สมาคมดาราศาสตร์ไทย

จุดแดงยักษ์ของดาวพฤหัสบดีอาจเป็นต้นกำเนิดความร้อนในบรรยากาศ

จุดแดงยักษ์ของดาวพฤหัสบดีอาจเป็นต้นกำเนิดความร้อนในบรรยากาศ

2 ส.ค. 2559
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
นักวิทยาศาสตร์พบว่า จุดแดงยักษ์บนดาวพฤหัสบดีอาจเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานที่ทำให้อุณหภูมิบรรยากาศชั้นบนของดาวพฤหัสบดีสูงกว่าปกติ

สภาพภูมิอากาศของโลกมีความร้อนจากดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานหลักในการขับเคลื่อนกลไกต่าง ๆ ในชั้นบรรยากาศ ความร้อนของบรรยากาศโลกชั้นสูงเกิดจากพลังงานของแสงอาทิตย์เกือบทั้งหมด

ดาวพฤหัสบดี อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่าโลก เท่า ก็น่าจะมีอุณหภูมิบรรยากาศชั้นบนต่ำกว่าของโลกมาก แต่ในความเป็นจริงกลับพบว่าดาวพฤหัสบดีมีอุณหภูมิของบรรยากาศเฉลี่ยใกล้เคียงกับของโลก 

นี่เป็นไปได้อย่างไร นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าต้องมีแหล่งพลังงานอื่นนอกจากแสงอาทิตย์มาเกี่ยวข้อง

นักวิจัยคณะหนึ่งจากศูนย์ฟิสิกส์อวกาศของมหาวิทยาลัยบอสตัน นำโดย ดร. เจมส์ โอโดโนฮิว ได้พยายามค้นหาคำตอบนี้โดยสร้างแผนที่อุณหภูมิดาวพฤหัสบดีทั้งดวงในย่านความถี่อินฟราเรด เพื่อดูว่าอุณหภูมิในบรรยากาศมีการกระจายอย่างไร 

คณะนี้พบว่า บรรยากาศของดาวพฤหัสบดีมีการแผ่รังสีอินฟราเรดที่ระดับความสูงประมาณ 800 กิโลเมตร และสังเกตว่าที่บริเวณหนึ่งในชั้นนี้มีอุณหภูมิสูงกว่าที่คาดไว้มาก จุดดังกล่าวนั้นลอยอยู่เหนือจุดแดงใหญ่ของดาวพฤหัสบดีพอดี 

นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า คลื่นโน้มถ่วงและคลื่นเสียงจากพายุที่ปั่นป่วนในจุดแดงใหญ่แผ่ขึ้นไปยังบรรยากาศเบื้องบน คลื่นทั้งสองชนิดนี้บีบอัดกันที่ระดับความสูง 800 กิโลเมตรเหนือระดับพายุ ทำให้เกิดความร้อนขึ้น และเป็นสาเหตุของความร้อนที่สูงผิดปกติของบรรยากาศดาวพฤหัสบดี

อุณหภูมิที่สูงผิดปกติที่บรรยากาศระดับสูงมิได้เกิดเพียงที่ดาวพฤหัสบดีเท่านั้น ดาวเคราะห์แก๊สอื่นในระบบสุริยะ ได้แก่ ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ก็มีปรากฏการณ์เช่นนี้อยู่เหมือนกัน และเป็นไปได้ว่าอาจรวมไปถึงดาวเคราะห์ต่างระบบที่เป็นดาวเคราะห์แก๊สด้วยเช่นกัน

ก่อนหน้านี้เคยมีการสร้างแบบจำลองบรรยากาศของดาวเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์และพบว่ามีการถ่ายเทพลังงานจากเบื้องล่างขึ้นสู่บรรยากาศชั้นบนมาแล้ว การสำรวจครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ให้หลักฐานจากการสังเกตการณ์แก่แบบจำลองนั้น

คลื่นโน้มถ่วงและคลื่นเสียงจากพายุที่ปั่นป่วนในจุดแดงใหญ่แผ่ขึ้นไปยังบรรยากาศเบื้องบน <wbr>นักวิทยาศาสตร์คาดว่าคลื่นทั้งสองชนิดนี้ได้อัดกระแทกกันที่ระดับความสูง <wbr>800 <wbr>กิโลเมตรเหนือระดับพายุ <wbr>ทำให้เกิดความร้อนขึ้น <wbr>และเป็นสาเหตุของความร้อนที่สูงผิดปกติของบรรยากาศดาวพฤหัสบดี<br />
<br />

คลื่นโน้มถ่วงและคลื่นเสียงจากพายุที่ปั่นป่วนในจุดแดงใหญ่แผ่ขึ้นไปยังบรรยากาศเบื้องบน นักวิทยาศาสตร์คาดว่าคลื่นทั้งสองชนิดนี้ได้อัดกระแทกกันที่ระดับความสูง 800 กิโลเมตรเหนือระดับพายุ ทำให้เกิดความร้อนขึ้น และเป็นสาเหตุของความร้อนที่สูงผิดปกติของบรรยากาศดาวพฤหัสบดี

(จาก Karen Teramura, University of Hawaii at Manoa / James O’Donoghue, Boston University)

ที่มา: