- ข่าว
- ท้องฟ้า
- กิจกรรม
- ห้องสมุด
- สมาคม
18 ก.ค. 54
ยานดอน (Dawn) ยานสำรวจดาวเคราะห์น้อยของนาซา เข้าโคจรรอบดาวเคราะห์น้อยเวสตาได้เป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมา นับเป็นยานดวงแรกที่โคจรรอบวัตถุในแถบดาวเคราะห์น้อยหลักได้เป็นผลสำเร็จ ยานจะโคจรและสำรวจดาวเคราะห์น้อยดวงนี้เป็นเวลาหนึ่งปีเต็ม ก่อนที่จะบ่ายหน้าไปสู่เป้าหมายดวงต่อไปนั่นคือ ซีรีส ซึ่งเป็นดาวเคราะห์แคระ
11 ก.ค. 54
นักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องเอเปกซ์ (APEX) ในชิลีตรวจพบไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์บริเวณใกล้ดาว โรคนแบกงู (Rho Ophiuchi) เป็นครั้งแรกที่มีการพบโมเลกุลของสารชนิดนี้ได้ในอวกาศ
7 เม.ย. 54
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2553 องค์การนาซาและอีซาประกาศว่า ดาวเทียมโซโฮได้ค้นพบดาวหางดวงที่ 2,000 แล้ว
7 เม.ย. 54
มีรายงานที่นำเสนอต่อที่ประชุมสมาคมดาราศาสตร์อเมริกันเมื่อวันที่
29 มี.ค. 54
นักดาราศาสตร์จากฝรั่งเศส ค้นพบดาวแคระน้ำตาลดวงหนึ่งอยู่ห่างออกไป 75 ปีแสง ชื่อว่า CFBDSIR 1458+10B เป็นดาวแคระน้ำตาลที่อุณหภูมิต่ำที่สุดเท่าที่เคยพบ มีอุณหภูมิพื้นผิวเพียงประมาณ 100 องศาเซลเซียสเท่านั้น
24 ก.พ. 54
กล้องสเตอริโอของนาซาตรวจพบสายของแก๊สที่ปลิวออกจากดาวพุธเป็นทางยาว ทำให้ดาวพุธดูคล้ายดาวหาง
24 ก.พ. 54
นักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ประเมินว่า ในดาราจักรทางช้างเผือกอาจมีดาวเคราะห์มากถึง 50,000 ล้านดวง และอาจมีถึง 500 ล้านดวงที่โคจรรอบดาวฤกษ์อยู่ในเขตเอื้ออาศัย
22 ก.พ. 54
นักดาราศาสตร์จากศูนย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ฮาร์เวิร์ด-สมิทโซเนียน ได้สำรวจดาวเคราะห์ จีเจ 1214 บี (GJ 1214b) ซึ่งค้นพบมาตั้งแต่ปี 2552 พบว่าดาวดวงนี้มีบรรยากาศที่เต็มไปด้วยไอน้ำ และพื้นผิวมีน้ำเป็นองค์ประกอบในสัดส่วนที่สูงกว่าโลกมาก ความหนาแน่นเฉลี่ยของดาวดวงนี้ต่ำเพียง 2 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตรเท่านั้น
4 ก.พ. 54
กล้องเคปเลอร์ ค้นพบดาวเคราะห์บริวารของดาวฤกษ์ดวงหนึ่งพร้อมกันถึง 6 ดวง ดาวดวงนี้ชื่อ เคปเลอร์-11 อยู่ห่างจากโลก 2,000 ปีแสง ระบบสุริยะของเคปเลอร์-11 นี้มีความบางที่สุดในบรรดาระบบสุริยะทั้งหมดที่นักดาราศาสตร์เคยพบ หมายความว่าระนาบวงโคจรของดาวเคราะห์ในระบบทำมุมกันน้อยที่สุด
2 ก.พ. 54
จากการใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลถ่ายภาพท้องฟ้าแบบห้วงลึกเป็นเวลานานถึง 41 วัน นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาราจักรที่อยู่ไกลที่สุดเท่าที่เคยพบมา ดาราจักรนี้อยู่ห่างจากโลก 13,200 ล้านปีแสง ซึ่งเป็นภาพที่มองย้อนหลังไปไกลถึง 96 เปอร์เซ็นต์ของเอกภพ หรือเป็นเวลาที่เอกภพมีอายุเพียง 480 ล้านปีเท่านั้น
1 ก.พ. 54
ข้อมูลด้านสเปกตรัมกล้องโทรทรรศน์อินฟราเรดสามกล้อง ทำให้นักดาราศาสตร์เชื่อว่า วัตถุที่พุ่งเข้าใส่ดาวพฤหัสบดีจนทำให้เกิดแสงวาบขึ้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2552 นั้นเป็นวัตถุแข็งประเภทดาวเคราะห์น้อย หรืออาจเป็นแกนของดาวหางที่หมดแก๊สแล้ว คาดว่ามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 200-500 เมตร ความหนาแน่น 2.5 กรัมต่อลูกบาศก์เซ็นติเมตร เป็นไปได้ว่าอาจเป็นดาวเคราะห์น้อย 2005 TS100
31 ม.ค. 54
นักดาราศาสตร์ใช้หอสังเกตการณ์อวกาศเฮอร์เชลสำรวจดาวคาร์บอนดวงหนึ่งชื่อ ซีดับเบิลยูสิงโต (CW Leonis) ในย่านรังสีอินฟราเรด พบว่าที่บรรยากาศของดาวฤกษ์มีโมเลกุลของไอน้ำที่มีอุณหภูมิสูงถึง 1,000 เคลวินอยู่ด้วย
31 ม.ค. 54
รายงานหนึ่งในวารสารดิแอสโทรฟิสิคัลเจอร์นัลที่เขียนโดยนักดาราศาสตร์จากนาซาสองคน อธิบายว่า สาเหตุหนึ่งที่ยังไม่มีใครพบดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ในกระจุกดาวทรงกลมเลย เนื่องจากภายในกระจุกดาวมีการรบกวนจากดาวฤกษ์ภายในกระจุกมาก ทำให้ไม่มีวงโคจรที่เสถียรสำหรับดาวเคราะห์ นอกจากนี้สภาพแวดล้อมของกระจุกดาวที่ขาดแคลนธาตุหนักซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างดาวเคราะห์ ก็ทำให้ดาวเคราะห์เกิดขึ้นได้ยากด้วย
28 ม.ค. 54
28 มกราคม 2554 เป็นวันครบรอบ 25 ปีของโศกนาฏกรรมแชลเลนเจอร์ กระสวยอวกาศแชลเชนเจอร์ได้ระเบิดขึ้นกลางอากาศหลังการปล่อยขึ้นสู่อวกาศเพียง 73 วินาที ทำให้นักบินอวกาศทั้ง 7 คน เสียชีวิต
27 ม.ค. 54
งานวิจัยใหม่บทหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน arXiv.org อ้างหลักฐานว่า พระชาวอิตาลีชื่อ โจวันนี บาติสตา ริกชีโอลี ค้นพบแรงโคริโอลิสก่อนที่ กุสตาฟ โคริโอลิส ค้นพบนานถึง 200 ปี
27 ม.ค. 54
วันที่ 24 มกราคม 2554 เป็นวันครบรอบ 25 ปีที่ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้เดินทางไปถึงดาวยูเรนัส ขณะนี้ยานอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 14,000 ล้านกิโลเมตร
26 ม.ค. 54
ดาวเทียมดับเบิลยูแมป ซึ่งเป็นดาวเทียมสำรวจรังสีพื้นหลังของเอกภพ ได้เสร็จสิ้นภารกิจที่ยาวนานถึง 9 ปีแล้ว ขณะนี้ยานได้ย้ายเข้าสู่วงโคจรพักรอบดวงอาทิตย์แทน
26 ม.ค. 54
พอล เดโมเรสต์ นักดาราศาสตร์จากหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุแห่งชาติ ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์กรีนแบงก์พบดาวนิวตรอนดวงหนึ่งที่มีมวลมากเป็น 2 เท่าของดวงอาทิตย์ ชื่อว่า พีเอสอาร์ เจ 1614-2230 (PSR J1614-2230) นับเป็นดาวนิวตรอนที่มีมวลมากที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ
26 ม.ค. 54
นักดาราศาสตร์ใช้กล้องจากหอดูดาวเอ็มดับเบิลยูเค็ก สำรวจพบหลุมดำคู่ที่อยู่ใกล้ชิดกันมากถึง 16 คู่ หลุมดำเหล่านี้แต่ละคู่อยู่ห่างกันเพียงไม่กี่พันปีแสงเท่านั้น