สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์น้อยดวงที่สอง

ดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์น้อยดวงที่สอง

1 พ.ค. 2542
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์น้อยดวงใหม่แล้ว เป็นดวงจันทร์ของดาวเคราะห์น้อยดวงที่สองที่มนุษย์เคยรู้จัก 

รายงานการค้นพบนี้ได้รับการตีพิมพ์ในจดหมายข่าวของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union Circular) ฉบับวันที่ 20 มีนาคม นักดาราศาสตร์กลุ่มหนึ่งซึ่งนำโดย วิลเลียม เมอร์ไลน์ จาก Southwest Research Institute ได้ค้นพบดวงจันทร์ที่เป็นบริวารของดาวเคราะห์น้อย 45 ยูจีเนีย (46 Eugenia) เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541 จากการเฝ้าติดตามดาวเคราะห์น้อยดวงนี้เป็นเวลานานกว่า 10 วัน โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ Canada-France-Hawaii (CFHT) บนยอดเขามานาเคอา ฮาวาย 

ดวงจันทร์ดวงใหม่ของระบบสุริยะนี้ ได้รับการตั้งชื่อว่า S/1998 (45) มีคาบการโคจรประมาณ 4.7 วัน และระนาบวงโคจรเอียงทำมุมประมาณ 45 องศากับแนวเล็ง แม้นักดาราศาสตร์จะไม่ได้ระบุขนาดของดวงจันทร์ดวงนี้ แต่จากความสว่างของดวงจันทร์ซึ่งจางกว่าดาวเคราะห์น้อยยูจีเนียประมาณ อันดับความสว่าง ยูจีเนียเองมีขนาดประมาณ 200 กิโลเมตร หากสมมติว่าดวงจันทร์มีคุณสมบัติทางแสงใกล้เคียงกับดาวเคราะห์น้อยดวงแม่ ก็จะประมาณขนาดของดวงจันทร์ใหม่นี้ได้ 10 กิโลเมตร 

ดวงจันทร์ของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้สังเกตได้ยากเนื่องจากโคจรมีวงโคจรที่เล็กมาก เมื่อมองจากโลก ดวงจันทร์จะอยู่ห่างจากดาวแม่ไม่เกิน 0.8 พิลิปดา (1 ใน 4500 ของ องศา) การผันแปรของบรรยากาศโลกจะทำให้เกิดการฟุ้งกระจายจนกลบจุดของดวงจันทร์ไปจนหมด แต่กล้อง CFHT สามารถมองเห็นได้เนื่องจากมีระบบแก้การรบกวนจากบรรยากาศที่ดีเยี่ยม ทำให้ได้ภาพที่คมชัดยิ่งขึ้น 

ดวงจันทร์ดวงใหม่นี้เป็นดวงจันทร์ที่เป็นบริวารดาวเคราะห์น้อยดวงที่สองในระบบสุริยะของเรา ที่เรารู้จัก ดวงจันทร์ดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่ถูกค้นพบคือ แด็กทีล บริวารขนาดจิ๋วของดาวเคราะห์น้อย 243 ไอดา (243 Ida) ซึ่งค้นพบโดยยานกาลิเลโอเมื่อปี พ.ศ. 2536 

ก่อนหน้านี้ได้เคยมีรายงานพบว่าดาวเคราะห์น้อยชื่อ พาลลัส (2 Pallas) ก็อาจมีดวงจันทร์เป็นบริวารเช่นกัน โดยเป็นการตีความจากสเปกตรัมที่ผันแปรของดาวเคราะห์น้อย แต่รายงานนี้ยังไม่ได้รับการยืนยันแต่อย่างใด 

ไอดากับแด็กทีล

ไอดากับแด็กทีล

ที่มา: