สมาคมดาราศาสตร์ไทย

บริวารดาวเคราะห์น้อยดวงใหม่

บริวารดาวเคราะห์น้อยดวงใหม่

10 ส.ค. 2547
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นักสำรวจจากอเมริกาสี่คนได้สำรวจดาวเคราะห์น้อย 302 คลาริสซา ขณะบังดาวฤกษ์ชื่อ เอสเอโอ 118999 การสำรวจดาวเคราะห์น้อยบังดาวฤกษ์เป็นวิธีวัดขนาดของดาวเคราะห์น้อยที่ใช้กันทั่วไป หลักการคือ ถ้าแสงจากดาวฤกษ์ข้างหลังหายไปนาน ก็แสดงว่า ดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ ถ้าหายไปเป็นเวลาสั้น ก็แสดงว่าดาวเคราะห์น้อยดวงเล็ก เมื่อทราบเวลาที่บังกับวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยก็ทราบขนาดที่แท้จริงของดาวเคราะห์น้อยได้ ตามการคำนวณล่วงหน้า การบังของคลาริสซาควรทำให้แสงจากดาวฤกษ์จางลงไป 1.8 วินาที แต่จากการสำรวจของนักสำรวจทั้งสี่ พบว่าแสงดาวจางหายไปนานเกือบ วินาที ตามข้อมูลใหม่นี้ เดวิด ดันแฮม นายกสมาคมจับเวลาการบังดาวนานาชาติ คำนวณขนาดของคลาริสซาออกมาได้ 64 35 กิโลเมตร

แต่มีผลการสำรวจจากนักสำรวจอีกคนหนึ่งซึ่งจับเวลาการหรี่แสงของดาวได้เพียง 0.25 วินาที ซึ่งในเบื้องต้นตีความได้ว่าเป็นผลจากการบังของบริวารที่มีขนาดประมาณ 5-6 กิโลเมตร ที่อยู่นำหน้าคลาริสซาอยู่ 

แต่แฟรงก์ แอบเนต จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย นำเทปวิดีโอที่ถ่ายได้มาตรวจดูแล้วเชื่อว่าการหรี่แสงนั้นเกิดจากการกะพริบเนื่องจากบรรยากาศของโลกมากกว่าและพบข้อผิดพลาดในวิธีบันทึกภาพนี้ด้วย ในขณะที่ดันแฮมยังเชื่อว่าเกิดจากการบังของดวงจันทร์จริง ๆ หรืออาจเป็นเพราะคลาริสซาเป็นดาวเคราะห์น้อยคู่ และยังหวังลึก ๆ ว่าจะมีบันทึกอื่นที่ช่วยยืนยันสมมุติฐานนี้

ช่วงต้นปีที่ผ่านมาได้เคยมีเหตุการณ์ทำนองเดียวกันเกิดขึ้นมาแล้ว นั่นคือ ดาวเคราะห์น้อยสองดวงบังดาวฤกษ์และเผยหลักฐานบางอย่างที่อาจบ่งชี้ว่าดาวเคราะห์น้อยนั้นมีบริวารอยู่ด้วย แต่ทั้งสองกรณีก็ยังไม่มีข้อสรุปที่ลงตัว

แต่สำหรับกรณีของคลาริสซาอาจได้ข้อสรุปในเร็ว ๆ นี้เพราะนักดาราศาสตร์จากสถาบันวิจัยเซาท์เวสต์กำลังจะสำรวจดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ด้วยกล้องโทรทรรศน์วีแอลทีที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 8.2 เมตรแถมเพิ่มพลังด้วยระบบอะแดปทีฟออปติกที่เพิ่งติดตั้งซึ่งจะมีกำลังมากพอที่จะมองโฉมหน้าที่แท้จริงของคลาริสซาได้ว่ามีบริวารหรือเป็นดาวเคราะห์คู่หรือไม่

ดาวเคราะห์น้อยไอดา (ซ้าย) กับบริวารดวงจิ๋วชื่อ แด็กทีล (ขวา) (ภาพ Galileo Project / JPL / NASA)

ดาวเคราะห์น้อยไอดา (ซ้าย) กับบริวารดวงจิ๋วชื่อ แด็กทีล (ขวา) (ภาพ Galileo Project / JPL / NASA)

ที่มา: