพวิทยาส่วนใหญ่เชื่อว่า ดาราจักรในเอกภพมีการกำเนิดแบบปลาใหญ่กินปลาเล็ก นั่นคือ ดาราจักรรุ่นแรกเป็นดาราจักรขนาดเล็ก ต่อมาดาราจักรน้อยเหล่านั้นมีการรวมกันเป็นดาราจักรที่ใหญ่ขึ้นทีละน้อยจนมีขนาดใหญ่ดังเช่นปัจจุบัน แต่สำหรับดาราจักร 
...

หลุมดำผู้ให้กำเนิด

(8 พ.ค. 50) หลุมดำ เป็นวัตถุที่มีแรงโน้มถ่วงมหาศาล ดึงดูดได้ทุกสิ่งแม้แต่แสงก็ยังหนีไม่พ้น วัตถุใดที่ถูกหลุมดำดูดเข้าไปแล้วจะไม่มีวันหลุดออกมาได้อีกเลย หลุมดำจึงเกี่ยวข้องกับจุดสิ้นสุดและจุดจบของสิ่งต่าง ๆ เสมอ แต่การวิจัยใหม่ได้แสดงว่า หลุมดำไม่ได้รับบทเป็นผู้ทำลายล้างเพียงอย่างเดียว แต่ยังมี 
...

ฮับเบิลครบ 17 ขวบ

(3 พ.ค. 50) คนเรา เมื่อถึงวันเกิด ก็จะมีคนมาอวยพรและให้ของขวัญ จัดงานเลี้ยงเล็กใหญ่ตามฐานะ แต่สำหรับกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล เมื่อถึงวันเกิด จะต้องเป็นฝ่ายให้ของขวัญเสียเอง ด้วยการเผยแพร่ภาพถ่ายจากห้วงอวกาศที่งามหยดดุจสวรรค์สร้างให้ชาวโลกได้ชื่นชม ปีนี้ก็เช่นกัน ของขวัญที่ฮับเบิล 
...

พบดาวเคราะห์แบบโลกรอบดาวฤกษ์ดวงอื่น

(1 พ.ค. 50) นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาวเคราะห์ของระบบสุริยะอื่นดวงใหม่อีกดวงหนึ่ง เป็นดาวเคราะห์ที่ลักษณะใกล้เคียงโลกมากที่สุดในจำนวนดาวเคราะห์ของระบบสุริยะอื่นเท่าที่เคยพบมา คณะนักดาราศาสตร์ชาวสวิส ฝรั่งเศส และโปรตุเกส ได้ใช้กล้องอีเอสโอ 3.6 เมตรสำรวจดาว กลีส 581 (Gliese 581) และได้ค้นพบดาวเคราะห์ที่มีมวลประมาณ 5 เท่าของโลกดวงหนึ่ง ดาวเคราะห์ดวงนี้มี ...

ถ้ำบนดาวอังคาร

(30 เม.ย. 50) ยานมาร์สโอดิสซีย์ของนาซาได้ถ่ายภาพพื้นผิวของดาวอังคารที่เปิดเผยสิ่งที่อาจเป็นถ้ำบนดาวอังคาร และไม่ได้มีเพียงแห่งเดียว แต่มีถึงเจ็ดแห่ง "ถ้าบนดาวอังคารมีสิ่งมีชิวิตจริง ที่ที่น่าไปค้นหาที่สุดก็คือในถ้ำนี่แหละ" จัต ไวนน์ จากมหาวิทยาลัยนอร์เทิร์นแอริโซนาในสาขาชีววิทยาและหัวหน้าโครงการค้นหาถ้ำบนดาวอังคารและโลกของโครงการสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกากล่าว ...

สนามแม่เหล็กโลก ภัยที่ไม่อาจมองข้ามสำหรับนักสำรวจดวงจันทร์

(21 เม.ย. 50) ดวงจันทร์โคจรรอบโลกครบรอบทุกเดือน แต่ละเดือนจะมีอยู่ประมาณสี่วันที่ดวงจันทร์จะเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็กของโลก ช่วงเวลานี้จะมีพื้นผิวบางส่วนของดวงจันทร์จะถูกประจุไฟฟ้าสถิต ดร.ไมค์ แฮปกูด จากห้องทดลองรัตเทอร์ฟอร์ดแอปเพิลตันจะแสดงแบบจำลองของปรากฏการณ์นี้ในที่ประชุมของดาราศาสตร์แห่งชาติของสมาคมดาราศาสตร์หลวงที่เพรสตัน แบบจำลองนี้จะแสดงให้เห็นว่า ...

ดาวเคราะห์น้อยคู่แอนทีโอปี

(19 เม.ย. 50) จากการใช้ข้อมูลจากกล้องวีแอลทีของอีโซร่วมกับที่ได้จากเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์อื่นที่เล็กกว่า ในที่สุด นักดาราศาสตร์ก็ได้ภาพของดาวเคราะห์น้อยแอนตีโอปีออกมา แม้ภาพดาวเคราะห์น้อยที่ได้จะคมชัดอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน แต่ต้นกำเนิดของวัตถุนี้ยังคงรางเลือน ดาวเคราะห์น้อย (90) แอนตีโอปี ค้นพบเมื่อ ...

ทะเลสาบแห่งใหม่บนไททัน

(19 เม.ย. 50) เรดาร์ของแคสซีนี ซึ่งได้เฉียดผ่านดวงจันทร์ไททันเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้เปิดเผยภาพของทะเลสาบแห่งใหม่บนดวงจันทร์ดวงนี้ที่มีขนาดใหญ่กว่าทุกแห่งที่เคยพบมา ไททัน ดวงจันทร์บริวารที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ เป็นดินแดนลึกลับของนักวิทยาศาสตร์มานานหลายสิบปีนับจากถูกค้นพบเป็นครั้งแรก เนื่องจากบริวารดวงนี้มีบรรยากาศที่ ...

วิ่งมาราธอนในอวกาศ

(30 มี.ค. 50) นักบินอวกาศของนาซา ซูนี วิลเลียมส์ จะแข่งขันวิ่งในรายการบอสตันมาราธอนกลางเดือนเมษายนนี้ด้วยความเร็วสูงสุดยิ่งกว่านักวิ่งมาราธอนคนใดในโลก บอสตันมาราธอนเป็นรายการวิ่งมาราธอนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดรายการหนึ่งของโลก จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีมาเป็นเวลา 110 ปีแล้ว ซูนี วิลเลียมส์ ได้สมัครร่วม ...

อีซาเดินหน้าภารกิจเบพิโคลอมโบ

(16 มี.ค. 50) ยานเบพิโคลอมโบ ภารกิจสำรวจดาวพุธขององค์การอีซาได้รับไฟเขียวให้เริ่มดำเนินการได้เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ขณะนี้การก่อสร้างยานได้เริ่มขึ้นแล้ว และมีกำหนดการจะปล่อยสู่อวกาศในเดือนสิงหาคมปี 2556 ดาวพุธเคยมียานไปสำรวจเพียงลำเดียวเท่านั้น คือ ยานมาริเนอร์ 10 ของนาซา ซึ่งไปสำรวจตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1970 และหลังจากนั้น ...

ชำระทฤษฎีแสงวาบรังสีแกมมา

(10 มี.ค. 50) แสงวาบรังสีแกมมา เป็นการระเบิดที่รุนแรงที่สุดในเอกภพ ค้นพบครั้งแรกในราวทศวรรษที่ 1970 การหาว่าสาเหตุของการระเบิดชนิดนี้คืออะไรเป็นปัญหาหนักอกที่ท้าทายนักวิทยาศาสตร์มาเป็นเวลานาน สาเหตุหนึ่งเนื่องจากมักเกิดขึ้นที่ขอบเอกภพที่มองเห็น และเป็น ...

จานสายอากาศสำหรับภารกิจฉางเอ๋อ 1 ของจีน พร้อมแล้ว

(9 มี.ค. 50) ในเดือนเมษายนปีนี้ จีนจะส่งยานชื่อฉางเอ๋อ 1 ขึ้นสู่อวกาศและมุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์ นับเป็นยานสำรวจดวงจันทร์ลำแรกของประเทศ หากทำสำเร็จ จีนก็จะเป็นชาติที่สี่ในโลกที่ส่งยานไปสำรวจดวงจันทร์ได้ ต่อจากสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และยุโรป แม้ก่อนหน้านี้จีนจะมีเครือข่ายติดตามด้านอวกาศใช้ในโครงการเฉินโจวอยู่แล้ว แต่จานสายอากาศ ...

บรรยากาศบนดาวเคราะห์ระบบสุริยะอื่น

(8 มี.ค. 50) การศึกษาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นได้ก้าวหน้าขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว เมื่อนักดาราศาสตร์สามารถตรวจหาองค์ประกอบของบรรยากาศบนดาวเคราะห์ได้ แต่ก็ต้องประหลาดใจกับสิ่งที่พบ คณะนักดาราศาสตร์ที่นำโดย คาร์ล กริลล์แมร์ จากศูนย์วิทยาศาสตร์สปิตเซอร์และ เดวิด ชาบงโน จากศูนย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ฮาร์วาร์ด-สมิทโซเนียน รายงานว่า ...

ดาวอังคารรอด

(18 ม.ค. 50) จากการติดตามสำรวจดาวเคราะห์น้อย 2007 ดับเบิลยูดี 5 ซึ่งจะเฉียดใกล้ดาวอังคารที่สุดในวันที่ 30 มกราคม 2551 นี้ พบว่า โอกาสที่ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะพุ่งชนดาวอังคารได้ลดลงไปอย่างมากจนเหลือเพียง 0.01 เปอร์เซ็นต์ หรือ 1 ใน 10,000 เท่านั้น ...

ภาพแอบถ่ายจากดาวอังคาร

(19 ธ.ค. 49) เมื่อสองเดือนก่อน ยานมาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ถ่ายภาพวัตถุสำคัญบนพื้นผิวดาวอังคารได้ วัตถุนี้ไม่ใช่หลุมอุกกาบาต ภูเขาไฟ และไม่ใช่มนุษย์ต่างดาว แต่เป็นภาพของยานสปิริต ยานออปพอร์ทูนิตีและยานไวกิงที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่บนภาคพื้นดิน ...

ดวงจันทร์เผยแผลสด

(17 ธ.ค. 49) การศึกษาหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์โดยปีเตอร์ ชูลซ์ และ คาร์ล ไพเตอร์ส จากมหาวิทยาลัยบราวน์ และ แมตทิว สเตด จากสถาบันวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ได้อ้างถึงหลักฐานจากสามแหล่งต่างกันที่สนับสนุนว่าภูเขาไฟบนดวงจันทร์ได้คายแก๊สออกมาในช่วงหนึ่งถึงสิบล้านปีก่อนเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นเวลาแค่ชั่วพริบตาในทางดาราศาสตร์ เป้าหมายในการ ...

บริวารดาวศุกร์หายไปไหน

(17 ธ.ค. 49) ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะเกือบทุกดวงมีดวงจันทร์ประดับบารมีกันทั้งนั้น แต่เคยสงสัยไหม ทำไมดาวศุกร์จึงไม่มีดวงจันทร์กับเขา อเลกซ์ อเลมี และ เดวิด สตีเฟนสัน นักวิทยาศาสตร์จากคาลเทค ได้เสนอทฤษฎีใหม่ต่อที่ประชุมสมาคมดาราศาสตร์อเมริกันเมื่อเดือนตุลาคมที่ ...

การลุกจ้าบนดาว 2 ม้าบิน

(13 ธ.ค. 49) ดาวเทียมสวิฟต์ของนาซาตรวจพบการลุกจ้า (flare) ที่รุนแรงมากบนดาวใกล้เคียงดวงหนึ่ง ความรุนแรงระดับนี้หากเกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์ จะถึงขั้นทำให้สิ่งมีชีวิตบนโลกต้องสูญพันธุ์ครั้งใหญ่อีกครั้ง คาดว่าการลุกจ้านี้อาจเป็นการระเบิดที่เกิดจากพลังแม่เหล็กที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยพบมา ...

เพื่อนบ้านใหม่ดวงอาทิตย์

(21 พ.ย. 49) ยิ่งกล้องโทรทรรศน์พัฒนาไปมากขึ้นเพียงใด ก็ยิ่งค้นพบดาวใหม่มากขึ้นเท่านั้น เมื่อไม่นานมานี้นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบระบบดาวหลายดวงเพิ่มขึ้นอีก 20 แห่ง ดาวที่พบใหม่นี้ไม่ใช่ดาวที่อยู่ไกลโพ้น แต่เป็นดาวเพื่อนบ้านของดวงทิตย์นี้เอง เหตุที่เพิ่งค้นพบเนื่องจากเป็นดาวที่แสงจางมากจนไม่เคยมีใครเห็นมาก่อน ...

ดาวเล็กให้กำเนิดฝุ่นมากกว่าดาวใหญ่

(18 พ.ย. 49) เป็นที่เชื่อกันมาอย่างนมนานว่า ดวงอาทิตย์ โลก สิ่งมีชีวิตบนโลกรวมถึงเนื้อหนังของเราทั้งหมด ล้วนเกิดมาจากเถ้าธุลีที่หลงเหลือจากการระเบิดซูเปอร์โนวา แต่การค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์เมื่อไม่นานมานี้กลับพบว่า ซูเปอร์โนวาไม่ใช่แหล่งกำเนิดฝุ่นส่วนใหญ่ในเอกภพ หากแต่เป็นดาวดวงเล็กที่มีจุด ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น