ในปลายปีหน้า จะมียานอวกาศรูปร่างคล้ายเครื่องบินขึ้นสู่ท้องฟ้า เข้าสู่วงโคจรรอบโลกก่อนที่จะเข้าเทียบและเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติ หลังจากเชื่อมต่อกับสถานีอยู่หลายสัปดาห์ ยานก็แยกตัวออกมา แล้วกลับสู่โลก โดยร่อนลงสู่รันเวย์แบบเครื่องบิน
เปล่าเลยนาซาไม่ได้ปลุกผีโครงการกระสวยอวกาศกลับมาใช้ใหม่ แต่นี่คือยานอวกาศของเอกชนชื่อ ดรีมเชสเซอร์
ดรีมเชสเซอร์เป็นยานอวกาศที่พัฒนาขึ้นโดยเซียร์ราเนวาดาคอร์ป ยานรุ่นนี้มีรูปร่างต่างจากยานขนสัมภาระจากองค์กรอื่นที่มักจะออกมาในรูปทรงกระบอกหรือทรงกรวย ยานดรีมเชสเซอร์มีรูปร่างคล้ายเครื่องบินหรือกระสวยอวกาศย่อส่วน ยานประเภทนี้จึงมีชื่อเรียกเฉพาะว่า เครื่องบินอวกาศ
นอกจากยานดรีมเชสเซอร์ที่มีรูปร่างเหมือนเครื่องบินแล้วเซียร์ราเนวาดาคอร์ปยังมีมอดูลสัมภาระเสริมเพิ่มความจุของระวางบรรทุกเพิ่มขึ้นไปอีก มอดูลเสริมมีชื่อว่า ชูตติงสตาร์ มีความยาว 4.6 เมตร จะถูกติดอยู่ที่ด้านท้ายของดรีมเชสเซอร์ ทำให้มีระวางบรรทุกรวมทั้งสิ้น 4,500 กิโลกรัม ทั้งปรับความดันและไม่ปรับความดัน
มอดูลชูตติงสตาร์เป็นมอดูลประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งต่างจากตัวดรีมเชสเซอร์ที่ใช้ซ้ำได้ ในการเดินทางขากลับมอดูลนี้จะถูกปลดออกจากดรีมเชสเซอร์ก่อนที่จะกลับเข้าสู่บรรยากาศโลก ปล่อยให้เผาไหม้ไปในบรรยากาศ
นอกจากจะใช้เป็นยานขนส่งระหว่างโลกกับสถานีอวกาศนานาชาติแล้วยังมีความเป็นไปได้ที่นาซาจะใช้ดรีมเชสเซอร์ในการขนส่งระหว่างโลกกับสถานีลูนาร์เกตเวย์ ซึ่งเป็นสถานีอวกาศในอนาคตที่จะโคจรรอบดวงจันทร์อีกด้วย
ยานดรีมเชสเซอร์เป็นยานเอนกประสงค์มากไม่เพียงแต่เป็นยานขนส่งสัมภาระเท่านั้น เมื่อยานดรีมเชสเซอร์มีการติดตั้งมอดูลยืดขยายได้เพิ่มเติม ก็อาจทำงานเป็นสถานีอวกาศเองก็ได้ โดยให้โคจรรอบโลกอย่างอิสระ หรือหากมีการติดตั้งแขนกลเพิ่มเติม ก็อาจใช้ซ่อมบำรุงดาวเทียม ยกระดับวงโคจรหรือดึงดาวเทียมลงจากวงโคจรได้
ปัจจุบันขบวนยานขนส่งสัมภาระไปยังสถานีอวกาศนานาชาติประกอบด้วยยานซิกนัสของนอร์ทร็อปกรัมแมน ยานดรากอนของสเปซเอกซ์ ยานโปรเกรสของรัสเซีย และยานเอชทีวีของญี่ปุ่น
เดิมทีเซียร์ราเนวาดาคอร์ปออกแบบยานดรีมเชสเซอร์มาเพื่อใช้สำหรับขนส่งมนุษย์ไปยังสถานีอวกาศแต่เซียร์ราเนวาดาคอร์ปแพ้ประมูลแก่สเปซเอกซ์และโบอิ้งในปี 2557 ต่อมาในปี 2559 นาซาได้เลือกดรีมเชสเซอร์ในการเป็นยานขนส่งสัมภาระในการคัดเลือกครั้งที่สอง ดรีมเชสเซอร์จึงมีโอกาสได้ขึ้นสู่อวกาศจนได้ แต่ทั้งนี้ต้องมีการดัดแปลงจากยานขนส่งมนุษย์ไปเป็นยานขนสัมภาระแทน
ดรีมเชสเซอร์จะถูกส่งขึ้นสู่อวกาศโดยจรวดวัลแคนเซนทอร์ของยูไนเต็ดลอนช์อัลลิอันซ์หรือแอตลาส 5
เมื่อกลับจากสถานีอวกาศดรีมเชสเซอร์จะร่อนลงบนรันเวย์ที่กระสวยอวกาศเคยใช้ในศูนย์การบินอวกาศเคเนดี อย่างไรก็ตาม ดรีมเชสเซอร์อาจร่อนลงบนรันเวย์ใด ๆ ก็ได้ที่รองรับเครื่องบินโบอิ้ง 737 ได้ การที่ดรีมเชสเซอร์ร่อนลงแบบเครื่องบิน จึงมีข้อได้เปรียบเหนือยานขนส่งแบบอื่น ที่สามารถนำส่งสิ่งของจากสถานีอวกาศมาถึงปลายทางบนพื้นโลกได้รวดเร็วกว่า
คาดว่าดรีมเชสเซอร์จะได้ปฏิบัติภารกิจขนส่งสัมภาระจริงครั้งแรกในราวปลายปี2564
เปล่าเลย
ดรีมเชสเซอร์
นอกจากยานดรีมเชสเซอร์ที่มีรูปร่างเหมือนเครื่องบินแล้ว
มอดูลชูตติงสตาร์เป็นมอดูลประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง
นอกจากจะใช้เป็นยานขนส่งระหว่างโลกกับสถานีอวกาศนานาชาติแล้ว
ยานดรีมเชสเซอร์เป็นยานเอนกประสงค์มาก
ปัจจุบันขบวนยานขนส่งสัมภาระไปยังสถานีอวกาศนานาชาติประกอบด้วย
เดิมทีเซียร์ราเนวาดาคอร์ปออกแบบยานดรีมเชสเซอร์มาเพื่อใช้สำหรับขนส่งมนุษย์ไปยังสถานีอวกาศ
ดรีมเชสเซอร์จะถูกส่งขึ้นสู่อวกาศโดยจรวดวัลแคนเซนทอร์ของยูไนเต็ดลอนช์อัลลิอันซ์
เมื่อกลับจากสถานีอวกาศ
คาดว่าดรีมเชสเซอร์จะได้ปฏิบัติภารกิจขนส่งสัมภาระจริงครั้งแรกในราวปลายปี