- ข่าว
- ท้องฟ้า
- กิจกรรม
- ห้องสมุด
- สมาคม
16 มิ.ย. 42
ลูนาร์-เอ (Lunar-A) ยานสำรวจดวงจันทร์สัญชาติญี่ปุ่น ถูกเลื่อนกำหนดการปล่อยยานออกไปอีกไม่ต่ำกว่า 3 ปี เนื่องจากหัวเจาะ (penetrator) ดวงจันทร์ของยานมีปัญหาถึงขั้นต้องมีการออกแบบและสร้างกันใหม่
9 มิ.ย. 42
แมกซิม ทาราเซนโก นักวิชาการทางประวัติศาสตร์ดาราศาสตร์หนุ่มชาวรัสเซีย เสียชีวิตแล้วจากอุบัติเหตุทางจราจรเมื่อเดือนที่แล้ว
9 มิ.ย. 42
สถิตินักบินอวกาศที่แก่ที่สุดของจอห์น เกลน อาจจะถูกทำลายลงโดย หยาง เจี๋ย ซี วิศวกรการบินอวกาศของจีน ซึ่งคาดว่าจะเดินทางไปกับยานอวกาศที่มีมนุษย์ลำแรกของจีนในราวปลายปีนี้
9 มิ.ย. 42
นักธรณีชีววิทยาจากคาลเทครายงานว่า เป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตระดับเซลล์เดียวในมหาสมุทรใต้พิภพของดวงจันทร์ยูโรปา แต่เป็นไปได้ยากมากที่จะมีสิ่งมีชีวิตระดับสูงกว่านั้น เนื่องจากพลังงานความร้อนบนดาวมีน้อยเกินกว่าที่จะให้สิ่งมีชีวิตพัฒนาเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ได้
1 มิ.ย. 42
ข่าวจากรอยเตอร์รายงานว่า จีนกำลังเตรียมแผนการส่งนักบินอวกาศขึ้นสู่อวกาศให้ทันก่อนถึงวันที่ 1 ตุลาคม ปีนี้ ซึ่งเป็นวันครบรอบ 50 ปีของการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน
1 มิ.ย. 42
23 พฤษภาคม วลาดีมีร์ โลบาเชฟ หัวหน้าฝ่ายควบคุมการปล่อยจรวด STS-96 ของรัสเซีย ซึ่งกำลังประจำการอยู่ในฟลอริดา ถูกจับกุมเนื่องจากไปทำร้ายเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในขณะที่มีอาการมึนเมา เขาถูกปล่อยตัวออกมาด้วยเงินประกัน 1,000 เหรียญและถูกส่งกลับประเทศรัสเซียในทันที ผลจากการตรวจสอบร่างกายของโลบาเชฟ พบว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์สูงกว่าระดับที่กฏหมายกำหนดถึงสามเท่า
15 พ.ค. 42
นักดาราศาสตร์ชาวออสเตรเลียได้ศึกษาดาวแคระน้ำตาลดวงหนึ่ง และพบว่าบนดาวแคระน้ำตาลมีการเปลี่ยนแปลงความสว่างในความยาวคลื่นของไทเทเนียมออกไซด์ ตรงตามทฤษฎีการเกิดเมฆในสภาพอุณหภูมิ 2000 องศาเซลเซียส ทำให้อาจเชื่อได้ว่า ดาวแคระน้ำตาลอาจมีเมฆและมีสภาพบรรยากาศเช่นเดียวกับดาวเคราะห์ก็ได้
15 พ.ค. 42
เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม เจ้าหน้าที่ของนาซาได้รายงานต่อรัฐสภาสหรัฐ ยืนยันว่าทุกโครงการของนาซายกเว้นโซโฮ (SOHO) ได้ผ่านการแก้ไขปัญหา Y2K เรียบร้อยแล้ว สำหรับยานโซโฮจะแก้ไขสำเร็จภายในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้
15 เม.ย. 42
มีรายงานจากนาซาว่า นับตั้งแต่กล้องฮับเบิลได้ปฏิบัติหน้าที่มา ได้ถูกฝุ่นอุกกาบาตพุ่งเข้าชนมาแล้วถึง 800 ครั้ง ลูกที่ใหญ่ที่สุดนั้นใหญ่ถึง 4.7 เซนติเมตร และอัตราการถูกพุ่งชนนี้ดูเหมือนจะสู่ขึ้นเรื่อย ๆ เสียด้วย
15 เม.ย. 42
นักบินอวกาศที่จะไปทำงานบนสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station) อาจมีอาการหูตึงได้ เนื่องจากได้มีการตรวจพบว่า ระดับเสียงในโมดูล Zarya (โมดูลแรกของสถานีนี้ที่ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ) สูงถึง 72.5 เดซิเบล ในขณะที่มาตรฐานกำหนดเอาไว้ที่ 50-55 เดซิเบลเท่านั้น
9 ม.ค. 42
มาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์กลับมาทำงานได้อีกครั้งเมื่อวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา หลังจากที่เกิดปัญหาขึ้นกับสายอากาศกำลังสูงเมื่อสองสัปดาห์ก่อน แม้ว่าวิศวกรยังไม่สามารถแก้ปัญหาอาการค้างของจานสายอากาศก็ตาม
23 ธ.ค. 41
ชิ้นส่วนชิ้นแรกของสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ได้ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศแล้ว โดยจรวดโปรตอนของรัสเซีย เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2541 ที่ผ่านมา
23 ธ.ค. 41
พอล
23 ต.ค. 41
องค์การนาซามีอายุครบ 40 ปีเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2541 ที่ผ่านมา
23 ก.ย. 41
องค์การนาซากำลังมีความคิดที่จะขายสิทธิในการแสดงสัญลักษณ์ของนาซาในสื่อต่าง ๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนการหารายได้แบบใหม่ขององค์การ ส่วนในขั้นต่อไปอาจจะอนุญาตให้ใช้กระสวยอวกาศและสถานีอวกาศในอุตสาหกรรมบันเทิงก็ได้
23 ก.ย. 41
จากการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมโดยยานลูนาร์พรอสเปกเตอร์ ดวงจันทร์อาจมีน้ำมากกว่าที่เคยคิดไว้ถึงสิบเท่า
23 ส.ค. 41
ยานยูลิสซีสได้ประสบความสำเร็จในการโคจรรอบดวงอาทิตย์รอบแรกแล้ว ขณะนี้ยานได้เดินทางมาแล้วถึง 3.8 พันล้านกิโลเมตร
23 ส.ค. 41
วันที่ 12 สิงหาคม 2541 จรวดขับดัน Titan 4A ของกองทัพอากาศสหรัฐได้ระเบิดขึ้นหลังจากที่ทะยานขึ้นฟ้าเพียง 42 วินาที ทิ้งเศษซากตกลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก ไม่มีรายงานความเสียหายและการได้รับบาดเจ็บ สิ่งที่จรวดนี้ได้พาขึ้นไปคือดาวเทียมทหารมูลค่ากว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ
23 ส.ค. 41
สถานีอวกาศนานาชาติซึ่งมีกำหนดปล่อยในปลายปีนี้ ได้ถูกเลื่อนออกไปแล้ว และอาจจะเลื่อนไปถึง 6 เดือน
16 ส.ค. 41
องค์การอวกาศแคนาดา (CSA) กำลังดำเนินโครงการสร้างกล้องโทรทรรศน์อวกาศ เป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่เล็กที่สุดในโลก มีน้ำหนัก (รวมตัวดาวเทียม) เพียง 50 กิโลกรัม โครงการนี้มีชื่อว่า Microvariability and Oscillations of Stars (MOST)