สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ฉางเอ๋อ 4 มุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์ พร้อมลงจอดด้านไกลช่วงปีใหม่

ฉางเอ๋อ 4 มุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์ พร้อมลงจอดด้านไกลช่วงปีใหม่

9 ธ.ค. 2561
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อวันที่ ธันวาคมที่ผ่านมา เวลา 02:23 น. ตามเวลามาตรฐานจีน จรวดลองมาร์ช บี ของจีนได้ทะยานขึ้นจากศูนย์ปล่อยจรวดซีฉ่าง สัมภาระที่จรวดลำนี้นำขึ้นไปคือยานฉางเอ๋อ ยานลำนี้จะไปปฏิบัติภารกิจที่ท้าทายอย่างมาก จนแม้แต่สหรัฐอเมริกาหรืออดีตสหภาพโซเวียตก็ยังไม่กล้าทำ นั่นคือการนำยานไปลงจอดที่ด้านไกลของดวงจันทร์

แม้ในอดีตจะมียานไปสำรวจดวงจันทร์ถึงพื้นผิวมาแล้วหลายลำ แต่ทุกลำล้วนแต่ลงจอดดวงจันทร์ที่ด้านใกล้ (ด้านที่หันเข้าหาโลก) ไม่เคยมีลำใดเลยที่ลงจอดด้านไกลที่ไม่เคยมีคนบนโลกเคยมองเห็น 

ด้านไกลของดวงจันทร์มีสภาพภูมิประเทศต่างจากด้านใกล้มาก ด้านใกล้ที่ทุกคนคุ้นเคยมีบริเวณที่เป็นที่ราบมาก การเลือกทำเลให้ยานลงจอดก็ทำได้ง่าย ส่วนด้านไกลแทบไม่ปรากฏที่ราบเลย พื้นที่ส่วนใหญ่เต็มไปด้วยภูเขาระเกะระกะ พรุนไปด้วยหลุมอุกกาบาต

พื้นผิวด้านไกลของดวงจันทร์ เต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาต แทบไม่ปรากฏที่ราบ (จาก NASA)

ยานฉางเอ๋อ ขณะอยู่บนดวงจันทร์ ถ่ายโดยรถอวี่ทู่ 

หลุมอุกกาบาตชื่อ ฟอนคาร์มัน ตำแหน่งที่คาดว่าจะเป็นจุดลงจอดของยานฉางเอ๋อ  

"การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของจีนในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมา เป็นการเดินตามรอยสิ่งที่สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตทำไว้ตั้งแต่สมัย 40-50 ปีก่อน แต่นี่เป็นครั้งแรกที่จีนจะทำในสิ่งที่ไม่มีใครเคยทำ" โจนาทาน แมคโดเวลล์ นักดาราศาสตร์จากศูนย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ฮาร์วาร์ด-สมิทโซเนียนกล่าว

ความยากลำบากของภารกิจนี้ นอกจากจะเป็นสถานที่ที่ไม่เอื้อต่อการลงจอดแล้ว ยังมีเรื่องของการติดต่อสื่อสารกับยาน เนื่องจากตำแหน่งที่ยานจอดมองไม่เห็นจากโลก การสื่อสารโดยตรงกับโลกจึงทำไม่ได้ ในการนี้จีนจึงได้ส่งดาวเทียม เชวี่ยเฉียว ขึ้นไปเมื่อเดือนพฤษภาคมปีนี้เพื่อทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณระหว่างโลกกับยานลงจอดที่ด้านไกล ตำแหน่งของเชวี่ยเฉียวอยู่ใกล้จุดลากรันจ์ แอล-2 ซึ่งอยู่ห่างจากดวงจันทร์ออกไป 60,000 กิโลเมตร

ตำแหน่งที่ยานจะลงจอดคือแอ่งเอทเกน ซึ่งเป็นแอ่งขนาดใหญ่ใกล้ขั้วใต้ของดวงจันทร์ แอ่งนี้มีความกว้างถึง 2,500 กิโลเมตร

ฉางเอ๋อ เป็นยานลำที่สองของจีนที่ลงจอดบนดวงจันทร์ ก่อนหน้านี้ในปี 2556 จีนได้ส่งยานฉางเอ๋อ ไปลงจอดบนดวงจันทร์และปล่อยรถสำรวจชื่อ อวี่ทู่ ออกไปด้วย 


เครือข่ายการสื่อสารของภารกิจฉางเอ๋อ   (จาก CAST ISSE)


ภารกิจของยานฉางเอ๋อ มียานลงจอดและรถสำรวจเช่นเดียวกับฉางเอ๋อ รูปร่างของยานทั้งสองชุดก็คล้ายกัน แต่ฉางเอ๋อ มีอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า ภารกิจที่ยานฉางเอ๋อ จะทำบนดวงจันทร์ เช่น การศึกษาด้านดาราศาสตร์วิทยุความถี่ต่ำ การตรวจสอบแร่และรังสี ศึกษาคลื่นไหวสะเทือน ศึกษารังสีคอสมิก นอกจากนี้ยังมีการทดลองทางชีววิทยาบนยานอีกด้วย ในยานลงจอดจะมีกล่องที่เรียกได้ว่าเป็น "ชีวาลัยจิ๋ว" ที่จะมีการทดลองฟักไข่ของหนอนไหมและปลูกเมล็ดพืชบางชนิดรวมถึงมันฝรั่งเพื่อศึกษาว่าพืชมีการเจริญเติบโตอย่างไรในสภาพความโน้มถ่วงของดวงจันทร์ 

การส่งยานลงไปสำรวจดวงจันทร์มีอุปสรรคที่ท้าทายเทคโนโลยีอย่างมาก เมื่อเป็นเวลากลางคืน ซึ่งยาวนานสองสัปดาห์ อุณหภูมิจะลดลงต่ำถึง -173 องศาเซลเซียส ส่วนเมื่อถึงเวลากลางวัน ซึ่งยาวนานสองสัปดาห์เช่นเดียวกัน อุณหภูมิก็จะพุ่งสูงได้ถึง 127 องศาเซลเซียส ดังนั้นอุปกรณ์บนยานจะต้องทนต่อสภาพความผันแปรอย่างสุดขั้วนี้ให้ได้ และยังจะต้องสร้างพลังงานเพื่อล่อเลี้ยงยานในช่วงที่เป็นกลางคืนอันยาวนานให้ได้อีกด้วย ภารกิจฉางเอ๋อ ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเทคโนโลยีจีนเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้ได้ ยานฉางเอ๋อ ทั้งยานลงจอดและรถมีแผงเซลสุริยะเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในช่วงกลางวัน ส่วนเวลากลางคืนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในยานจะยังคงอบอุ่นอยู่ได้โดยเครื่องให้ความร้อนด้วยพลูโตเนียม-238 ในยาน

รถสำรวจของฉางเอ๋อ ไม่ได้มีชื่อว่าอวี่ทู่ ขณะนี้ทางจีนกำลังจัดประกวดชื่อของรถลำนี้อยู่ คาดว่าชื่อเพราะ ๆ จะได้รับการเปิดเผยในเร็ว ๆ นี้

ในปีหน้าจีนจะส่งยานฉางเอ๋อ-5 ขึ้นไปสำรวจดวงจันทร์อีก ในภารกิจนี้จะมีการเก็บตัวอย่างดินบนดวงจันทร์และนำกลับโลกด้วย ฉางเอ๋อ เป็นบันไดขั้นหนึ่งที่จะพาจีนไปสู่เป้าหมายที่สูงยิ่งกว่า นั่นคือการส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ 

ขณะนี้ฉางเอ๋อ กำลังมุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์ตามเส้นทางที่กำหนดไว้ คาดว่ายานจะไปถึงดวงจันทร์ในวันที่ มกราคม 
ยานฉางเอ๋อ 4 บนดวงจันทร์ ภาพในจินตาการของศิลปิน

ยานฉางเอ๋อ 4 บนดวงจันทร์ ภาพในจินตาการของศิลปิน (จาก CASC)

ที่มา: