สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ฝนดาวตกในปี 2557

ฝนดาวตกในปี 2557

22 ธันวาคม 2556
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 31 สิงหาคม 2560
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
ดาวตกเกิดจากสะเก็ดดาว (meteoroid) ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของดาวหางและดาวเคราะห์น้อย เคลื่อนเข้าสู่บรรยากาศโลก หากสังเกตจากสถานที่ซึ่งท้องฟ้ามืดสนิท ไม่มีเมฆหมอก แสงจันทร์ และแสงไฟฟ้ารบกวน โดยทั่วไปสามารถมองเห็นดาวตกบนท้องฟ้าได้เฉลี่ยราว ดวงต่อชั่วโมง ดาวตกที่สว่างมาก ๆ เรียกว่าลูกไฟ (fireball) หากระเบิดและบางครั้งมีเสียงดังเรียกว่าโบไลด์ (bolide)

ดาวตกจากฝนดาวตกคนคู่พาดผ่านบริเวณกลุ่มดาวหมีใหญ่ (จาก กิตติพงษ์ ศุภนุกูลสมัย)

เส้นทางที่สะเก็ดดาวจำนวนมากเคลื่อนที่เป็นสายไปในแนวเดียวกันในอวกาศเรียกว่าธารสะเก็ดดาว (meteoroid stream) แรงโน้มถ่วงของวัตถุต่าง ๆ ในระบบสุริยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดาวเคราะห์ ส่งผลรบกวนต่อธารสะเก็ดดาว เมื่อโลกเดินทางฝ่าเข้าไปในธารสะเก็ดดาว ซึ่งเกิดขึ้นหลายช่วงของปี จะทำให้เห็นดาวตกหลายดวงดูเหมือนพุ่งออกมาจากบริเวณเดียวกันบนท้องฟ้า ซึ่งเป็นมุมมองในเชิงทัศนมิติ ลักษณะเดียวกับที่เราเห็นรางรถไฟบรรจบกันที่ขอบฟ้า เรียกปรากฏการณ์ที่เห็นดาวตกดูเหมือนพุ่งมาจากจุดเดียวกันนี้ว่าฝนดาวตก (meteor shower)

ในรอบปีมีฝนดาวตกหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีลักษณะและจำนวนความถี่แตกต่างกันตามแต่องค์ประกอบและความเร็วของสะเก็ดดาว ฝนดาวตกบางกลุ่มอาจมีเพียงไม่กี่ดวงต่อชั่วโมง แต่ก็ยังเรียกว่าฝนดาวตก ดาวตกจากฝนดาวตกสามารถปรากฏในบริเวณใดก็ได้ทั่วท้องฟ้า แต่เมื่อลากเส้นย้อนไปตามแนวของดาวตก จะไปบรรจบกันที่จุดหนึ่ง เราเรียกจุดนั้นว่าจุดกระจายฝนดาวตก (radiant) ชื่อฝนดาวตกมักตั้งตามกลุ่มดาวหรือดาวฤกษ์ที่อยู่บริเวณใกล้จุดกระจาย

ดาวตกจากฝนดาวตกจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อจุดกระจายขึ้นมาอยู่เหนือขอบฟ้าแล้ว ฝนดาวตกแต่ละกลุ่มจึงมีช่วงเวลาที่เห็นได้แตกต่างกัน แสงจันทร์และแสงจากตัวเมืองเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการสังเกตดาวตก จึงควรหาสถานที่ที่ฟ้ามืด ยิ่งฟ้ามืดก็จะยิ่งมีโอกาสเห็นดาวตกได้มากขึ้น

บางปี ฝนดาวตกบางกลุ่มจะมีอัตราตกสูงเป็นพิเศษ เกิดขึ้นเมื่อโลกโคจรผ่านธารสะเก็ดดาวในส่วนที่มีสะเก็ดดาวอยู่หนาแน่น ปัจจุบัน วิธีการพยากรณ์ว่าจะมีฝนดาวตกที่มีอัตราตกสูงมากเมื่อใด กระทำโดยสร้างแบบจำลองทำนายการเคลื่อนที่ของสะเก็ดดาว แล้วคำนวณว่าโลกจะมีเส้นทางผ่านธารสะเก็ดดาวนั้นเมื่อใด

