สมาคมดาราศาสตร์ไทย

โซโฮพบดาวหางรายคาบ

โซโฮพบดาวหางรายคาบ

12 ต.ค. 2550
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
หอดูดาวโซโฮได้ค้นพบดาวหางดวงใหม่ขึ้นอีกหนึ่งดวงเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา

การค้นพบดาวหางของหอดูดาวโซโฮไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะหอดูดาวลอยฟ้าแห่งนี้ค้นพบดาวหางมาแล้วมากมาย นับจนถึงล่าสุดได้ 1,350 ดวง บนเป็นหอดูดาวที่มีผลงานค้นพบดาวหางมากที่สุด 

แต่ดาวหางดวงที่เพิ่งพบใหม่นี้มีความพิเศษกว่าดวงอื่น เพราะว่าโซโฮเคยพบดาวหางดวงนี้มาก่อนหน้านี้แล้วถึงสองครั้ง นั่นหมายความว่าดาวหางดวงนี้เป็นดาวหางรายคาบ หรือเป็นดาวหางที่มีเส้นทางการเคลื่อนที่เป็นวง จึงมีโอกาสเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์หลายครั้ง 

นอกจากการมีการเคลื่อนที่เป็นวงแล้ว ดาวหางยังจะต้องมีคาบการโคจรสั้นกว่า 200 ปีด้วย จึงจะจัดเป็นดาวหางรายคาบได้ ในบรรดาดาวหางทั้งหมดที่รู้จักหลายพันดวง มีเพียงประมาณ 190 ดวงเท่านั้นที่เป็นดาวหางรายคาบ ตัวอย่างของดาวหางรายคาบที่รู้จักกันดีได้แก่ ดาวหางแฮลลีย์ ซึ่งมีคาบ 76 ปี 

ในบรรดาดาวหางที่โซโฮเคยค้นพบ มีหลายดวงที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นดาวหางประเภทนี้ แต่ดวงนี้เป็นดวงแรกที่มีหลักฐานพิสูจน์ได้ชัดเจน

ดาวหางดวงใหม่ของโซโฮนี้มีวงโคจรเล็กมาก มีคาบการโคจรเพียง ปี ครั้งแรกที่ถ่ายภาพนี้ได้คือในเดือนกันยายน 2542 และครั้งที่สองคือปี 2546 เดือนเดียวกัน 

ต่อมาในปี 2548 นักศึกษาปริญญาเอกชาวเยอรมัน เซบาสเตียน โฮนิก สังเกตพบว่าดาวหางที่พบในสองครั้งนั้นมีวงโคจรคล้ายกันมาก จึงสันนิษฐานว่าอาจเป็นดาวหางดวงเดียวกัน

เพื่อพิสูจน์ทฤษฎีนี้ เขาได้คำนวณการโคจรของดาวหางดวงนี้และคาดว่ามันจะกลับมาอีกครั้งในวันที่ 11 กันยายน 2550 และเมื่อถึงวันดังกล่าวดาวหางดวงนี้ก็กลับมาปรากฏอีกครั้งตรงตามการคำนวณของเซบาสเตียนอย่างแม่นยำ 

ดาวหางดวงนี้ได้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า พี/2007 อาร์ (โซโฮ) [P/2007 R5 (SOHO)]

อย่างไรก็ตาม ยังมีเรื่องน่าแปลกใจให้ขบคิดกันต่อไป จากภาพที่ถ่ายโดยกล้องแลสโก (LASCO--Large Angle and Spectrometric Coronagraph Experiment) ของโซโฮ ทุกคนที่ดูคงสงสัยแบบเดียวกันว่า แล้วหางอยู่ที่ไหน

ภาพดาวหางดวงนี้ไม่เพียงแต่มองไม่เห็นหางทั้งหางแก๊สและหางฝุ่น แม้แต่โคม่า ซึ่งเป็นส่วนฟุ้งรอบหัวก็ยังไม่มี ในตอนแรกนักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่ามันอาจเป็นดาวเคราะห์น้อย อย่างไรก็ตาม P/2007 R5 (SOHO) เป็นดาวหางจริง ๆ เพราะมีสมบัติหลายอย่างแบบดาวหาง ขณะที่เคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์เป็นระยะทาง 7.9 ล้านกิโลเมตร หรือประมาณ เปอร์เซ็นต์ของระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ วัตถุนี้สว่างขึ้นราวหนึ่งล้านเท่า นี่คือพฤติกรรมทั่วไปของดาวหาง

นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่า วัตถุนี้อาจเป็นแกนกลางหรือนิวเคลียสของดาวหางที่ได้เสียน้ำแข็งซึ่งเป็นวัตถุดิบสำหรับทำหางไปจนหมดหรือเกือบหมดแล้ว คาดว่าวัตถุประเภทนี้อาจมีอยู่ดาดดื่นในกลุ่มวัตถุที่โคจรใกล้ดวงอาทิตย์

ขณะนี้ดาวหาง P/2007 R5 (SOHO) ได้ลดความสว่างลงไปอย่างรวดเร็วเหมือนตอนขาขึ้น จนแม้แต่อุปกรณ์ของโซโฮก็ยังถ่ายภาพไม่ได้ คาดว่าดาวหางดวงนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 100-200 เมตร 

ดาวหาง P/2007 R5 (SOHO) ถ่ายโดยกล้องแลสโก (LASCO) ของหอดูดาวโซโฮ ดาวหางดวงนี้มีวงโคจรแคบ มีคาบเพียง 4 ปี (ภาพจาก ESA/NASA/SOHO)

ดาวหาง P/2007 R5 (SOHO) ถ่ายโดยกล้องแลสโก (LASCO) ของหอดูดาวโซโฮ ดาวหางดวงนี้มีวงโคจรแคบ มีคาบเพียง 4 ปี (ภาพจาก ESA/NASA/SOHO)

หอสังเกตการณ์โซโฮ

หอสังเกตการณ์โซโฮ

ที่มา: