สมาคมดาราศาสตร์ไทย

อุปราคาในปี 2557

อุปราคาในปี 2557

2 มกราคม 2557
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 16 สิงหาคม 2560
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
พ.ศ. 2557 ประเทศไทยมีโอกาสเห็นจันทรุปราคาเต็มดวงได้ครั้งเดียวจากอุปราคาทั้งหมด ครั้ง ซึ่งประกอบด้วยสุริยุปราคาวงแหวน สุริยุปราคาบางส่วน และจันทรุปราคาเต็มดวงอีก ครั้ง เมื่อเกิดอุปราคาขึ้นครั้งใด อีกราว 6,585.32 วัน (18 ปี กับ 10 หรือ 11 วัน) ถัดไปหรือก่อนหน้านั้น จะมีโอกาสเกิดอุปราคาขึ้นด้วย เรียกคาบเวลานี้ว่าซารอส (saros) แบ่งได้เป็นชุด กำหนดลำดับชุดด้วยตัวเลข

จันทรุปราคาเต็มดวง 16 กันยายน 2540 (จาก กฤษดา โชคสินอนันต์/พรชัย อมรศรีจิรทร)

ระนาบวงโคจรของดวงจันทร์รอบโลกกับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์เอียงทำมุมกันราว 5° อุปราคาจะเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์และดวงอาทิตย์มีตำแหน่งอยู่ใกล้จุดตัดระหว่างระนาบทั้งสอง จุดที่ดวงจันทร์เคลื่อนจากใต้ระนาบวงโคจรโลกขึ้นมาเหนือระนาบเรียกว่าจุดโหนดขึ้น (ascending node) จุดที่อยู่ตรงกันข้ามเรียกว่าจุดโหนดลง (descending node) สุริยุปราคาในชุดซารอสที่เป็นเลขคู่จะเกิดที่จุดโหนดลง สุริยุปราคาในชุดซารอสที่เป็นเลขคี่จะเกิดที่จุดโหนดขึ้น ส่วนของจันทรุปราคาจะสลับกัน

    1. จันทรุปราคาเต็มดวง 15 เมษายน 2557
    2. สุริยุปราคาวงแหวน 29 เมษายน 2557
    3. จันทรุปราคาเต็มดวง ตุลาคม 2557
    4. สุริยุปราคาบางส่วน 24 ตุลาคม 2557


1. จันทรุปราคาเต็มดวง 15 เมษายน 2557

อุปราคาครั้งแรกของปีเป็นจันทรุปราคาเต็มดวง เกิดขึ้นในเวลากลางวันของวันอังคารที่ 15 เมษายน ตามเวลาประเทศไทย จันทร์เพ็ญอยู่ด้านกลางคืนของโลก เราจึงไม่สามารถสังเกตได้ พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้คืออเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ มหาสมุทรแอตแลนติก บางส่วนทางด้านตะวันตกของยุโรปและแอฟริกา ญี่ปุ่น ด้านตะวันออกของออสเตรเลีย และมหาสมุทรแปซิฟิก ดวงจันทร์ปรากฏอยู่ใกล้ดาวรวงข้าวในกลุ่มดาวหญิงสาว และจะเห็นดาวอังคารสุกสว่างอยู่ห่างดวงจันทร์ประมาณ 10°

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 15 เมษายน 2557
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 11:53:37
2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน 12:58:19
3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 14:06:46
4. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ 14:45:39
5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง 15:24:35
6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 16:33:03
7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 17:37:36

จันทรุปราคาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 56 ใน 74 ครั้ง ของซารอสที่ 122 ซึ่งดำเนินอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1022-2338 ประกอบด้วยจันทรุปราคาเงามัว 22 ครั้ง บางส่วน ครั้ง เต็มดวง 28 ครั้ง บางส่วน ครั้ง และเงามัว ครั้ง ตามลำดับ จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดของชุดซารอสนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1707 นาน ชั่วโมง 40.1 นาที



2. สุริยุปราคาวงแหวน 29 เมษายน 2557


สุริยุปราคาครั้งแรกของปีเกิดขึ้นในวันอังคารที่ 29 เมษายน 2557 ดวงจันทร์อยู่ห่างโลกจนมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ พื้นที่เล็ก ๆ ในทวีปแอนตาร์กติกามีโอกาสเห็นสุริยุปราคาวงแหวนที่ใกล้ขอบฟ้า ประเทศไทยไม่เห็นสุริยุปราคาในวันนี้

สุริยุปราคาเริ่มขึ้นเมื่อเงามัวแตะผิวโลกในเวลา 10:53 น. ตามเวลาประเทศไทย จากนั้นบางส่วนของเงาคราสวงแหวนจะสัมผัสผิวโลกในช่วงเวลาประมาณ 12:58-13:09 น. โดยแกนกลางของเงาดวงจันทร์จะลอยเหนือโลก โดยไม่สัมผัสกับผิวโลก

กึ่งกลางคราส (Greatest eclipse) ซึ่งเป็นเวลาที่ศูนย์กลางของเงาดวงจันทร์ผ่านใกล้ศูนย์กลางโลกมากที่สุด เกิดขึ้นเวลา 13:03:24 น. จังหวะนั้นเงาคราสวงแหวนแตะทวีปแอนตาร์กติกา เกิดสุริยุปราคาวงแหวนที่ขอบฟ้านานไม่เกิน 50 วินาที จากนั้นสุริยุปราคาครั้งนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อเงามัวของดวงจันทร์ออกจากผิวโลกในเวลา 15:14 น.

บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมพื้นที่ทางด้านทิศใต้ของมหาสมุทรอินเดีย บางส่วนของมหาสมุทรใต้ ซึ่งเป็นมหาสมุทรที่ล้อมรอบแอนตาร์กติกา ทั้งหมดของออสเตรเลีย และบางส่วนทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก สุริยุปราคาดำเนินอยู่ขณะดวงอาทิตย์ตกเมื่อสังเกตจากบริเวณด้านตะวันออกของออสเตรเลีย

สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาครั้งที่ 21 ใน 75 ครั้งของซารอสที่ 148 ซึ่งดำเนินอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1653-2987 ซารอสนี้ประกอบด้วยสุริยุปราคาบางส่วน 20 ครั้ง วงแหวน ครั้ง ผสม ครั้ง เต็มดวง 40 ครั้ง และบางส่วน 12 ครั้ง ตามลำดับ สุริยุปราคาวงแหวนครั้งที่นานที่สุดคือ 22 วินาที จะเกิดขึ้นในวันที่ พฤษภาคม ค.ศ. 2032 สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดคือ นาที 23 วินาที จะเกิดขึ้นในวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 2609


3. จันทรุปราคาเต็มดวง ตุลาคม 2557


จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่ ของปี เกิดขึ้นในช่วงหัวค่ำของวันพุธที่ ตุลาคม 2557 ซึ่งตรงกับวันออกพรรษา สามารถสังเกตได้ในประเทศไทย โดยจันทรุปราคาได้เริ่มขึ้นก่อนที่ดวงจันทร์จะขึ้นเหนือขอบฟ้า ดวงจันทร์เข้าสู่เงามัวเวลา 15:16 น. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วนเวลา 16:15 น. และเริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงเวลา 17:25 น. จากนั้นดวงจันทร์จะถูกเงาของโลกบังลึกที่สุดเวลา 17:55 น. ทั้ง ช่วงนี้ ประเทศไทยยังไม่สามารถสังเกตได้ เนื่องจากดวงจันทร์ยังอยู่ใต้ขอบฟ้า

กรุงเทพฯ ดวงจันทร์ขึ้นเวลา 18:00 น. ก่อนดวงอาทิตย์ตกไม่กี่นาที จันทรุปราคาเต็มดวงจึงดำเนินอยู่ขณะที่ดวงจันทร์ขึ้น จันทรุปราคาเต็มดวงจะสิ้นสุดลงในเวลา 18:24 น. ขณะนั้นที่กรุงเทพฯ ดวงจันทร์อยู่สูงเหนือขอบฟ้าทิศตะวันออกประมาณ 5° ท้องฟ้ายังมีแสงสนธยาอยู่ ดวงจันทร์กลับมาเต็มดวงในเวลา 19:34 น. และออกจากเงามัวเวลา 20:34 น.

พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้พร้อมประเทศไทยคือส่วนใหญ่ของทวีปเอเชีย ด้านตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย ออสเตรเลีย มหาสมุทรแปซิฟิก อเมริกาเหนือ ด้านตะวันตกของอเมริกาใต้ ด้านตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา ตุลาคม 2557
    1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 15:15:33
    2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน 16:14:47
    3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 17:25:08
    4. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ 17:54:35
    5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง 18:24:00
    6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 19:34:21
    7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 20:33:42

คืนนั้นดวงจันทร์อยู่ในกลุ่มดาวปลา ดาวยูเรนัสอยู่ใกล้ดวงจันทร์ โดยอยู่เฉียงไปทางขวามือด้านบนของดวงจันทร์ หากใช้กล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์ดูดวงจันทร์ หรือถ่ายภาพจันทรุปราคาในคืนนี้ ก็มีโอกาสจะเห็นดาวยูเรนัสด้วย ดวงจันทร์ผ่านทางเหนือของศูนย์กลางเงาโลก ช่วงที่ดวงจันทร์ขึ้น เราจึงเห็นขอบด้านทิศใต้ของดวงจันทร์ (ขวามือ) มืดคล้ำกว่าด้านตรงข้าม

จันทรุปราคาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 42 ใน 72 ครั้ง ของซารอสที่ 127 ซึ่งดำเนินอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1275-2555 ประกอบด้วยจันทรุปราคาเงามัว 11 ครั้ง บางส่วน 18 ครั้ง เต็มดวง 16 ครั้ง บางส่วน 20 ครั้ง และเงามัว ครั้ง ตามลำดับ จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดของชุดซารอสนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1888 นาน ชั่วโมง 41.8 นาที



4. สุริยุปราคาบางส่วน 24 ตุลาคม 2557


อุปราคาครั้งสุดท้ายของปีเป็นสุริยุปราคาบางส่วน เกิดขึ้นในวันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม 2557 ตามเวลาประเทศไทย แต่ประเทศไทยไม่เห็นสุริยุปราคาในวันนี้

สุริยุปราคาเริ่มขึ้นเมื่อเงามัวของดวงจันทร์แตะผิวโลกในเวลา 02:38 น. กึ่งกลางคราสเกิดขึ้นเวลา 04:45 น. จุดที่เห็นดวงอาทิตย์แหว่งลึกที่สุดอยู่ในทะเลทางตอนเหนือของแคนาดา โดยดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ร้อยละ 81 ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงอาทิตย์ จากนั้นสิ้นสุดสุริยุปราคาเมื่อเงามัวออกจากผิวโลกในเวลา 06:52 น.

บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วน ได้แก่ ตะวันออกเฉียงเหนือของรัสเซีย เกือบทั้งหมดของทวีปอเมริกาเหนือ (ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม ตามเวลาท้องถิ่น) และทางเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก

สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นครั้งที่ ใน 70 ครั้งของซารอสที่ 153 ซึ่งดำเนินอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1870-3114 ซารอสนี้ประกอบด้วยสุริยุปราคาบางส่วน 13 ครั้ง วงแหวน 49 ครั้ง และบางส่วน ครั้ง ตามลำดับ สุริยุปราคาวงแหวนครั้งที่นานที่สุดของชุดซารอสนี้คือ นาที 11 วินาที จะเกิดขึ้นในวันที่ กันยายน ค.ศ. 2537


พ.ศ. 2558

 สุริยุปราคาเต็มดวง 20 มีนาคม 2558 แนวคราสเต็มดวงพาดผ่านตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก และมหาสมุทรอาร์กติก โดยผ่านหมู่เกาะแฟโรของเดนมาร์กและหมู่เกาะสฟาลบาร์ของนอร์เวย์ บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วน ได้แก่ ทวีปยุโรป ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก ตอนเหนือของทวีปแอฟริกา และด้านตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปเอเชีย ประเทศไทยไม่เห็นสุริยุปราคาในวันนี้
 จันทรุปราคาเต็มดวง เมษายน 2558 เห็นได้ในประเทศไทย
 สุริยุปราคาบางส่วน 13 กันยายน 2558 เห็นได้ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา บางส่วนของแอนตาร์กติกา และตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย ประเทศไทยไม่เห็นสุริยุปราคาในวันนี้
 จันทรุปราคาเต็มดวง 28 กันยายน 2558 ไม่เห็นในประเทศไทย