สมาคมดาราศาสตร์ไทย

สุริยุปราคาและจันทรุปราคาในปี 2563

สุริยุปราคาและจันทรุปราคาในปี 2563

24 ธันวาคม 2562
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 1 มิถุนายน 2563
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด
      พ.ศ. 2563 มีสุริยุปราคาและจันทรุปราคาเกิดขึ้นรวม ครั้ง ประกอบด้วยสุริยุปราคา ครั้ง กับจันทรุปราคา ครั้ง ประเทศไทยมีโอกาสเห็นสุริยุปราคาบางส่วนในเดือนมิถุนายน ส่วนจันทรุปราคาทั้งหมดเป็นชนิดเงามัว ดวงจันทร์มีความสว่างลดลงเพียงเล็กน้อย แทบไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงหรือสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนดวงจันทร์ได้ยาก

1. จันทรุปราคาเงามัว 11 มกราคม 2563


     หลังเที่ยงคืนของคืนวันศุกร์ที่ 10 มกราคม เข้าสู่วันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2563 เกิดจันทรุปราคาเงามัว สามารถเห็นได้ในประเทศไทย ขณะที่ดวงจันทร์เข้าไปในเงามัวลึกที่สุดเวลา 02:10 น. พื้นที่ส่วนใหญ่ของผิวด้านสว่างของดวงจันทร์ถูกเงามัวบัง ทำให้จันทร์เพ็ญดูหมองคล้ำกว่าปกติเล็กน้อย โดยเฉพาะพื้นที่ทางด้านทิศใต้ของดวงจันทร์ บริเวณที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ ได้แก่ ยุโรป แอฟริกา เอเชีย และออสเตรเลีย


ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 11 มกราคม 2563
เหตุการณ์เวลา
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก00:07:43
2. ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด (ขนาดอุปราคา 0.8958)02:10:00
3. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก04:12:23


2. จันทรุปราคาเงามัว มิถุนายน 2563


     หลังเที่ยงคืนของคืนวันศุกร์ที่ มิถุนายน เข้าสู่วันเสาร์ที่ มิถุนายน 2563 เกิดจันทรุปราคาเงามัว เห็นได้ในประเทศไทย ขณะที่ดวงจันทร์เข้าไปในเงามัวลึกที่สุดเวลา 02:25 น. พื้นที่ราวครึ่งหนึ่งของดวงจันทร์ถูกเงามัวบัง ทำให้จันทร์เพ็ญดูหมองคล้ำกว่าปกติเล็กน้อย โดยเฉพาะทางด้านทิศใต้ของดวงจันทร์ แต่อาจสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงด้วยตาเปล่าได้ยาก บริเวณที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ ได้แก่ ยุโรป แอฟริกา เอเชีย และออสเตรเลีย


ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา มิถุนายน 2563
เหตุการณ์เวลา
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก00:45:50
2. ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด (ขนาดอุปราคา 0.5684)02:25:04
3. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก04:04:08


3. สุริยุปราคาวงแหวน 21 มิถุนายน 2563


     วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน 2563 เกิดสุริยุปราคาวงแหวน ดวงจันทร์อยู่ห่างโลกจนมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ บังดวงอาทิตย์ไม่มิด มีลักษณะปรากฏคล้ายวงแหวน เราเห็นสุริยุปราคาชนิดนี้ได้เมื่ออยู่ในแนวเส้นทางแคบ ๆ ตามศูนย์กลางเงาดวงจันทร์ที่ลากผ่านผิวโลก สุริยุปราคาครั้งนี้แนวคราสวงแหวนเริ่มต้นที่สาธารณรัฐคองโกในทวีปแอฟริกา ผ่านสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ซูดานใต้ เอธิโอเปีย เอริเทรีย จากนั้นลงสู่ทะเลแดง ผ่านตะวันออกกลาง เยเมน ซาอุดีอาระเบีย และโอมาน 

     แนวคราสวงแหวนเคลื่อนผ่านปากอ่าวโอมานซึ่งเชื่อมกับอ่าวเปอร์เซียและมหาสมุทรอินเดีย แล้วเข้าสู่ปากีสถาน  อินเดีย จีน และไต้หวัน แล้วไปสิ้นสุดในมหาสมุทรแปซิฟิก นอกชายฝั่งทางทิศใต้ของเกาะกวม จุดกลางคราสของสุริยุปราคาวงแหวนครั้งนี้อยู่ในรัฐอุตตราขัณฑ์ทางตอนเหนือของอินเดีย ที่นั่นเกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน 38 วินาที สำหรับที่จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของแนวคราสเกิดสุริยุปราคาวงแหวนนานประมาณ นาทีเศษ

     สุริยุปราคาครั้งนี้เงามัวของดวงจันทร์สัมผัสผิวโลกระหว่างเวลา 10:46 16:34 น. ตามเวลาประเทศไทย ศูนย์กลางเงาที่ทำให้เกิดคราสวงแหวนสัมผัสผิวโลกระหว่างเวลา 11:48 15:32 น. บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วน ได้แก่ ส่วนใหญ่ของแอฟริกา ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป เอเชีย ตอนเหนือของมหาสมุทรอินเดีย บางส่วนทางเหนือของออสเตรเลีย ด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก

     ประเทศไทยสามารถสังเกตสุริยุปราคาในวันนี้ได้โดยเห็นเป็นแบบบางส่วน คือ ดวงอาทิตย์แหว่งเนื่องจากถูกดวงจันทร์บังไปบางส่วน โดยต้องใช้แผ่นกรองแสงสำหรับดูดวงอาทิตย์ หรืออาศัยการฉายแสงอาทิตย์ลงบนฉากรับภาพ เส้นทางคราสวงแหวนอยู่ห่างไปทางทิศเหนือของประเทศไทย ภาคเหนือจึงเห็นดวงอาทิตย์แหว่งลึกมากกว่าภาคอื่น กรุงเทพฯ เกิดสุริยุปราคาบางส่วนระหว่างเวลา 13:11 – 16:10 น. โดยดวงอาทิตย์แหว่งลึกที่สุดเวลา 14:49 น. หากวัดตามแนวเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์จะบังดวงอาทิตย์ไปครึ่งดวง หรือคิดเป็นพื้นที่ 39.5% ของวงกลมดวงอาทิตย์


ขั้นตอนการเกิดสุริยุปราคา 21 มิถุนายน 2563
เหตุการณ์เวลาพิกัด
1. เงามัวเริ่มสัมผัสผิวโลก10:45:59.9ละติจูด  1° 02.1′ ลองจิจูด  34° 24.7′ E
2. ศูนย์กลางเงาคราสวงแหวนเริ่มสัมผัสผิวโลก11:48:27.4ละติจูด  1° 16.1′ ลองจิจูด  17° 48.0′ E
3. กึ่งกลางคราส (ขนาดอุปราคา 0.99401)13:40:05.4ละติจูด 30° 31.2′ ลองจิจูด  79° 40.0′ E
4. ศูนย์กลางเงาคราสวงแหวนออกจากผิวโลก15:31:41.7ละติจูด 11° 28.2′ ลองจิจูด 147° 35.3′ E
5. เงามัวออกจากผิวโลก16:34:03.8ละติจูด  9° 10.5′ ลองจิจูด 130° 58.0′ E


4. จันทรุปราคาเงามัว กรกฎาคม 2563

     วันอาทิตย์ที่ กรกฎาคม 2563 เกิดจันทรุปราคาเงามัว ไม่เห็นในประเทศไทย บริเวณที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ ได้แก่ อเมริกาเหนือและใต้ ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของยุโรป และแอฟริกา ดวงจันทร์มีความสว่างลดลงเพียงเล็กน้อย สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ยาก

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา กรกฎาคม 2563
เหตุการณ์เวลา
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก10:07:23
2. ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด (ขนาดอุปราคา 0.3544)11:30:01
3. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก15:52:24


5. จันทรุปราคาเงามัว 30 พฤศจิกายน 2563


     วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2563 เกิดจันทรุปราคาเงามัว ประเทศไทยเห็นได้ในช่วงท้ายขณะดวงจันทร์ขึ้น แต่ความสว่างของจันทร์เพ็ญลดลงเพียงเล็กน้อย สังเกตการเปลี่ยนแปลงได้ยาก บริเวณที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ ได้แก่ เอเชีย ออสเตรเลีย มหาสมุทรแปซิฟิก อเมริกาเหนือและใต้

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 30 พฤศจิกายน 2563
เหตุการณ์เวลา
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก14:32:22
2. ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด (ขนาดอุปราคา 0.8284)16:42:51
3. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก18:53:24


6. สุริยุปราคาเต็มดวง 14-15 ธันวาคม 2563


     วันจันทร์ที่ 14 ถึงอังคารที่ 15 ธันวาคม 2563 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์มีขนาดปรากฏใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ จึงบังดวงอาทิตย์ได้มิดทั้งดวง สังเกตสุริยุปราคาเต็มดวงได้เมื่ออยู่ในแนวเส้นทางแคบ ๆ ตามศูนย์กลางเงาดวงจันทร์ที่ลากผ่านผิวโลก สุริยุปราคาครั้งนี้แนวคราสเต็มดวงเริ่มต้นทางตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก จากนั้นมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นฝั่งที่ทวีปอเมริกาใต้ โดยผ่านชิลีและอาร์เจนตินา

     เงามืดลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก แล้ววกขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ สิ้นสุดในมหาสมุทร ห่างชายฝั่งนามิเบียในทวีปแอฟริกาไปทางทิศตะวันตก ที่จุดกลางคราสในอาร์เจนตินาเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงนาน นาที 10 วินาที สำหรับที่จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของแนวคราสเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงนานประมาณครึ่งนาที

     สุริยุปราคาครั้งนี้เงามัวของดวงจันทร์สัมผัสผิวโลกระหว่างเวลา 20:34 01:53 น. ตามเวลาประเทศไทย ศูนย์กลางเงามืดที่ทำให้เกิดคราสเต็มดวงสัมผัสผิวโลกระหว่างเวลา 21:33 00:54 น. บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วน ได้แก่ ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก บางส่วนของอเมริกาใต้ ตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก บางส่วนของแอฟริกา บางส่วนของแอนตาร์กติกา ประเทศไทยไม่เห็นสุริยุปราคาในวันนี้


ขั้นตอนการเกิดสุริยุปราคา 14-15 ธันวาคม 2563
เหตุการณ์เวลาพิกัด
1. เงามัวเริ่มสัมผัสผิวโลก20:33:53.9ละติจูด  2° 06.1′ ลองจิจูด 115° 39.1′ W
2. ศูนย์กลางเงามืดเริ่มสัมผัสผิวโลก21:32:50.0ละติจูด  7° 46.0′ ลองจิจูด 132° 50.3′ W
3. กึ่งกลางคราส (ขนาดอุปราคา 1.02536)23:13:29.1ละติจูด 40° 20.1′ ลองจิจูด  67° 57.4′ W
4. ศูนย์กลางเงามืดออกจากผิวโลก00:54:05.5ละติจูด 23° 36.8′ ลองจิจูด  11° 03.0′ E
5. เงามัวออกจากผิวโลก01:53:06.5ละติจูด 18° 01.3′ ลองจิจูด   6° 29.5′ W


ดูเพิ่ม


 สุริยุปราคา 21 มิถุนายน 2563