สมาคมดาราศาสตร์ไทย

การหดตัวของจุดแดงใหญ่

การหดตัวของจุดแดงใหญ่

2 ม.ค. 2545
รายงานโดย: ปณัฐพงศ์ จันทรวัฒนาวณิช (panatpongc@yahoo.com)
แม้นักดาราศาสตร์ในศตวรรษที่ 19 จะไม่มีกล้องโทรทรรศน์ที่มีประสิทธิภาพดีเยี่ยมดังเช่นปัจจุบัน แต่มันเป็นเรื่องง่ายที่จะทำการสังเกตจุดแดงใหญ่ของดาวพฤหัสบดี (Great Red Spot, GRS) จากการศึกษาของ เอมมี ไซมอน-มิลเลอร์ (ศูนย์การบินอวกาศกอดดาร์ด นาซา) เปิดเผยว่า ขนาดของจุดแดงใหญ่ในวันนี้ลดลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของขนาดเมื่อทศวรรษที่ 1880 ไซมอน-มิลเลอร์และเพื่อนร่วมงานอีก คน ประกาศยืนยันการคนพบในครั้งนี้ต่อที่ประชุมนักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ (Planetary Scientists) ระหว่างการตรวจสอบและเปรียบเทียบข้อมูลในอดีตและข้อมูลที่ได้จากยานอวกาศวอยเอเจอร์ กาลิเลโอ และ แคสซีนี

นักดาราศาสตร์ทราบว่าจุดแดงใหญ่ของดาวพฤหัสบดีหดลงในแนวลองจิจูดตั้งแต่ทศวรรษที่ 1900 โดยในช่วงปลายของศตวรรษที่ 19 ขนาดของมันอยู่ที่ 35 องศา (40,000 กิโลเมตร) แต่ข้อมูลในปี พ.ศ. 2522 พบว่าขนาดของมันลดลงเหลือเพียง 21 องศา (25,000 กิโลเมตร) แต่การหดตัวของจุดแดงใหญ่นั้นเกิดขึ้นเพียงแนวเดียวเท่านั้น ขนาดของมันในแนวละติจูดยังคงที่เหมือนเดิม โดยมีขนาดประมาณ 12,000 กิโลเมตร

ด้วยอัตราการหดตัวในปัจจุบัน (0.19 องศา/ปี) ไซมอน-มิลเลอร์ คาดการณ์ว่าจุดแดงใหญ่ของดาวพฤหัสบดีจะมีรูปร่างเป็นวงกลมในปี พ.ศ. 2583 แต่มันจะไม่ปรากฏเป็นวงกลมโดยสมบูรณ์เนื่องจากวารุนแรงของพายุที่อยู่ทั้งทางเหนือและทางใต้ของจุดแดงใหญ่จะทำให้รูปร่างของมันกลายเป็นวงรีในที่สุด

ไม่มีใครทราบเหตุผลที่แท้จริงของการหดตัวในครั้งนี้ รวมถึงเหตุผลที่สีของจุดแดงใหญ่เลือนลง แต่ข้อมูลอย่างหนึ่งบอกกับเราว่าควาเร็วลมในปัจจุบันของมันนั้นสูงขึ้นกว่าในยุคของวอยเอเจอร์ถึง 70% (ประมาณ 700 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ข้อมูลทางประวัติศาสตร์เปิดเผยให้เราทราบว่า ขนาดของจุดแดงใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงโดยจะลดขนาดและขยายขนาดสลับกันในช่วงระยะเวลา ทศวรรษ ไซมอน-มิลเลอร์ กล่าวว่า "ฉันไม่แน่ใจว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะมีคาบเวลาหรือไม่ แต่ฉันไม่แปลกใจหากอัตราการหดตัวจะช้าลงละมีการย้อนกลับ สภาพอากาศบนดาวพฤหัสบดีมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นตลอดเวลา อะไรก็ตามที่เป็นสาเหตุของจุดแดงใหญ่มันก็จะเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน"

เหตุผลที่เป็นไปได้อย่างหนึ่งสำหรับปรากฏการณ์ดังกล่าวคือ การระเบิดของพายุในที่อยู่ลึกลงไปในดาวพฤหัสบดีพาพลังงานไประหว่างชั้นเมฆบนดาวเคราะห์ จึงทำให้เกิดการพองตัวของจุดแดงใหญ่ 

ลักษณะปรากฏของจุดแดงใหญ่ระหว่างปี พ.ศ. 2424 และปัจจุบัน

ลักษณะปรากฏของจุดแดงใหญ่ระหว่างปี พ.ศ. 2424 และปัจจุบัน

จุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดี

จุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดี

ที่มา: