สมาคมดาราศาสตร์ไทย

แพน-สตาร์สค้นพบดาวเคราะห์น้อยอันตราย

แพน-สตาร์สค้นพบดาวเคราะห์น้อยอันตราย

21 ต.ค. 2553
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อวันที่ 15 กันยายน กล้องแพน-สตาร์ส ของมหาวิทยาลัยฮาวายได้ค้นพบดาวเคราะห์น้อยอันตรายดวงใหม่ ซึ่งได้เฉียดโลกไปเมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมาด้วยระยะ ล้านกิโลเมตร
ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีชื่อว่า 2010 เอสที (2010 ST3มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 50 เมตร เป็นดาวเคราะห์น้อยประเภท วัตถุอันตรายยิ่ง (Potentially Hazardous Object--(PHO)) ดวงแรกที่ค้นพบโดยกล้องแพน-สตาร์ส 
การค้นพบนี้ได้แสดงถึงศักยภาพอันโดดเด่นของกล้องแพน-สตาร์สได้เป็นอย่างดี เนื่องจากค้นพบวัตถุได้ในระยะไกลมากถึง 32 ล้านกิโลเมตร ซึ่งในเวลานั้นไม่มีกล้องอื่นที่ตรวจจับวัตถุนี้ได้เลย 
แม้วัตถุนี้จะเฉียดผ่านโลกไปแล้ว แต่ยังมีโอกาสเข้ามาเฉียดโลกอีกในอนาคต โดยเฉพาะในปี 2641 ซึ่งจะเข้าใกล้โลกมาก
วัตถุอันตรายยิ่งส่วนใหญ่จะถูกค้นพบและบันทึกไว้ในรายชื่อแล้ว แต่นักดาราศาสตร์เชื่อว่ายังมีอีกหลายดวงที่มีขนาดอยู่ในระดับใกล้ กิโลเมตรที่ยังค้นไม่พบ วัตถุระดับนี้หากชนโลก จะก่อให้เกิดความพินาศในระดับเมืองได้เลยทีเดียว การชนระดับนี้คาดว่าเกิดขึ้นเฉลี่ยหนึ่งครั้งในหลายพันปี
วัตถุใหญ่ระดับ 2010 เอสที มักจะระเบิดกลางอากาศก่อนจะตกถึงพื้นโลก แต่แม้กระนั้นก็ยังก่อความเสียหายได้จากคลื่นกระแทกซึ่งทำลายพื้นที่กว้างหลายร้อยตารางกิโลเมตรได้ ดังนั้นแม้วัตถุดวงนี้มีโอกาสน้อยมากที่จะชนโลกในปี 2641 แต่ก็ถือว่าควรจับตามองอย่างยิ่ง
ผู้ออกแบบแพน-สตาร์สคาดหวังว่ากล้องนี้จะค้นพบดาวเคราะห์น้อยได้ปีละนับหมื่นดวงด้วยความแม่นยำในระดับที่เพียงพอในการคำนวณหาวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ได้  วัตถุใดก็ตามที่วัดขนาดได้และจะมีโอกาสเข้าใกล้โลกภายใน 50 ปีข้างหน้า จะจัดไว้อยู่ในพวกวัตถุอันตรายยิ่ง ซึ่งจะต้องถูกติดตามอย่างใกล้ชิด
แพน-สตาร์สมีอุปกรณ์น้องอีกตัวหนึ่ง ชื่อ แพน-สตาร์ส 4 ซึ่งจะพร้อมใช้งานได้ภายในทศวรรษนี้ คาดว่าอุปกรณ์นี้จะค้นหาดาวเคราะห์น้อยได้ถึงกว่าหนึ่งล้านดวง รวมถึงวัตถุที่อยู่ไกลออกไปเช่นดาวแปรแสง ซูเปอร์โนวา และการปะทุของดาราจักรอันไกลโพ้น
ภาพของ <wbr>2010 <wbr>เอสที <wbr>3 <wbr>(2010 <wbr>ST<sub>3</sub>) (วงสีเขียว) ถ่ายโดยแพนสตาร์ 1 สองภาพนี้ถ่ายห่างกันประมาณ 15 นาที เมื่อวันที่ 16 กันยายน ตำแหน่งที่เปลี่ยนไป แสดงถึงการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์น้อยอย่างชัดเจน  แต่ละภาพมีความกว้าง 100 พิลิปดา

ภาพของ 2010 เอสที (2010 ST3) (วงสีเขียว) ถ่ายโดยแพนสตาร์ 1 สองภาพนี้ถ่ายห่างกันประมาณ 15 นาที เมื่อวันที่ 16 กันยายน ตำแหน่งที่เปลี่ยนไป แสดงถึงการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์น้อยอย่างชัดเจน แต่ละภาพมีความกว้าง 100 พิลิปดา (จาก PS1SC)

กล้องแพนสตาร์ส-1

กล้องแพนสตาร์ส-1

ที่มา: