สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ฝนดาวตกสิงโต 2547

ฝนดาวตกสิงโต 2547

2 พฤศจิกายน 2547
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 22 มิถุนายน 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
ผลการคำนวณโดยอาศัยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของนักดาราศาสตร์ ทีม แสดงให้เห็นว่าฝนดาวตกสิงโตในปีนี้อาจมีจำนวนมากกว่าปกติ (แต่ไม่มากอย่างปี 2544)

ผลงานวิจัยโดยเจอเรมี วอเบลลอน (Jeremie Vaubaillon) เอสโค ลือทิเนน (Esko Lyytinen) โรเบิร์ต แมกนอต (Robert McNaught) และเดวิด แอชเชอร์ (David Asher) ที่ตีพิมพ์ในวารสารขององค์การอุกกาบาตสากลเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้ผลการพยากรณ์ใกล้เคียงกันว่าปีนี้ โลกจะผ่านใกล้เส้นทางของธารสะเก็ดดาวที่ดาวหางเทมเพล-ทัตเทิลทิ้งไว้ในปี ค.ศ. 1733 ทำให้อาจมีโอกาสเห็นดาวตกจากฝนดาวตกสิงโตในจำนวนมากกว่าปกติเล็กน้อย ด้วยอัตราสูงสุดไม่เกิน 30-65 ดวงต่อชั่วโมง โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในบริเวณที่เห็นจุดกระจายฝนดาวตกอยู่สูงกลางฟ้าในเวลาประมาณตี ถึงตี ของวันที่ 20 พฤศจิกายน ตามเวลาไทย ซึ่งก็คือทวีปเอเชีย

สำหรับประเทศไทย หากผลการคำนวณข้างต้นมีความแม่นยำใกล้เคียงความเป็นจริง คืนวันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน ต่อเช้ามืดวันที่ 20 พฤศจิกายน คนไทยที่สังเกตการณ์จากสถานที่ที่ท้องฟ้ามืดสนิท ไม่มีแสงไฟรบกวน อาจมีโอกาสมองเห็นดาวตกจากฝนดาวตกสิงโตระหว่างเวลาเที่ยงคืนถึงเช้ามืด ด้วยอัตราสูงสุดไม่เกิน 15-50 ดวงต่อชั่วโมง (คนที่อยู่ในเมืองจะเห็นได้น้อยกว่านี้มาก)

อย่างไรก็ดี จำเป็นต้องย้ำเตือนให้เข้าใจว่า ทั้งหมดนี้เป็นการพยากรณ์โดยอาศัยแบบจำลองเทียบกับปรากฏการณ์ในอดีตเท่านั้น ที่ผ่านมาแม้นักดาราศาสตร์สามารถพยากรณ์เวลาการเกิดได้แม่นยำพอสมควรก็จริง แต่ยังมีความผิดพลาดในด้านการคาดคะเนอัตราสูงสุดของดาวตกอยู่