ฝนดาวตกในปี 2557
ฝนดาวตกช่วงที่ตกคืนที่มีมากที่สุดเวลาที่เริ่มเห็น (ประมาณ)อัตราสูงสุดในประเทศไทย (ดวง/ชั่วโมง)หมายเหตุ
ควอดแดรนต์28 ธ.ค. 12 ม.ค.3/4 ม.ค.02:00 น.45-
พิณ16-25 เม.ย.22/23 เม.ย.22:00 น.10แสงจันทร์รบกวนหลังตี 1
อีตาคนแบกหม้อน้ำ19 เม.ย. 28 พ.ค.5/6/7 พ.ค.02:00 น.30-40-
ยีราฟ?24 พ.ค.หัวค่ำ10-15 ?สูงสุดในเวลากลางวัน ?
เดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้12 ก.ค. 23 ส.ค.29/30/31 ก.ค.21:00 น.10-
เพอร์ซิอัส17 ก.ค. 24 ส.ค.12/13 ส.ค.22:30 น.25แสงจันทร์รบกวน
นายพรานต.ค. พ.ย.21/22 ต.ค.22:30 น.25
สิงโต6-30 พ.ย.17/18/19 พ.ย.00:30 น.10แสงจันทร์รบกวนหลังตี 3
คนคู่4-17 ธ.ค.14/15 ธ.ค.20:00 น.60-70แสงจันทร์รบกวนหลังตี 1


หมายเหตุ

 คอลัมน์ "คืนที่มีมากที่สุด" เครื่องหมายทับ (/) ใช้คั่นคืนวันแรกกับเช้ามืดของอีกวันหนึ่ง เช่น 3/4 หมายถึงคืนวันที่ ถึงเช้ามืดวันที่ 4
 ตัวเลขอัตราตกสูงสุดในประเทศไทยคิดผลจากแสงจันทร์รบกวนแล้ว แต่ยังไม่คิดผลจากมลพิษทางแสง 
 การสังเกตดาวตกในเมืองใหญ่จะมีจำนวนดาวตกลดลงจากตัวเลขในตารางนี้หลายเท่า
 การคาดหมายอัตราตกของดาวตกอาศัยข้อมูลตัวเลขจากปรากฏการณ์ในอดีต ควรใช้เป็นแนวทางคร่าว ๆ เท่านั้น เพราะมีโอกาสคลาดเคลื่อนได้
 ดัดแปลงจากข้อมูลฝนดาวตกโดย International Meteor Organization (IMO)  และ Meteor Shower Flux Estimator โดย Peter Jenniskens

ฝนดาวตกควอดแดรนต์ (Quadrantids QUA)

ฝนดาวตกควอดแดรนต์มีชื่อตามกลุ่มดาวควอดแดรนต์ (Quadrans Muralis) ซึ่งเป็นกลุ่มดาวในอดีต จุดกระจายอยู่บริเวณตรงกลางระหว่างกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส คนเลี้ยงสัตว์ และมังกร ฝนดาวตกควอดแดรนต์มีจำนวนสูงสุดราววันที่ 3-4 มกราคม ของทุกปี ประเทศที่เห็นฝนดาวตกกลุ่มนี้ได้ดีที่สุดคือประเทศในละติจูดสูงของซีกโลกเหนือ

นักดาราศาสตร์ค้นพบฝนดาวตกควอดแดรนต์เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ไม่พบว่าวัตถุใดคือต้นกำเนิด พ.ศ. 2546 ได้มีการค้นพบดาวเคราะห์น้อย 2003 อีเอช (2003 EH1) ซึ่งมีวงโคจรใกล้เคียงกับสะเก็ดดาวที่ทำให้เกิดฝนดาวตกกลุ่มนี้ และยังพบว่ามันอาจเป็นชิ้นส่วนหรือเป็นวัตถุเดียวกับดาวหางซี/1490 วาย (C/1490 Y1) ที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์เมื่อปลาย ค.ศ. 1490

อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติของฝนดาวตกควอดแดรนต์สูงถึง 120 ดวงต่อชั่วโมง (แปรผันได้ระหว่าง 60-200) ปกติมีช่วงเวลาสั้น แสดงว่าธารสะเก็ดดาวค่อนข้างแคบ โลกจึงใช้เวลาไม่นานในการผ่านส่วนที่มีสะเก็ดดาวหนาแน่นที่สุด ซึ่งปีนี้คาดว่าพื้นที่ที่สังเกตได้ดีที่สุดคือแถบตะวันออกของเอเชีย แต่แบบจำลองของนักดาราศาสตร์แสดงว่าธารสะเก็ดดาวในปีนี้อาจแผ่กว้างกว่าปกติ จึงเป็นไปได้ว่าช่วงที่มีฝนดาวตกควอดแดรนต์อาจกินเวลานาน ทำให้สังเกตได้ดีในพื้นที่อื่น ๆ ด้วย

