สมาคมดาราศาสตร์ไทย

แสงเหนือใต้ของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์

แสงเหนือใต้ของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์

25 ก.พ. 2541
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
แสงเหนือใต้ไม่ได้มีเฉพาะบนโลกเท่านั้น เมื่อไม่นานมานี้กล้อง STIS บนกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ได้ถ่ายภาพดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ โดยสามารถถ่ายติดภาพของแสงเหนือใต้ของดาวเคราะห์ทั้งสองนี้ด้วย กล้อง STIS นี้มีความไวสูงมากกว่ากล้องตัวก่อน ๆ ที่มีอยู่บนกล้องฮับเบิลถึง 10 เท่า ทำให้สามารถถ่ายภาพดาวเคราะห์ด้วยเวลาสั้น ๆ ได้ ซึ่งจะลดความพร่าไหวที่เกิดจากการหมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์เอง นั่นคือภาพที่ได้จะคมชัดขึ้น นอกจากนี้ภาพของ STIS ยังมีความละเอียดสูงกว่าเดิมประมาณ ถึง เท่า 

ภาพของแสงเหนือใต้แสดงเป็นวงรอบขั้วทั้งสองของดาวเคราะห์ ดูเหมือนกับมีมงกุฎครอบดาวอยู่ สำหรับแสงเหนือใต้ของดาวพฤหัสบดีพบว่ามีการสะท้อนแสงของกำมะถัน ที่ปลิวมาจากดวงจันทร์ไอโอซึ่งปะทุกำมะถันออกมาตลอดเวลา จนปะปนไปกับบรรยากาศชั้นแมกนิโตสเฟียร์ของดาวพฤหัสบดี 

แสงเหนือใต้ของดาวพฤหัสบดีมีลักษณะคล้ายคลึงกับที่เกิดบนโลก เกิดจากอนุภาคประจุไฟฟ้าที่ถูกกักไว้โดยสนามแม่เหล็กของดาวเคราะห์ เคลื่อนที่ควงสว่านเข้าสู่ขั้วแม่เหล็กทั้งเหนือและใต้ของดาวนั้น เมื่ออนุภาคเหล่านี้เข้าชนกับบรรยากาศชั้นสูง จะกระตุ้นให้อะตอมและโมเลกุลในบรรยากาศเปล่งแสงออกมา 

แต่ความแตกต่างของแสงเหนือใต้บนโลกกับบนดาวพฤหัสบดีคือ อนุภาคประจุไฟฟ้าที่ทำให้เกิดแสงเหนือใต้บนโลกนั้นมาจากลมสุริยะที่พัดมาจากดวงอาทิตย์ แต่อนุภาคประจุไฟฟ้าที่ทำให้เกิดแสงเหนือใต้บนดาวพฤหัสบดีนั้น มาจากการปะทุของภูเขาไฟที่อยู่บนดวงจันทร์ไอโอ หนึ่งในดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสบดี 



ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2540 สีของแสงเหนือใต้สร้างขึ้นจากการรวมภาพสองภาพที่ถ่ายในย่านความยาวคลื่นสองช่วงในย่านอัลตราไวโอเลต ความยาวคลื่นหนึ่งแสดงเป็นสีน้ำเงินและอีกความยาวคลื่นหนึ่งแสดงเป็นสีแดง โดยจอห์น คลาร์ก มหาวิทยาลัยแห่งมิชิแกน

ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2540 สีของแสงเหนือใต้สร้างขึ้นจากการรวมภาพสองภาพที่ถ่ายในย่านความยาวคลื่นสองช่วงในย่านอัลตราไวโอเลต ความยาวคลื่นหนึ่งแสดงเป็นสีน้ำเงินและอีกความยาวคลื่นหนึ่งแสดงเป็นสีแดง โดยจอห์น คลาร์ก มหาวิทยาลัยแห่งมิชิแกน

แสงเหนือใต้ของดาวเสาร์ โดยจอห์น ทราวเกอร์ จากเจพีแอล นาซา

แสงเหนือใต้ของดาวเสาร์ โดยจอห์น ทราวเกอร์ จากเจพีแอล นาซา

ที่มา: