สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ลูนาร์พรอสเปกเตอร์ พร้อมแล้ว

ลูนาร์พรอสเปกเตอร์ พร้อมแล้ว

24 พ.ค. 2540
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ยานอวกาศลูนาร์พรอสเปกเตอร์ได้สร้างเสร็จแล้ว พร้อมที่จะทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้าในเดือน กันยายน พ.ศ. 2540 นี้ ยานลูนาร์พรอสเปกเตอร์เป็นโครงการสำรวจดวงจันทร์ขององค์การนาซา สร้างโดยลอคฮีด มาร์ติน มูลค่าของโครงการนี้นับว่าถูกมากเพียง 63 ล้านเหรียญสหรัฐ 

ในระหว่างนี้กำลังอยู่ในช่วงของการตรวจสอบการทำงานของส่วนต่าง ๆ อยู่ หลังจากนั้นก็จะส่งไปที่ท่าอวกาศยานฟลอริดาในเดือนสิงหาคม และจะปล่อยจากฐานในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2540

การสำรวจดวงจันทร์นั้นเฟื่องฟูมากใน ทศวรรษที่แล้ว และหลังจากจบโครงการอะพอลโลแล้วก็แทบไม่มีการส่งยานไปสำรวจดวงจันทร์อีกเลย มีเพียงยานเคลเมนไทน์เท่านั้นที่ไปสำรวจดวงจันทร์เมื่อสามปีก่อน และนำข่าวดีเกี่ยวกับน้ำบนดวงจันทร์มาให้ชาวโลกตื่นเต้นกัน แต่อย่างไรก็ตามจนถึงปัจจุบันยังมีพื้นผิวอีกกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ของดวงจันทร์ที่ยังไม่ได้สำรวจอย่างละเอียด และยังมีหลายปริศนาบนดวงจันทร์อีกมากที่ยังรอคอยค้นหาคำตอบ 

ภายในระยะเวลา ปีของอายุการทำงานของลูนาร์พรอสเปกเตอร์นี้ ภารกิจที่สำคัญคือทำแผนที่ขององค์ประกอบ แรงโน้มถ่วง และ สนามแม่เหล็ก และตรวจจับหาปรากฏการณ์ที่อาจเกิดขึ้นบนดวงจันทร์ ซึ่งการสำรวจเหล่านี้จะทำให้เราเข้าใจถึงกำเนิดของดวงจันทร์ และนอกจากนี้ยังมีภารกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือค้นหาน้ำบนดวงจันทร์ ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการค้นพบหลักฐานบางอย่างที่บ่งบอกว่ามีน้ำอยู่จริงจากข้อมูลการสำรวจของยานเคลเมนไทน์ 

ลูนาร์พรอสเปกเตอร์เป็นยานขนาดเล็ก น้ำหนักพร้อมเชื้อเพลิง 300 กิโลกรัม ความยาว 1.3 เมตร และเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.22 เมตร มีแขนยาว 2.4 เมตรสามแขนยื่นออกไปนอกตัวยาน อุปกรณ์หลายชิ้นจะติดอยู่ที่ปลายแขนเพื่อหลีกเลี่ยงสัญญาณรบกวนจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ภายในตัวยาน เซลล์สุริยะอยู่ที่ด้านนอกสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้กว่า 200 วัตต์ 

แม้จะเป็นยานขนาดเล็กแต่ก็มีอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์มากมาย เช่น สเปกโทรมิเตอร์นิวตรอน สเปกโทรมิเตอร์อนุภาคแอลฟา 

สเปกโทรมิเตอร์นิวตรอน ซึ่งมีความไวสูงมาก สามารถตรวจสอบน้ำได้แม้จะมีน้ำอยู่เพียงหนึ่งถ้วยต่อดิน ลูกบาศก์เมตรก็ตาม 

สเปกโทรมิเตอร์รังสีแกมมาจะสามารถแยกแยะองค์ประกอบและความเข้มข้นของธาตุต่าง ๆ ของพื้นผิวของดวงจันทร์ ทำให้ทราบถึงพัฒนาการของเปลือกของดวงจันทร์ได้ 

การทดลองอนุภาคแอลฟาจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับชั้นของดาวและการพ่นก๊าซจากภูเขาไฟต่าง ๆ และจะหาตำแหน่งและความถี่ของการปลดปล่อยก๊าซเรดอนของดวงจันทร์ เครื่องวัดสนามแม่เหล็ก และเครื่องวัดการสะท้อนอิเล็กตรอนจะวัดสนามแม่เหล็กภายในดวงจันทร์ ซึ่งจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถหาที่มาของสนามแม่เหล็กได้ และอาจให้ข้อมูลเกี่ยวกับขนาดและองค์ประกอบของแกนของดวงจันทร์ด้วย 

การทดลองแรงโน้มถ่วงดอปเพลอร์จะเป็นการสร้างแผนที่แรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์ และความหนาแน่นของเปลือกดวงจันทร์รวมทั้งความหนาแน่นภายในดวงจันทร์ด้วย 

ช่วงระยะเวลา วันในการเดินทางจากโลกถึงดวงจันทร์นี้ ยานลูนาร์พรอสเปกเตอร์จะเหยียดแขนทั้งสามออกมา และตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ เมื่อไปถึงดวงจันทร์แล้วจะปรับเส้นทางเข้าสู่วงโคจรรอบดวงจันทร์เป็นวงกลมในแนวเหนือ-ใต้ ระยะเวลาในการโคจรรอบดวงจันทร์รอบหนึ่งประมาณ 118 นาที ตัวยานจะอยู่สูงจากพื้นดวงจันทร์ 99 กิโลเมตร และอาจจะลดลงต่ำเพียง 10 กิโลเมตรในบางพื้นที่ที่ต้องการเก็บรายละเอียดมาก ๆ 

หลังจากที่ได้ปฏิบัติภารกิจได้ ปีแล้ว เชื้อเพลิงบนยานลูนาร์พรอสเปกเตอร์จะหมดลงและจะค่อย ๆ ควงสว่านตกลงสู่พื้นผิวดวงจันทร์ 

ยานลูนาร์พรอสเปกเตอร์

ยานลูนาร์พรอสเปกเตอร์

ที่มา: