- ข่าว
- ท้องฟ้า
- กิจกรรม
- ห้องสมุด
- สมาคม
11 ก.พ. 57
เซท โชสเตก จากสถาบันเซติ คาดการณ์ว่า นักวิทยาศาสตร์จะพบสิ่งมีชีวิตต่างดาวที่มีสติปัญญาได้ก่อนพ้นปี 2583
17 ม.ค. 57
จอห์น
29 ต.ค. 56
กล้องซีไอเอสบนยานแคสซีนีตรวจพบโมเลกุลของโพลีโพรไพลีนในบรรยากาศชั้นล่างของไททัน บริวารดวงใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ เป็นครั้งแรกที่พบโมเลกุลของสารชนิดนี้ใบดวงจันทร์บริวารดาวเคราะห์ดวงอื่น
5 ต.ค. 56
สถานีโทรทรรศน์บีบีซีของสหราชอาณาจักร แถลงว่า รายการเดอะสกายแอตไนต์ ที่ดำเนินมานานถึง 56 ปีจะยุติการดำเนินรายการในสิ้นปีนี้ ข่าวนี้ตามมาด้วยความไม่พอใจและการรณรงค์จากแฟนรายการที่คาดว่ามีถึงหนึ่งล้านคนเพื่อให้คงรายการนี้ต่อไป
5 ต.ค. 56
นักดาราศาสตร์จากแคนาดาและฝรั่งเศส พบว่า ดาวเคราะห์น้อยขนาด 60 กิโลเมตรที่ชื่อ 2011 คิวเอฟ 99 (2011 QF99) เป็นดาวเคราะห์น้อยทรอยของดาวยูเรนัส นั่นหมายความว่าใช้วงโคจรร่วมกับดาวยูเรนัสมาได้หลายแสนปีแล้ว
5 ต.ค. 56
จานสายอากาศใบที่ 66 ซึ่งเป็นใบสุดท้ายในเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์วิทยุอัลมา ALMA) ได้ถูกลำเลียงไปสถานที่ก่อสร้างในทะเลทรายอาตากามาในประเทศชิลีแล้ว โครงการนี้เป็นโครงการร่วมระหว่างหอสังเกตการณ์วิทยุแห่งชาติสหรัฐฯ กับหอดูดาวยุโรปซีกโลกใต้ และเป็นโครงการทางดาราศาสตร์ภาคพื้นดินที่ใหญ่และแพงที่สุด
11 ส.ค. 56
เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2556 หอสังเกตการณ์เฮอร์เชลได้ย้ายตำแหน่งจากจุดแอล 2 ซึ่งเป็นจุดที่ทำการไปอยู่ที่ "สุสาน" ซึ่งเป็นจุดโคจรค้างฟ้าจุดหนึ่งในอวกาศ หลังจากที่ฮีเลียมเหลวบนหอสังเกตการณ์ได้หมดไป
19 ก.ค. 56
นักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลค้นพบบริวารดวงใหม่ของดาวเนปจูน ดวงจันทร์ดวงนี้มีชื่อชั่วคราวว่า S/2004 N1 เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 19 กิโลเมตร มีคาบโคจรประมาณ 23 วัน นับเป็นบริวารดวงที่ 14 ของดาวเคราะห์ยักษ์ดวงนี้
14 ก.ค. 56
นักดาราศาสตร์ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลสังเกตการเปลี่ยนแปลงสเปกตรัมของดาวเคราะห์ เอชดี 189733 บี (HD 189733b) ขณะผ่านหน้าและอ้อมหลังดาวฤกษ์แม่ พบว่าดาวเคราะห์ดวงนี้มีสีน้ำเงินจัด
26 มิ.ย. 56
ภารกิจเสินโจว 10 ของจีน ได้กลับสู่โลกพร้อมกับลูกเรือทั้งสามอย่างปลอดภัยเมื่อเช้าวันที่ 26 มิถุนายน ที่ผ่านมา หลังจากปฏิบัติภารกิจในอวกาศเป็นเวลา 15 วัน ซึ่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์อวกาศของชาติจีน
14 มิ.ย. 56
การทดลองหนึ่งโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ พบว่า พลาสติก แม้จะมีน้ำหนักเบา แต่สามารถสกัดรังสีคอสมิกได้ดีกว่าอะลูมินัมที่หนักกว่ามาก ทำให้พลาสติกอาจเป็นวัสดุสำคัญในส่วนประกอบของนักบินอวกาศในภารกิจที่ยาวนานในอนาคต
26 มี.ค. 56
ดาวเทียมกาเลกซ์ของนาซาพบว่า ดาราจักรเอ็นจีซี 6872 (NGC 6872) เป็นดาราจักรชนิดก้นหอยที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่รู้จัก มีความกว้างถึง 522,000 ปีแสง หรือใหญ่กว่าดาราจักรทางช้างเผือกที่เราอาศัยอยู่ถึง 5 เท่า!
30 ม.ค. 56
เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา อิหร่านประสบความสำเร็จในการส่งลิงขึ้นสู่อวกาศด้วยความสูง 120 กิโลเมตร และกลับลงสู่โลกอย่างปลอดภัย ทางการอิหร่านตั้งเป้าว่าจะส่งมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศให้ได้ก่อนปี 2563
16 ม.ค. 56
ความคืบหน้าเกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส ล่าสุดนักดาราศาสตร์ยืนยันแล้วว่าดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะไม่ชนโลกอย่างแน่นอนใน ทั้งในปี 2572 และ 2579
8 ม.ค. 56
นักดาราศาสตร์พบว่าดาว เอสเอโอ 206462 (SAO 206462) มีจานพอกพูนมวลที่มีรูปร่างคล้ายก้นหอย คาดว่าเกิดจากอันตรกิริยากับดาวเคราะห์บริวาร
28 ธ.ค. 55
นักดาราศาสตร์พบว่าดาวเทาซีตัส (Tau Ceti) มีดาวเคราะห์เป็นบริวารที่พบแล้วถึงห้าดวง และมีโอกาสที่จะมีดาวเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายโลกด้วย
25 ธ.ค. 55
นักดาราศาสตร์ค้นพบไมโครเควซาร์ดวงใหม่ ชื่อ เอกซ์เอ็มเอ็มยู เจ 004243.6+412519 (XMMU J004243.6+412519) อยู่ในดาราจักรแอนดรอเมดา นับเป็นไมโครเควซาร์ดวงแรกที่พบนอกดาราจักรทางช้างเผือก
28 พ.ย. 55
นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาการบังดาวฤกษ์ของมาเกะมาเกะ