สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวหางวีร์ทาเนน (46P/Wirtanen)

ดาวหางวีร์ทาเนน (46P/Wirtanen)

6 ธันวาคม 2561 โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด
      กลางเดือนธันวาคมนี้ ดาวหางวีร์ทาเนนมีกำหนดจะผ่านใกล้โลก ดาวหางดวงนี้เป็นดาวหางรายคาบที่เข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดทุก ๆ ปีครึ่ง การมาของดาวหางในปีนี้นับว่าน่าสนใจที่สุดในรอบหลายปีนับตั้งแต่ค้นพบ เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่ดาวหางจะมีความสว่างมากพอให้เห็นได้ด้วยตาเปล่าจากสถานที่ซึ่งท้องฟ้ามืดสนิท ไม่มีแสงไฟฟ้า แสงจันทร์ และเมฆหมอกรบกวน

      ดาวหางวีร์ทาเนนมีชื่ออย่างเป็นทางการในบัญชีดาวหางของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลว่า 46 พี/วีร์ทาเนน (46P/Wirtanen) ตัวอักษร หมายความว่าเป็นดาวหางรายคาบ คือมีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์น้อยกว่า 200 ปี ตัวเลขนำหน้าเป็นลำดับในบัญชีดาวหางรายคาบ คาร์ล เอ. วีร์ทาเนน นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน ค้นพบดาวหางดวงนี้ในภาพถ่ายที่ถ่ายไว้เมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1948 จากโครงการสำรวจท้องฟ้าของหอดูดาวลิกในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา 

      วงโคจรของดาวหางวีร์ทาเนนหรือ 46 พี เป็นวงรี ปัจจุบันจุดใกล้ดวงอาทิตย์อยู่ไกลกว่าวงโคจรของโลกออกเป็นเล็กน้อย ส่วนจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดอยู่เกือบถึงวงโคจรของดาวพฤหัสบดี ระนาบวงโคจรเอียงทำมุมเพียง 11 องศา กับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ดาวหางมีโอกาสผ่านใกล้โลก ดาวอังคาร และดาวพฤหัสบดี โดยวงโคจรมีการเปลี่ยนแปลงตามแรงโน้มถ่วงรบกวนจากวัตถุต่าง ๆ ในระบบสุริยะ ผลการสังเกตการณ์ที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์วัดได้ว่าดาวหางดวงนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.2 กิโลเมตร 

ดาวหางวีร์ทาเนนเมื่อวันที่ ธันวาคม 2561 ภาพถ่ายแสดงให้เห็นโคม่าสีเขียวและหางจาง ๆ (จาก Michael Jäger)

      วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม 2561 เวลาประมาณ ทุ่ม ตามเวลาประเทศไทย ดาวหางวีร์ทาเนนจะผ่านใกล้โลกที่สุดด้วยระยะห่าง 0.077 หน่วยดาราศาสตร์ หรือประมาณ 11.6 ล้านกิโลเมตร (1 หน่วยดาราศาสตร์คือระยะห่างเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์) เทียบได้กับระยะทางประมาณ 30 เท่าของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ขณะนั้นดาวหางอยู่สูงบนท้องฟ้าทิศตะวันออกในกลุ่มดาววัว คาดว่าท้องฟ้าฤดูหนาวของประเทศไทยอาจเป็นโอกาสเหมาะสำหรับการสังเกตดาวหางดวงนี้

      ช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ดาวหางวีร์ทาเนนมีความสว่างค่อนข้างต่ำ จำเป็นต้องใช้กล้องโทรทรรศน์หรือกล้องสองตาขนาดใหญ่ส่องดูจึงจะเห็นได้ โดยปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวเตาหลอม ดาวหางมีแนวโน้มสว่างขึ้น เนื่องจากกำลังเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น ความร้อนและการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์ทำให้น้ำแข็งบนดาวหางระเหิด พ่นฝุ่นและแก๊สออกไปรอบ ๆ กลายเป็นเป็นหัวและหางของดาวหาง

      หากดาวหางวีร์ทาเนนมีพัฒนาการไปในทิศทางใกล้เคียงกับที่พยากรณ์ไว้ คาดว่าดาวหางจะสว่างขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาอยู่ในกลุ่มดาวเตาหลอม ซึ่งเป็นกลุ่มดาวที่มีดาวสมาชิกไม่สว่าง อยู่ห่างไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกลุ่มดาวนายพราน (ดาวเต่าของไทย) จากนั้นเคลื่อนไปทางทิศเหนือ ผ่านพื้นที่ของกลุ่มดาวซีตัสและกลุ่มดาวแม่น้ำในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม จากนั้นเข้าสู่กลุ่มดาววัว โดยผ่านจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 12 ธันวาคม 2561

      ขณะที่ดาวหางใกล้โลกที่สุดในคืนวันที่ 16 ธันวาคม 2561 หรือ วัน หลังจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด เราสามารถระบุตำแหน่งของดาวหางวีร์ทาแนนได้ค่อนข้างง่าย เพราะดาวหางอยู่ใกล้กระจุกดาวลูกไก่ เป็นบริเวณซึ่งมีดาวสว่างปานกลางหลายดวงอยู่เป็นกระจุก จึงสังเกตเห็นได้ง่ายด้วยเปล่า ตำแหน่งของดาวหางอยู่ใกล้เคียงแนวเส้นที่ลากระหว่างกระจุกดาวลูกไก่ถึงดาวอัลเดบารันหรือตาวัว ซึ่งเป็นดาวฤกษ์สว่างที่สุดในกลุ่มดาววัว

      คาดว่าดาวหางวีร์ทาเนนอาจสว่างที่สุดด้วยโชติมาตรหรืออันดับความสว่างประมาณ หรือ (เป็นการคาดหมายจากข้อมูลในอดีต อาจสว่างน้อยกว่านี้ก็ได้) นักดาราศาสตร์บอกความสว่างของวัตถุท้องฟ้าเป็นตัวเลข โดยยิ่งมีค่าน้อยยิ่งสว่าง ดาวโชติมาตร เป็นดาวจางที่สุดที่คนสายตาปกติจะเห็นได้ด้วยตาเปล่าภายใต้ท้องฟ้ามืด ในทางทฤษฎี ดาวหางจึงสว่างพอจะเห็นได้ด้วยตาเปล่า

แผนที่แสดงตำแหน่งดาวหางวีร์ทาเนนในเดือนธันวาคม 2561 โดยลงตำแหน่งดาวหางที่เวลา 20:00 น. ของแต่ละวัน ขอบฟ้าแสดงที่เวลา ทุ่มของกลางเดือนธันวาคม ตรงกับเวลา ทุ่มของต้นเดือนธันวาคม และ ทุ่มของปลายเดือนธันวาคม 

      เวลาที่ได้ยินว่ามีวัตถุท้องฟ้าที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า หลายคนอาจจะนึกถึงสิ่งที่เมื่อมองไปบนท้องฟ้าแล้วสามารถเห็นได้เลย แต่ในหลายกรณีซึ่งรวมถึงกรณีนี้ มีข้อจำกัดและรายละเอียดที่เราต้องทำความเข้าใจเสียก่อน ซึ่งอาจจะทำให้ความหวังที่จะเห็นดาวหางดวงนี้ด้วยตาเปล่าในทางปฏิบัติอาจไม่ง่ายนัก

      การระบุความสว่างของดาวหางหมายถึงความสว่างโดยรวมทั้งหมดของดาวหาง ปัญหาอยู่ตรงที่ดาวหางมีลักษณะปรากฏที่ไม่เป็นจุดเหมือนดาว แต่มีการแผ่กระจายออกเป็นหัวดาวหางหรือโคม่า (coma) ซึ่งโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นทรงกลม และหางซึ่งยืดยาวออกไปในทิศทางตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และตรงข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่ ดาวหางแต่ละดวงก็มีลักษณะแตกต่างกัน บางดวงมีแค่หัว แทบมองไม่เห็นหาง บางดวงมีหางยาว แต่ไม่สว่าง จะเห็นหางได้ชัดเจนในภาพถ่ายเท่านั้น

      สำหรับกรณีของดาวหางวีร์ทาเนนซึ่งจะมาใกล้โลกที่สุดในกลางเดือนธันวาคมนี้ การที่ดาวหางอยู่ใกล้โลกทำให้ดาวหางมีความสว่างมากกว่าตอนอยู่ไกลก็จริง แต่ก็ทำให้หัวดาวหางแผ่กว้างออกเป็นดวงโต คาดว่าอาจมีขนาดปรากฏพอ ๆ กับดวงจันทร์เต็มดวง หรืออาจใหญ่กว่าได้เกือบ เท่า แปลว่าความสว่างของดาวหางจะถูกเกลี่ยจนทำให้มีความสว่างพื้นผิวต่ำ และหางจะไม่ยาวมาก การสังเกตดาวหางจากเมืองใหญ่ที่มีแสงและมลพิษรบกวนจึงไม่น่าจะเป็นไปได้ หรือเป็นไปได้ยากมาก ยกเว้นจะมีการปะทุความสว่างขึ้นอย่างผิดปกติ ซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้น การสังเกตดาวหางวีร์ทาเนนจะทำได้ดีจากสถานที่ห่างไกลจากตัวเมือง ยิ่งมืด ห่างไกลจากแสงรบกวนมากเท่าใดก็มีโอกาสเห็นมากขึ้นเท่านั้น