ปีนี้ประเทศไทยอยู่ในจังหวะที่ดีสำหรับการดูฝนดาวตกควอดแดรนต์ คาดว่ามีมากที่สุดในช่วงก่อนฟ้าสางของวันเสาร์ที่ มกราคม 2557 เริ่มสังเกตได้ตั้งแต่ตี โดยอัตราตกจะต่ำมากในช่วงแรก หลังจากนั้นจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น เวลาที่น่าจะเห็นดาวตกได้มากที่สุดคือช่วง 04:30 05:30 น. ภายใต้ฟ้ามืดและไร้เมฆ ในหนึ่งชั่วโมงนี้อาจนับได้ราว 45 ดวง

ฝนดาวตกพิณ (Lyrids LYR)


ฝนดาวตกพิณมีอัตราตกสูงสุดราววันที่ 21-22 เมษายน ของทุกปี อยู่ที่ประมาณ 18 ดวงต่อชั่วโมง (เคยสูงถึง 90 ในช่วงเวลาสั้น ๆ เมื่อ พ.ศ. 2525) สำหรับประเทศไทย ปีนี้คาดว่าจะตกมากที่สุดในคืนวันอังคารที่ 22 เมษายน 2557 จุดกระจายขึ้นเหนือขอบฟ้าในเวลา ทุ่ม ช่วงเวลาที่มีโอกาสเห็นดาวตกได้มากที่สุดคือช่วงเที่ยงคืนถึงตี คาดว่าอาจนับได้ราว 10 ดวง หลังจากนั้น ดวงจันทร์สว่างครึ่งดวงจะรบกวน
ฝนดาวตกอีตาคนแบกหม้อน้ำ (Eta Aquariids ETA)

ฝนดาวตกอีตาคนแบกหม้อน้ำ มีจุดกระจายอยู่ใกล้ดาวอีตา (eta) ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ เกิดจากดาวหางแฮลลีย์ (1P/Halley) มีอัตราตกสูงสุดราววันที่ 5-7 พฤษภาคม ที่ 55 ดวงต่อชั่วโมง (แปรผันได้ระหว่าง 40-85)

ธารสะเก็ดดาวของฝนดาวตกกลุ่มนี้ค่อนข้างกว้าง ช่วงที่ตกในระดับเกิน 30 ดวงต่อชั่วโมง จึงครอบคลุมหลายวัน จุดกระจายขึ้นเหนือขอบฟ้าในเวลาตี เวลาที่มีโอกาสเห็นดาวตกได้มากที่สุดคือช่วงตี – ตี ในกรณีที่ท้องฟ้าเปิดโล่งทุกทิศ ไร้เมฆ และห่างไกลจากแสงไฟฟ้าในเมืองรบกวน คาดว่าเช้ามืดวันอังคารที่ และวันพุธที่ พฤษภาคม อาจนับได้ราว 30-40 ดวง

ฝนดาวตกเดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้ (Southern Delta-Aquariids SDA)


ฝนดาวตกเดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้มีอัตราตกสูงสุดราววันที่ 29-30 กรกฎาคม ของทุกปี โดยอยู่ที่ประมาณ 16 ดวงต่อชั่วโมง ดาวตกจากฝนดาวตกกลุ่มนี้มีความสว่างน้อย เมื่อเทียบกับฝนดาวตกกลุ่มหลักกลุ่มอื่น ๆ ปีนี้สังเกตได้ คืน ในอัตราที่ใกล้เคียงกัน คือในคืนวันอังคารที่ 29 และวันพุธที่ 30 กรกฎาคม 2557 จุดกระจายดาวตกจะขึ้นเหนือขอบฟ้าในเวลาประมาณ ทุ่ม หากท้องฟ้าเปิด น่าจะเห็นดาวตกได้สูงสุดระหว่างตี ตี ด้วยจำนวนราว 10 ดวง

ฝนดาวตกเพอร์ซิอัส (Perseids PER)


ฝนดาวตกเพอร์ซิอัสหรือฝนดาวตกวันแม่ เป็นฝนดาวตกที่มีชื่อเสียงในประเทศตะวันตก โดยเฉพาะในละติจูดสูง ๆ ทางเหนือ ซึ่งจุดกระจายดาวตกจะขึ้นไปอยู่สูงเกือบกลางฟ้าในเวลาเช้ามืด อัตราการเกิดดาวตกสูงถึงกว่า 100 ดวงต่อชั่วโมง และเกิดในฤดูร้อนซึ่งท้องฟ้าโปร่ง แต่การสังเกตฝนดาวตกกลุ่มนี้ในประเทศไทยมักพบอุปสรรคจากเมฆเพราะเป็นฤดูฝน ปีนี้จันทร์เพ็ญในวันที่ 11 สิงหาคม ทำให้มีแสงจันทร์รบกวน อาจเห็นดาวตกได้ไม่เกิน 30 ดวงต่อชั่วโมง
ฝนดาวตกนายพราน (Orionids ORI)

ฝนดาวตกนายพรานเป็นฝนดาวตกอีกกลุ่มหนึ่งที่เกิดจากดาวหางแฮลลีย์ ตกสูงสุดราววันที่ 20-21 ตุลาคม ของทุกปี อยู่ที่ประมาณ 25 ดวงต่อชั่วโมง (ช่วง พ.ศ. 2549 – 2552 อัตราตกได้เพิ่มสูงผิดปกติไปอยู่ที่ 40-70 ดวงต่อชั่วโมง ติดต่อกัน หรือ วัน) จุดกระจายฝนดาวตกอยู่ไม่ไกลจากดาวเบเทลจุส ซึ่งเป็นดาวสว่างสีส้ม ส่วนหนึ่งของสามเหลี่ยมฤดูหนาว

ปีนี้เป็นปีที่ดีสำหรับการสังเกตฝนดาวตกนายพราน สำหรับประเทศไทยคาดว่าจะตกสูงสุดในคืนวันอังคารที่ 21 ถึงเช้ามืดวันพุธที่ 22 ตุลาคม 2557 จุดกระจายขึ้นมาเหนือขอบฟ้าในเวลา ทุ่มครึ่ง เวลาที่มีโอกาสเห็นดาวตกได้มากที่สุดคือช่วงตี ตี ด้วยอัตราราว 25 ดวงต่อชั่วโมง
ฝนดาวตกสิงโต (Leonids LEO)

ฝนดาวตกสิงโตมีอัตราตกสูงสุดตามปกติอยู่ที่ราว 15 ดวงต่อชั่วโมง ในกลางเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ธารสะเก็ดดาวของฝนดาวตกสิงโตมีหลายสาย ทำให้บางปีมีอัตราสูงมากนับร้อยหรือนับพันดวงต่อชั่วโมง ปีนี้โลกไม่ได้เคลื่อนผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวที่หนาแน่น จึงคาดว่าไม่น่าจะสูงเกินกว่าระดับปกติ

จุดกระจายของฝนดาวตกสิงโตอยู่บริเวณหัวของสิงโต หรือที่เรียกว่าเคียวของสิงโต (Sickle of Leo) ตามลักษณะดาวที่เรียงกันเป็นวงโค้งคล้ายเคียวเกี่ยวข้าว จุดกระจายจะขึ้นมาเหนือขอบฟ้าในเวลาเที่ยงคืนครึ่ง ปีนี้จันทร์เสี้ยวขึ้นมาเหนือขอบฟ้าหลังตี จึงมีแสงจันทร์รบกวนเล็กน้อย ช่วงที่สังเกตได้ดีที่สุด คือเวลาตี ตี ของเช้ามืดวันอังคารที่ 18 และวันพุธที่ 19 พฤศจิกายน 2557 ด้วยอัตราตกราว 10 ดวงต่อชั่วโมง
ฝนดาวตกคนคู่ (Geminids GEM)

ฝนดาวตกคนคู่เป็นฝนดาวตกที่เด่นที่สุดกลุ่มหนึ่งในรอบปี มีอัตราตกสูงสุดราว 120 ดวงต่อชั่วโมง ประมาณวันที่ 13-15 ธันวาคม ของทุกปี ดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟทอน (3200 Phaethon) เป็นต้นกำเนิดของฝนดาวตกกลุ่มนี้ จุดกระจายอยู่ใกล้ดาวคาสเตอร์ในกลุ่มดาวคนคู่ ปีนี้คาดว่าจะสามารถสังเกตได้ดีที่สุดในคืนวันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม 2557 แต่หลังตี แสงจากดวงจันทร์สว่างเกือบครึ่งดวงจะรบกวน

ดาวคาสเตอร์ขึ้นเหนือขอบฟ้าในเวลาประมาณ ทุ่ม จึงเริ่มเห็นดาวตกจากฝนดาวตกคนคู่ได้ในช่วงนี้ แต่ยังมีจำนวนน้อย หลังจากนั้นอัตราตกจะเพิ่มขึ้น คาดว่าน่าจะสูงสุดในช่วง ทุ่ม ตี โดยอยู่ที่ราว 60-70 ดวงต่อชั่วโมง หากสังเกตในคืนก่อนหน้านั้น คือในคืนวันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม ช่วงเวลาเดียวกันอาจนับได้ราว 30-40 ดวงต่อชั่วโมง

ฝนดาวตกยีราฟ (Camelopardalids CAM)


วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม 2557 อาจเกิดฝนดาวตกที่มีอัตราตกสูงเป็นพิเศษ ต้นกำเนิดของฝนดาวตกนี้คือดาวหาง 209 พี/ลีเนียร์ (209P/LINEAR) ซึ่งเป็นดาวหางรายคาบ ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2547 มีคาบการโคจรประมาณ ปี ดาวหางลีเนียร์จะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ พฤษภาคม 2557 และใกล้โลกที่สุดในวันที่ 29 พฤษภาคม 2557 ห่างเพียง ล้านกิโลเมตร ซึ่งนับว่าใกล้พอสมควร แต่จากความสว่างที่วัดได้ในอดีต คาดว่าขณะใกล้โลกไม่น่าจะสว่างกว่าโชติมาตร 11 จึงไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า

ซีกโลกด้านที่หันเข้าหาจุดกระจายของฝนดาวตกยีราฟ ณ เวลาที่คาดว่าจะมีดาวตกมากที่สุด บริเวณที่เห็นดาวตกได้ต้องเป็นเวลากลางคืน นั่นคือพื้นที่ส่วนใหญ่ของอเมริกาเหนือ (เส้นสีแดงแบ่งซีกโลกด้านซ้ายมือที่มีดวงจันทร์อยู่บนฟ้า กับด้านขวามือที่ไม่มีดวงจันทร์อยู่บนฟ้า) (ภาพ Mikhail Maslov) 

แบบจำลองโดยนักดาราศาสตร์ที่เชี่ยวชาญการพยากรณ์ฝนดาวตกแสดงว่าปีนี้โลกจะผ่านธารสะเก็ดดาวของดาวหางลีเนียร์ ข้อมูลเบื้องต้นคาดว่าอาจมีอัตราตกเมื่อจุดกระจายอยู่เหนือศีรษะและท้องฟ้ามืดสนิทในระดับสูงเกิน 100 ดวงต่อชั่วโมง มีความเป็นไปได้ที่อาจสูงหลายร้อย หรืออาจถึงระดับพายุ (สูงกว่า 1,000 ดวงต่อชั่วโมง)

การคำนวณทางทฤษฎีพบว่าจุดกระจายของฝนดาวตกนี้อยู่ในพื้นที่ของกลุ่มดาวยีราฟ จุดนี้อยู่ห่างดาวเหนือ 11 องศา บริเวณบนพื้นโลกที่คาดว่าจะสังเกตได้ดีจึงอยู่ในละติจูดสูงของซีกโลกเหนือ เวลาที่คาดว่าโลกจะผ่านกลางธารสะเก็ดดาวตรงกับเวลาประมาณ 14 น. ตามเวลาประเทศไทย หากเกิดปรากฏการณ์ตามผลการพยากรณ์ บริเวณที่จะสังเกตได้ดีที่สุดคือพื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนือ เนื่องจากเป็นเวลากลางคืน และจุดกระจายอยู่สูงบนท้องฟ้า

ข้อมูลดังกล่าวนี้เป็นการคาดหมายทางทฤษฎี นักดาราศาสตร์ไม่ยืนยันว่าจะเกิดฝนดาวตกในวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 ได้จริง เนื่องจากยังไม่พบบันทึกปรากฏการณ์ในอดีตที่สามารถเชื่อมโยงมาถึงฝนดาวตกกลุ่มนี้ แตกต่างจากฝนดาวตกสิงโตที่มีบันทึกผลการสังเกตการณ์ให้สามารถนำมาเทียบได้

สำหรับประเทศไทย ช่วงที่คาดว่ามีดาวตกมากที่สุดเป็นเวลากลางวัน จึงไม่สามารถเห็นได้ เราไม่ทราบว่าช่วงเวลาที่เกิดฝนดาวตกจะยาวนานแค่ไหน (ในกรณีที่เกิดขึ้นจริง) หากเกิดต่อเนื่องนานหลายชั่วโมง หรือผลการคำนวณคลาดเคลื่อนหลายชั่วโมง ประเทศไทยก็อาจสังเกตได้ในคืนนั้นตั้งแต่หัวค่ำ แต่อัตราตกอาจต่ำมาก เนื่องจากจุดกระจายอยู่สูงเหนือขอบฟ้าไม่มาก สภาพท้องฟ้าที่ส่วนใหญ่มีเมฆมากในฤดูฝนก็อาจเป็นอุปสรรคอีกด้วย