- ข่าว
- ท้องฟ้า
- กิจกรรม
- ห้องสมุด
- สมาคม
5 ม.ค. 43
ระบบคอมพิวเตอร์ขององค์การนาซาประสบปัญหา Y2K ในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา แต่ก็เป็นปัญหาเล็กน้อยและสามารถแก้ไขได้โดยดี
5 ม.ค. 43
บิล คลินตัน ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ให้สัมภาษณ์กับรายการ 60 Minutes II ว่า สิ่งที่เขาสนใจมากที่สุดในชีวิตก็คือการได้เดินทางในอวกาศ
5 ต.ค. 42
นักธรณีวิทยาได้ค้นพบหลุมอุกกาบาตหลุมใหม่ในจังหวัดฟรีสเตทในแอฟริกา เป็นหลุมอุกกาบาตที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 250 ถึง 300 กิโลเมตร
1 ต.ค. 42
พิซซาฮัท เตรียมเปิดตลาดในอวกาศในต้นปีหน้า โดยจะจัดพิซซาชุดพิเศษสำหรับนักบินอวกาศชุดแรก ที่จะขึ้นไปอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ นอกจากนี้ ที่ผนังด้านนอกของจรวดโปรตอน ที่จะนำชิ้นส่วนของสถานีขึ้นไปประกอบในเดือนพฤศจิกายนนี้ ก็จะติดโลโกรุ่นใหม่ขนาดยักษ์ของพิซซาฮัทอีกด้วย
15 ก.ย. 42
แหลมคานาเวอรัลและศูนย์การบินอวกาศเคนเนดีรอดพ้นจากไต้ฝุ่นฟลอยด์ไปได้อย่างหวุดหวิด เพราะไต้ฝุ่นได้ผ่านค่อนไปทางตะวันออกประมาณ 165 กิโลเมตร มีรายงานความเสียหายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
1 ก.ย. 42
นักดาราศาสตร์ออสเตรเลียได้ค้นพบพัลซาร์ดวงใหม่ มีคาบการหมุนรอบตัวเอง 8.5 วินาที ซึ่งถือว่าช้ากว่าพัลซาร์ทั่ว ๆ ไปมาก เป็นที่น่าเชื่อว่าพัลซาร์นี้อาจเป็นพัลซาร์ที่เก่าแก่มาก ๆ
23 ส.ค. 42
ยานแคสซีนีได้ประสบความสำเร็จในการเฉียดเข้าใกล้โลกเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2542 ที่ผ่านมา ขณะนี้ยานกำลังมุ่งหน้าต่อไปยังดาวพฤหัสบดีเพื่อที่จะเก็บความเร็วอีกครั้งนึ่ง และจะถึงดาวเสาร์ปลายทางในวันที่ 1 กรกฎาคม 2547
22 ส.ค. 42
นักดาราศาสตร์ชาวยุโรปได้ค้นพบดาวแคระน้ำตาลดวงใหม่ชื่อว่า NTTDF J1205-0744 โดยบังเอิญจากภาพที่ถ่ายโดยกล้องเอ็นทีที (NTT) การค้นพบดาวแคระน้ำตาลในบริเวณที่ค่อนข้างว่างเปล่าในเอกภพอย่างนี้ อาจหมายความว่าดาวแคระน้ำตาลอาจมีอยู่มากกว่าที่เคยคาดกันไว้
22 ส.ค. 42
นักวิทยาศาสตร์จากนาซาได้รายงานเมื่อวันที่ 16 สิงหาคมที่ผ่านมาว่า ดาราจักร NGC 3516 อาจเป็นอีกดาราจักรหนึ่งที่มีหลุมดำขนาดยักษ์อยู่ที่ใจกลาง โดยพบหลักฐานจากการสำรวจการเลื่อนของเส้นดูดกลืนแสง (absorbsion line) ของเหล็ก และได้พบจานก่อตัวอยู่ที่แกนของดาราจักรด้วย
15 ส.ค. 42
จีนเปลี่ยนแผนการส่งนักบินอวกาศคนแรกของประเทศ จากเดิมที่ตั้งใจจะให้ออกสู่อวกาศในวันที่ 4 ตุลาคม ปีนี้ ไปเป็นหลังปี 2549
9 ส.ค. 42
สตีเฟน แฮกเกอร์ตี ได้รายงานการวิจัยลงในวารสาร Science ฉบับวันที่ 6 สิงหาคม ว่า คาร์บอนที่อยู่ในเพชรนั้น ไม่ได้มาจากอินทรีสารที่ถูกความร้อนของโลกกระทำตามที่เข้าใจกัน หากแต่เกิดมาจากซูเปอร์โนวาโดยตรง
6 ส.ค. 42
สถานีสังเกตการณ์รังสีเอกซ์จันทราได้ขึ้นสู่อวกาศแล้วเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม เวลา 11.31 น. ที่ผ่านมา โดยการปล่อยของยานขนส่งอวกาศโคลัมเบีย
2 ส.ค. 42
ลูนาร์พรอสเปกเตอร์พุ่งเข้าชนดวงจันทร์แล้วเมื่อเวลา 9.52 น. วันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมาตามเวลาสากล แต่ไม่มีใครสามารถมองเห็นพวยของเศษดินกระเด็นออกมาตามที่คาดเอาไว้ ส่วนผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากหอสังเกตการณ์ขนาดใหญ่ว่าจะมีน้ำหรือไม่นั้น จะต้องรอไปอีกหลายเดือน
26 ก.ค. 42
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา นีล อาร์มสตรอง บุซ อัลดริน และไมเคิล คอลลินส์ นักบินอวกาศจากยานอะพอลโล 11 ได้รับเหรียญ แลงลีย์ จากสถาบันสมิทโซเนียน ซึ่งเป็นเหรียญเชิดชูเกียรติสูงสุดของสถาบัน เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปีของการพิชิตดวงจันทร์
16 ก.ค. 42
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม เป็นวันครบรอบ 20 ปีที่สถานีอวกาศสกายแล็บของอเมริกาตกลงสู่พื้นโลก
16 ก.ค. 42
เอฮัด บารัก นายกรัฐมนตรีของอิสราเอล เรียกร้องต่อสหรัฐอเมริกาให้ส่งนักบินอวกาศชาวอิสราเอลขึ้นสู่อวกาศบ้าง ปัจจุบันมีนักบินอวกาศชาวอิสราเอลรับการฝึกฝนอยู่ที่อเมริกามานานแล้ว แต่ยังไม่เคยได้รับการส่งขึ้นปฏิบัติหน้าที่บนอวกาศเลย
24 มิ.ย. 42
โครงการสำรวจดาวอังคารมาร์สเซอร์เวเยอร์ 2001 แลนเดอร์ และโครงการสำรวจดาวหางเอสที 4 ของนาซาได้ถูกยกเลิกแล้วเนื่องจากถูกตัดงบประมาณ
23 มิ.ย. 42
เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2542 เป็นวันที่ 679 ที่ เซียร์เกย์ อัฟเดเยฟ นักบินอวกาศรัสเซียอยู่ในสถานีอวกาศมีร์ และกลายเป็นมนุษย์ที่ใช้ชีวิตอยู่ในอวกาศนานที่สุดในโลก ทำลายสถิติเดิม 678 วัน 16 ชั่วโมง 35 นาทีของ วาเลรี โปลยาคอฟ แต่สถิตินี้ไม่ใช่สถิติของการอาศัยในอวกาศที่ต่อเนื่องกัน ส่วนสถิติมนุษย์ที่อยู่ในอวกาศต่อเนื่องกัน เป็นเวลานานที่สุดในขณะนี้ยังเป็นของ โปลยาคอฟ คือ 438 วัน
17 มิ.ย. 42
ดีฟอเรสต์ เคลลีย์ หรือ ดร. ลีโอนาร์ด แมกคอย แห่งภาพยนตร์ "สตาร์เทร็ก" ได้เสียชีวิตแล้วเมื่อวันที่ 11 มิถุนายนที่ผ่านมาด้วยวัย 79 ปี
16 มิ.ย. 42
ดวงจันทร์บริวารสองดวงใหม่ของดาวยูเรนัสได้ชื่อแล้ว คือ คาลิแบน (Caliban) และ ซิคอแรกซ์ (Sycorax)