- ข่าว
- ท้องฟ้า
- กิจกรรม
- ห้องสมุด
- สมาคม
27 ก.ย. 55
ซาราห์ ไบรท์แมน นักร้องโอเปราชื่อดัง อาจได้เป็นนักท่องเที่ยวอวกาศที่จะไปเยือนสถานีอวกาศนานาชาติในภารกิจของยานโซยุตในอนาคตอันใกล้
27 ก.ย. 55
นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสตุตการ์ด พบว่ารูปสลักท้าวเวสสุวรรณอายุ 1,000 ปีรูปหนึ่งที่นำมาจากธิเบตตั้งแต่ยุคตามหาอารยันของเยอรมนีเป็นรูปที่แกะสลักบนชิ้นส่วนของอุกกาบาตชิงกาซึ่งตกลงสู่โลกเมื่อ 15,000 ปีก่อน
22 ก.ย. 55
ที่ประชุมของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลที่ปักกิ่ง
28 ส.ค. 55
นีล อาร์มสตรอง มนุษย์คนแรกที่เหยียบดวงจันทร์ เสียชีวิตแล้วเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2555 ด้วยวัย 82 ปีจากอาการเส้นเลือดอุดตัน
18 ส.ค. 55
เจฟฟ์ คุห์น จากมหาวิทยาลัยฮาวาย ได้วัดขนาดและสัดส่วนของดวงอาทิตย์อย่างละเอียดด้วยอุปกรณ์บนยานเอสดีโอ พบว่า ดวงอาทิตย์มีความกลมมาก (แป้นน้อยมาก) หากย่อขนาดของดวงอาทิตย์ให้เหลือขนาดเท่าลูกฟุตบอลโดยคงสัดส่วนไว้ เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวศูนย์สูตรจะมากกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้วเพียง 17 ไมครอนเท่านั้น นอกจากนี้ยังพบว่าความแป้นของดวงอาทิตย์ยังคงที่ตลอดไม่ขึ้นกับวัฏจักรสุริยะ
2 ส.ค. 55
นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียพบดาราจักรใหม่ ชื่อว่า บีเอกซ์ 422 (BX442) อยู่ห่างจากโลกถึง 10,700 ล้านปีแสง ด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลและกล้องเคก ที่น่าแปลกก็คือดาราจักรนี้เป็นดาราจักรชนิดก้นหอย ในขณะที่ดาราจักรที่อยู่ห่างจากโลกมากขนาดนั้นมักเป็นดาราจักรไร้รูปแบบ (irregular) มากกว่า การค้นพบนี้อาจทำให้นักดาราศาสตร์ต้องทบทวนเกี่ยวกับทฤษฎีการกำเนิดดาราจักรใหม่
4 ก.ค. 55
ยานวีนัสเอกซ์เพรสตรวจพบว่า ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองช้าลงจากเดิมที่เคยมีการวัดไว้เมื่อ 16 ปีก่อนด้วยกล้องบนโลกได้ 243.0185 วันโลก เป็น 243.023 วันโลก สาเหตุของการหมุนช้าลงยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด
4 ก.ค. 55
นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนะโงะยะในญี่ปุ่น พบว่า สสารมืดไม่เพียงแต่กระจายอยู่ตามดาราจักรเท่านั้น แต่มีอยู่ทั่วไปในที่ว่างระหว่างดาราจักรอีกด้วย
19 มิ.ย. 55
หลิว หยาง วัย 33 ปี ได้กลายเป็นนักบินอวกาศหญิงคนแรกของจีนที่ได้ขึ้นสู่อวกาศ เมื่อเดินทางไปกับภารกิจเสินโจว 9 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา
17 มิ.ย. 55
ภาพจากยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ยืนยันว่า ดวงจันทร์ของโลกกำลังหดตัวลงจริง ประมาณว่าในช่วงหนึ่งพันล้านปีที่ผ่านมา เส้นผ่านศูนย์กลางลดลงไป 200 เมตร ซึ่งถือว่าช้ามาก
22 พ.ค. 55
ภารกิจนีโอไวส์ (NEOWISE) ของดาวเทียมไวส์ของนาซา ได้ประเมินจำนวนของดาวเคราะห์น้อยอันตรายยิ่งหรือพีเอชเอ (PHA--Potentially Harzardous Asteroid) ว่าน่าจะมีอยู่ประมาณ 4,700 ดวง ซึ่งหมายความว่า จำนวนดาวเคราะห์น้อยประเภทนี้ที่ค้นพบแล้ว มีเพียงประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมดเท่านั้น
20 ธ.ค. 54
ดาวหางเลิฟจอย (C/2011 W3 (Lovejoy)) ได้เข้าเฉียดดวงอาทิตย์เมื่อวันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา ด้วยระยะห่างจากพื้นผิวดวงอาทิตย์เพียง 120,000 กิโลเมตร ดาวหางดวงนี้ค้นพบเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม นักดาราศาสตร์คาดการณ์ล่วงหน้าว่าดาวหางดวงนี้จะต้องพบจุดจบโดยการถูกดวงอาทิตย์เผาจนแหลกสลายขณะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ แต่จากการติดตามโดยหอสังเกตการณ์ลอยฟ้า 5 แห่งกลับพบว่าดาวหางเลิฟจอยรอดพ้นออกมาได้โดยยังคงสภาพดีอยู่
15 ธ.ค. 54
นักวิทยาศาสตร์จากออสเตรเลีย ได้สร้างแบบจำลองดาวอังคารคอมพิวเตอร์โดยอาศัยข้อมูลจากการสำรวจที่นานหลายทศวรรษ พบว่า พื้นที่หลายส่วนของดาวอังคารมีสภาพเหมาะที่จะมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้ แต่พื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่อยู่ลึกลงไปใต้ดิน
24 พ.ย. 54
หลังจากที่ตกเป็นประเด็นร้อนในรัฐสภาสหรัฐมาเป็นเวลาหลายเดือน เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา นายบารัค โอบามา ประธานาธิปดีสหรัฐอเมริกา ได้ลงนามใน พรบ.งบประมาณที่ทำให้โครงการกล้องโทรทรรศน์เจมส์เว็บบ์ได้รอดพ้นจากการถูกยกเลิกไปได้
27 ต.ค. 54
นักดาราศาสตร์พบซูเปอร์โนวาถึง 7 แห่งในดาราจักรอาร์ป 220 (Arp 220) นับเป็นดาราจักรที่มีซูเปอร์โนวาในเวลาเดียวกันมากที่สุดเท่าที่เคยพบ
11 ส.ค. 54
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ได้เกิดการลุกจ้าขึ้นดวงอาทิตย์ที่มีความรุนแรงระดับ เอกซ์ 6.9 ที่ระดับนี้รุนแรงพอที่จะสร้างความปั่นป่วนในบรรยากาศและก่อความเสียหายแก่ดาวเทียมได้
3 ส.ค. 54
กล้องโทรทรรศน์เฮอร์เชลตรวจพบโมเลกุลออกซิเจนที่บริเวณกำเนิดดาวฤกษ์ในกลุ่มดาวนายพราน เป็นการค้นพบโมเลกุลออกซิเจนในอวกาศเป็นครั้งแรก
1 ส.ค. 54
นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันฟิสิกส์ดาราศาสตร์ไลบิซได้ใช้ดาวเทียมไวส์ค้นพบดาวแคระน้ำตาลใหม่สองดวงที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาก ทั้งสองมีชื่อว่า ไวส์ เจ 0254+0223 (WISE J0254+0223) และ ไวส์ เจ 1741+2553 (WISE J1741+2553) อยู่ห่างจากโลก 18 และ 15 ปีแสงตามลำดับ มีอุณหภูมิพื้นผิวเพียง 230 องศาเซลเซียสเท่านั้น
1 ส.ค. 54
กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ อาจต้องเลื่อนกำหนดการปล่อยขึ้นสู่อวกาศจากเดิมกำหนดไว้ที่ปี 2557 ออกไปเป็นหลังปี 2561 หรืออาจถึงขั้นต้องยกเลิก เนื่องจากนาซาประสบปัญญาขาดแคลนเงินทุนอย่างหนัก