สมาคมดาราศาสตร์ไทย

บริวารของคัลไลโอพี

บริวารของคัลไลโอพี

1 ต.ค. 2544
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อวันที่ กันยายนที่ผ่านมาหน่วยงาน CBAT ได้รับรายงานการค้นพบดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์น้อยดวงใหม่อีกดวงหนึ่งจากคณะสำรวจสองคณะพร้อม ๆ กันที่ทำงานใกล้ ๆ กัน 

คณะสำรวจทั้งสองคณะนี้ทำงานที่หอสังเกตการณ์บนยอดเขามานาเคอา เกาะฮาวายเหมือนกันทั้งคู่ คณะแรกมี จอง-ลุค มาร์กอต และไมเคิล บราวน์ จากสถาบันแคลิฟอร์เนียเป็นหัวหน้า เขาค้นพบเมื่อวันที่ 29 สิงหาคมจากการใช้กล้องโทรทรรศน์เคก II หลังจากนั้นอีกไม่กี่วัน นักดาราศาสตร์อีกทีมหนึ่งซึ่งมี วิลเลียม เมอร์ไลน์ จากสถาบันวิจัยเซาท์เวสต์เป็นหัวหน้าทีม ก็ค้นพบสิ่งเดียวกันโดยใช้กล้องโทรทรรศน์แคนาดา-ฝรั่งเศส-ฮาวาย ขนาด 3.6 เมตร 

ดวงจันทร์ดวงใหม่นี้เป็นบริวารของดาวเคราะห์น้อย คัลไลโอพี (Kalliope) มาร์กอต เมอร์ไลน์ และคณะได้สังเกตเห็นจุดดาวใกล้ ๆ คัลไลโอพีเมื่อวันที่ กันยายน หลังจากการถ่ายภาพเป็นเวลานานกว่า ชั่วโมง ภาพที่ได้ปรากฏดาวที่ฉากหลังทั้งหมดเป็นเส้น ส่วนดาวเคราะห์น้อยคัลไลโอพีกับวัตถุแปลกปลอมนั้นปรากฏเป็นจุด จึงแน่ใจได้ว่าวัตถุนั้นไม่ใช่ดาวฤกษ์แน่ และหลังจากตรวจสอบกับฐานข้อมูลของดาวเคราะห์น้อยทั้งหมดแล้วพบว่าไม่มีดาวเคราะห์น้อยดวงใดมีตำแหน่งตรงกับวัตถุดวงนี้เลย จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นบริวารของดาวเคราะห์น้อยคัลไลโอพี ไม่ใช่ดาวเคราะห์น้อยดวงอื่น 

มาร์กอตและบราวน์ได้ประเมินขนาดของบริวารดวงนี้ตามความสว่างว่ามีขนาดประมาณหนึ่งในห้าของคัลไลโอพี ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 186 กิโลเมตร และยังคำนวณวงโคจรได้ว่าโคจรอยู่ห่างจากคัลไลโอพีประมาณ 1,000 กิโลเมตร 

นักสำรวจทั้งสองคณะนี้ต่างก็เคยค้นพบบริวารดาวเคราะห์น้อยมาก่อนแล้วทั้งคู่ แต่ในครั้งนี้ CBAT จะถือว่าทั้งสองทีมเป็นผู้ค้นพบร่วมกัน ขณะนี้บริวารดวงใหม่นี้ได้ชื่อชั่วคราวแล้วเป็น S/2001 (22) 

ดาวเคราะห์น้อยคัลไลโอพีและบริวาร ถ่ายเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2544 โดยใช้กล้องแคนาดา-ฝรั่งเศส-ฮาวายและใช้ระบบอะแดปทีฟออปติก PUEO (ภาพโดย William Merline)

ดาวเคราะห์น้อยคัลไลโอพีและบริวาร ถ่ายเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2544 โดยใช้กล้องแคนาดา-ฝรั่งเศส-ฮาวายและใช้ระบบอะแดปทีฟออปติก PUEO (ภาพโดย William Merline)

อีกภาพหนึ่งของ Kalliope ถ่ายโดยกล้องเคก II

อีกภาพหนึ่งของ Kalliope ถ่ายโดยกล้องเคก II

ที่มา: