สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(1 ก.ย. 47) ยานมาร์สโอดิสซีย์ ยานสำรวจดาวอังคารขององค์การนาซาได้เริ่มภารกิจภาคต่อเนื่องเมื่อวันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา หลังจากที่ปฏิบัติภารกิจมาจนลุล่วงตามแผนเดิมแล้ว ยานมาร์สโอดิสซีย์ได้เริ่มสำรวจดาวอังคารตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2545 มีอายุการทำงานตามที่กำหนดตอนต้น 23 เดือน หรือเท่ากับ 1 ปีของดาวอังคาร แต่เนื่องจากยานยังคงอยู่ในสภาพที่ใช้งานต่อไปได้ ทางนาซาจึง ...

แสงวาบรังสีแกมมาชนิดใหม่

(26 ส.ค. 47) แสงวาบรังสีแกมมา เป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ลึกลับชนิดหนึ่งในเอกภพ นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่าเกิดจากการระเบิดของดาวฤกษ์มวลสูงที่ตายแล้วคล้ายกับซูเปอร์โนวา แต่มีความรุนแรงมากกว่าหรือที่เรียกว่า ไฮเพอร์โนวา แสงวาบรังสีแกมมาเกิดขึ้นได้บ่อย และเกิดขึ้นในทุกทิศทาง นักดาราศาสตร์จึงเชื่อว่าตำแหน่งของแสงวาบอยู่ห่างจากโลกเรามากถึง ...

ฮับเบิลพิการ

(25 ส.ค. 47) เมื่อวันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นกับกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล เมื่อวงจรแปลงแรงดันในกล่องอิเล็กทรอนิกส์ของสเปกโทรกราฟตัวสำคัญชื่อ สตีส (STIS--Space Telescope Image Spectrograph) หลอมละลายไปทำให้อุปกรณ์นี้ ...

ดาวเสาร์หมุนช้าลง?

(18 ส.ค. 47) ยานแคสซีนี-ไฮเกนส์ ได้ไปถึงดาวเสาร์ซึ่งเป็นเป้าหมายมาตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ส่งภาพดาวเสาร์ระยะใกล้ที่สวยบาดใจกลับมายังโลกมากมาย รอคอยให้นักดาราศาสตร์นำไปค้นคว้าตีความกันต่อไป ...

บริวารดาวเคราะห์น้อยดวงใหม่

(10 ส.ค. 47) เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นักสำรวจจากอเมริกาสี่คนได้สำรวจดาวเคราะห์น้อย 302 คลาริสซา ขณะบังดาวฤกษ์ชื่อ เอสเอโอ 118999 การสำรวจดาวเคราะห์น้อยบังดาวฤกษ์เป็นวิธีวัดขนาดของดาวเคราะห์น้อยที่ใช้กันทั่วไป หลักการคือ ถ้าแสงจากดาวฤกษ์ข้างหลังหายไปนาน ก็แสดงว่า ดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ ถ้าหายไปเป็นเวลาสั้น ก็แสดงว่าดาวเคราะห์น้อยดวงเล็ก เมื่อทราบเวลาที่บังกับวงโคจรของดาวเคราะห์น้อย ...

ดาราศาสตร์ไขปริศนาวิ่งมาราทอน

(28 ก.ค. 47) ตลอดเดือนสิงหาคมนี้สายตาของคนทั่วโลกจะจับตาไปที่กรีซ เพราะเป็นสถานที่จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ซึ่งโอลิมปิกในครั้งนี้ดูจะพิเศษกว่าครั้งอื่น ๆ เพราะเป็นการจัดขึ้นที่ดินแดนต้นกำเนิดของกีฬาโอลิมปิก กีฬาที่จะโดดเด่นเป็นพิเศษของในครั้งนี้จะต้องรวมถึงกีฬาดั้งเดิมที่สุดอย่างวิ่งมาราทอนแน่นอน กีฬานี้กำเนิดมาจากการวิ่งของทหารกรีกนายหนึ่ง ชื่อเฟดิปพิดีส ซึ่งต้องวิ่งแจ้งข่าวว่ากองทัพกรีกรบชนะเปอร์เซียที่ทุ่งมาราทอนได้แล้วและเตือนภัยว่ากองเรือของเปอร์เชียกำลังตลบหลัง ...

ไขปัญหาคาบโคจรลึกลับของดาวพุธ

(28 ก.ค. 47) นักดาราศาสตร์ทราบมานานแล้วว่า ดาวพุธมีอัตราการหมุนรอบตัวเองพ้องกับอัตราการโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยอัตรา 3/2 หมายความว่าหมุนรอบตัวเอง 3 รอบเท่ากับเวลาที่ใช้โคจรรอบดวงอาทิตย์ 2 รอบ การมีคาบการหมุนพ้องกับคาบการโคจรเกิดขึ้นได้ง่ายในดาวเคราะห์ดวงใหญ่ แต่สำหรับดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กอย่างดาวพุธ การตรึงคาบให้พ้องกันเกิดขึ้นได้ยาก ความจริงแล้วพบว่าตาม ...

เกราะแม่เหล็กสองชั้นของโลก

(21 ก.ค. 47) ช่วงเวลา 400 ล้านปีที่ผ่านมา สนามแม่เหล็กโลกเคยสลับขั้วมาแล้วนับร้อยครั้ง และอ่อนกำลังลงราว 5 เปอร์เซ็นต์ต่อศตวรรษ การสลับขั้วได้ว่างเว้นมานานมากแล้ว ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อราว 73,000 ปีที่แล้วซึ่งนับเป็นการเว้นช่วงที่ยาวนานที่สุด บางทีอาจโลกอาจใกล้ถึงเวลาสลับขั้วอีกครั้งในเร็ว ๆ นี้ ...

ความพิสดารของดาวเหนือ

(13 ก.ค. 47) ดวงดาวบนฟากฟ้าล้วนหมุนเวียนไปในแต่ละวัน ขึ้นทางขอบฟ้าด้านตะวันออกและตกทางขอบฟ้าด้านตะวันตกตามการหมุนของวัน แต่มีดาวอยู่ดวงหนึ่งดูเหมือนไม่เคยขึ้นหรือตกเลยเพราะอยู่ที่ขั้วฟ้าเหนือ ไม่ว่าจะวันไหนเวลาไหนดาวเหนือก็อยู่ที่ตำแหน่งเดิมตลอด จนถือได้ว่าเป็นตัวแทนแห่งความคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง แม้ตำแหน่งจะดูไม่เคยเปลี่ยนแปลง แต่มีสิ่งหนึ่งในดาวเหนือที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สร้าง ...

โลกในฝันของคนรักดาวหาง

(8 ก.ค. 47) เมื่อไม่นานมานี้ นักดาราศาสตร์จากยุโรปได้สำรวจดาวดวงนี้ด้วยกล้องสกูบา ซึ่งเป็นกล้องถ่ายภาพในย่านความยาวคลื่นต่ำกว่ามิลลิเมตรที่ความไวสูงที่สุดในโลก สร้างขึ้นโดยหอดูดาวหลวงแห่งเอดินบะระ ภาพจากกล้องสกูบาพบว่า ...

ค้นหาดาวเคราะห์จากปรากฏการณ์ผ่านหน้าดาวฤกษ์

(30 มิ.ย. 47) ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา อาจยังติดตาตรึงใจหลาย ๆ คน เป็นปรากฏการณ์ที่ชวนให้มองย้อนอดีตไปสมัยที่เจมส์ คุก ออกเดินทางไกลสังเกตปรากฏการณ์นี้เพื่อค้นหาขนาดของระบบสุริยะ ปัจจุบัน แม้การผ่านหน้าดวงอาทิตย์ของดาวเคราะห์ไม่ว่าจะเป็นดาวพุธหรือดาวศุกร์จะเหลือความสำคัญเพียงด้านทางประวัติศาสตร์ แต่ปรากฏการณ์แบบเดียวกันนี้ กำลังจะเป็น ...

ช่วงต่ำสุดมอนเดอร์ของดาวดวงอื่น

(24 มิ.ย. 47) สำหรับคนทั่วไป ดวงอาทิตย์ที่เราเห็นอยู่ทุกวันก็คือดาวฤกษ์ที่กลมเกลี้ยงร้อนแรงเหมือนกันทุกวัน แต่สำหรับนักดาราศาสตร์ ดวงอาทิตย์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดวงอาทิตย์มีกัมมันตภาพ (activity) เช่น จุดมืด การลุกจ้า พายุสุริยะ เกิดขึ้นอยู่ทุกวัน และมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านความถี่ของการเกิด ...

ส่งหุ่นยนต์ไปซ่อมฮับเบิล

(16 มิ.ย. 47) จากอุบัติเหตุที่เกิดกับยานขนส่งอวกาศโคลัมเบียเมื่อต้นปีที่แล้ว ทำให้องค์การนาซายังไม่กล้าส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่กับยานขนส่งอวกาศในช่วงนี้และอีกหลายปีต่อจากนี้ ภาวะชะงักงันเช่นนี้ย่อมก่อผลเสียในการสำรวจอวกาศ หนึ่งในภารกิจสำคัญที่ยานขนส่งอวกาศเคยทำมาก็คือ การ ...

ซักฟอกกาลิเลโอ

(9 มิ.ย. 47) เมื่อราวสี่ร้อยปีก่อน กาลิเลโอ กาลิเลอี เกิดความสงสัยในความเชื่อบางอย่างของคนในยุคนั้น จึงได้ทำการทดลองอันลือลั่นด้วยการหย่อนสิ่งของหลายชิ้นลงมาจากหอเอนแห่งเมืองปีซา ผลคือ ของทุกชิ้นไม่ว่าจะหนักหรือเบาตกลงด้วยความเร็วเท่ากัน การค้นพบนี้ขัดแย้งกับความเชื่อในยุคนั้น และเป็นที่มาของหลักสมมูลย์ (Equivalence Principle) อันเป็นการเปิดประตูสู่ยุคใหม่ของวิทยาศาสตร์ และเป็นรากฐานของทฤษฎีต่าง ๆ ในปัจจุบัน แม้แต่ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่ว ...

การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่สุด

(2 มิ.ย. 47) นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า นับแต่ที่มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาเมื่อหลายล้านปีมาแล้ว โลกได้เคยประสบเหตุการณ์สูญพันธุ์ครั้งใหญ่มาแล้ว 5 ครั้ง เหตุการณ์เหล่านี้อาจเกิดจากภัยธรรมชาติหรือเหตุอื่น ๆ การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่รู้จักทั่วไปและยอมรับกันมากที่สุดก็คือ เหตุการณ์ชิกซูลุบ ซึ่งเกิดจากอุกกาบาตขนาดใหญ่พุ่งเข้าชนโลกที่บริเวณคาบสมุทรยูคาตัน ประเทศเม็กซิโกเมื่อ 65 ล้านปีก่อน เป็นผลทำให้ไดโนเสาร์เกือบทั้ง ...

บริวารดวงใหม่ของโลก

(26 พ.ค. 47) นักดาราศาสตร์จากโครงการวิจัยดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกลินคอร์นหรือลีเนียร์ ได้ค้นพบวัตถุที่มีวงโคจรใกล้โลกอีกดวงหนึ่งแล้ว ความน่าสนใจของวัตถุนี้ไม่ใช่เพราะกำลังจะชนหรือเฉี่ยวโลกแต่อย่างใด แต่เพราะมีวงโคจรที่สัมพันธ์กับโลกมากจนจัดเป็นประเภทวัตถุคล้าย ...

ซูเปอร์วอส์ป ต่อพันธุ์ใหม่ใช้หาดาวเคราะห์

(19 พ.ค. 47) การค้นหาดาวเคราะห์ในระบสุริยะอื่น ได้กลายมาเป็นการค้นหาที่ท้าทายที่สุดประเภทหนึ่งสำหรับนักดาราศาสตร์นับตั้งแต่มีการค้นพบดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นเป็นครั้งแรกเมื่อทศวรรษที่แล้ว กลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา ที่หอดูดาวลาปาลมาในหมู่เกาะคะเนรี ได้มีการเปิดใช้งานอุปกรณ์ใหม่สำหรับค้นหาดาวเคราะห์จากแดนไกลโดยเฉพาะ หากให้นึกภาพ ...

ดาวหางคะมิกะเซะ

(10 พ.ค. 47) การศึกษาดาวหางไม่ได้มีข้อจำกัดเพียงภายในระบบสุริยะของเราอีกต่อไป ขณะนี้นักดาราศาสตร์เริ่มขยายขอบเขตการศึกษาออกไปถึงดาวหางของดาวฤกษ์ดวงอื่นกันแล้วเมื่อไม่นานมานี้ นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเพนน์สเตตใช้กล้องโทรทรรศน์ฮอบบี-เอเบอร์ลีขนาด 9.2 เมตรของหอดูดาวแมกดอนัลด์ในเทกซัสเฝ้า ...

ดาราจักรจิ๋ว

(4 พ.ค. 47) เมื่อปีที่แล้ว นักดาราศาสตร์พบดาราจักรใหม่ 6 ดาราจักรในกระจุกดาราจักรเตาหลอม ดาราจักรทั้งหกนี้มีลักษณะเฉพาะตัว คือมีขนาดเล็กมาก จึงได้รับการจัดประเภทเป็นชนิดใหม่ เรียกกันว่าดาราจักรแคระแน่นยวดยิ่ง หรือยูซีดี (UCD--Ultra-Compact Dwarf) ...

พบดาวเคราะห์ดวงใหม่ด้วยแว่นขยาย

(26 เม.ย. 47) เครื่องมือของนักดาราศาสตร์ไม่ได้มีแค่กล้องโทรทรรศน์หรือกล้องดูดาวเท่านั้น บางครั้งก็มีแว่นขยายด้วย เมื่อเร็ว ๆ นี้นักดาราศาสตร์ใช้แว่นขยายค้นพบดาวเคราะห์ที่อยู่นอกระบบสุริยะของเราอยู่ไกลออกไปนับหมื่นปีแสง การค้นพบครั้งนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่างนักสำรวจสองคณะคือ คณะสำรวจไมโครเลนซิงทางดาราศาสตร์ (Moa-Microlensing Observations in Astrophysics) และคณะสำรวจเลนส์ความโน้มถ่วงเชิงแสง (Ogle-Optical Gravitational Lensing Experiment) ร่วมกับ ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น