สมาคมดาราศาสตร์ไทย

สุริยุปราคาและจันทรุปราคาในปี 2567

สุริยุปราคาและจันทรุปราคาในปี 2567

25 ธันวาคม 2566 โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด
      พ.ศ. 2567 มีสุริยุปราคาและจันทรุปราคาเกิดขึ้นอย่างละ ครั้ง ทั้งหมดไม่สามารถสังเกตได้จากประเทศไทย

ปรากฏการณ์ลูกปัดเบลีขณะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 2017 ปีนี้สุริยุปราคาเต็มดวงจะปรากฏบนท้องฟ้าในหลายรัฐของสหรัฐอเมริกาอีกครั้ง (จาก NASA/Aubrey Gemignani)

1. จันทรุปราคาเงามัว 25 มีนาคม 2567


     วันที่ 25 มีนาคม 2567 เกิดจันทรุปราคาเงามัว บริเวณที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ ได้แก่ ทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ดวงจันทร์ผ่านเข้าไปในเงามัวเท่านั้นโดยไม่ผ่านเงามืด ทำให้ดวงจันทร์เต็มดวงมีความสว่างลดลงเพียงเล็กน้อย ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลกเวลา 11:53 น. บังลึกที่สุดเวลา 14:13 น. (ขนาดอุปราคาเงามัว 0.9575) และดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลกเวลา 16:33 น.

2. สุริยุปราคาเต็มดวง 8-9 เมษายน 2567


     วันที่ 8-9 เมษายน 2567 ตามเวลาประเทศไทย เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่ดวงจันทร์มีขนาดปรากฏใหญ่กว่าดวงอาทิตย์จนสามารถบดบังดวงอาทิตย์ได้มิดหมดทั้งดวง สังเกตเห็นได้ภายในแนวเส้นทางแคบ ๆ เริ่มในมหาสมุทรแปซิฟิก แล้วผ่านประเทศเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา แคนาดา และตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก

     จุดที่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนานที่สุดอยู่ในทะเล เกิดขึ้นเวลา 01:17 น. ของวันที่ เมษายน ตามเวลาไทย (ยังเป็นวันที่ เมษายน ตามเวลาท้องถิ่น) คราสเต็มดวงนาน นาที 28 วินาที ดวงจันทร์มีขนาดปรากฏใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ 1.3% และเงามืดบนผิวโลกมีความกว้างราว 197 กิโลเมตร หลายรัฐของสหรัฐอเมริกาอยู่ในแนวคราสเต็มดวง ได้แก่ เท็กซัส โอคลาโฮมา อาร์คันซอ อิลลินอย อินดีแอนา เคนทักกี โอไฮโอ เพนซิลเวเนีย นิวยอร์ก เวอร์มอนต์ นิวแฮมป์เชอร์ และเมน

     แนวคราสเต็มดวงเคลื่อนผ่านทะเลสาบอีรีและทะเลสาบออนแทรีโอ ซึ่งอยู่ในแนวพรมแดนระหว่างสหรัฐอเมริกากับแคนาดา และผ่านด้านตะวันออกของแคนาดา ได้แก่ พื้นที่บางส่วนของรัฐออนแทรีโอ ควิเบก นิวบรันสวิก ส่วนเล็ก ๆ ของโนวาสโกเชีย พรินซ์เอดเวิร์ดไอแลนด์ รวมถึงรัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ เมืองโทรอนโตและออตตาวาอยู่นอกเขตเงามืด จึงเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วนที่ดวงอาทิตย์เหลือเสี้ยวบาง ๆ แต่มอนทรีออลเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้นาน นาที

     บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก เกือบทั้งหมดของทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง ตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก รวมทั้งพื้นที่ส่วนน้อยทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรป

     วันที่เกิดสุริยุปราคาเป็นช่วงที่ดาวหาง 12พี/ปงส์-บรุกส์ (12P/Pons-Brooks) ผ่านใกล้ดวงอาทิตย์ ผู้ที่อยู่ในแนวสุริยุปราคาเต็มดวงมีโอกาสจะสังเกตดาวหางดวงนี้ได้ด้วยกล้องสองตา หรือถ่ายภาพสุริยุปราคาเต็มดวงโดยมีดาวหางอยู่ในภาพ (ดาวหางอยู่ห่างดวงอาทิตย์ 25°) คาดว่าอาจมีโชติมาตรประมาณ 4-5 อย่างไรก็ตาม หากอยู่ในแนวคราสเต็มดวง ไม่แนะนำให้มองหาดาวหาง เพราะการดูสุริยุปราคาเต็มดวงในเวลาที่จำกัด ย่อมสำคัญกว่าดาวหางที่ไม่ค่อยสว่างนัก ดาวหางดวงนี้เป็นดาวหางรายคาบที่เข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์เฉลี่ยทุกประมาณ 71 ปี การกลับมาในคราวนี้สังเกตได้ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากขณะสว่างที่สุด ดาวหางอยู่ห่างจากโลก และมีตำแหน่งปรากฏอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์

แผนที่แสดงบริเวณที่เงาของดวงจันทร์พาดผ่านบนผิวโลกขณะเกิดสุริยุปราคา (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด)

ขั้นตอนการเกิดสุริยุปราคา 8-9 เมษายน 2567
เหตุการณ์เวลาพิกัด
1. เงามัวเริ่มสัมผัสผิวโลก22:42:13.0ละติจูด 14° 57.7 S′ ลองจิจูด 143° 06.3′ W
2. ศูนย์กลางเงามืดเริ่มสัมผัสผิวโลก23:39:59.1ละติจูด 7° 49.3′ ลองจิจูด  158° 32.1′ W
3. กึ่งกลางคราส (ขนาดอุปราคา 1.05655)01:17:19.1ละติจูด 25° 17.4′ ลองจิจูด 104° 08.6′ W
4. ศูนย์กลางเงามืดออกจากผิวโลก02:54:27.7ละติจูด 47° 37.2′ ลองจิจูด 19° 47.3′ W
5. เงามัวออกจากผิวโลก03:52:20.1ละติจูด 40° 33.0′ ลองจิจูด 36° 06.3′ W


3. จันทรุปราคาบางส่วน 18 กันยายน 2567


     วันที่ 18 กันยายน 2567 เกิดจันทรุปราคาบางส่วน สังเกตได้ในทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป และแอฟริกา ขณะบังลึกที่สุด เงามืดของโลกบังดวงจันทร์ประมาณ 9% เมื่อวัดตามแนวเส้นผ่านศูนย์กลาง ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลกเวลา 07:41 น. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วนเวลา 09:13 น. เข้าไปในเงาลึกที่สุดเวลา 09:44 น. (ขนาดอุปราคาเงามืด 0.0868) สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วนเวลา 10:16 น. และดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลกเวลา 11:48 น.

4. สุริยุปราคาวงแหวน 2-3 ตุลาคม 2567


     วันที่ ตุลาคม 2567 เกิดสุริยุปราคาวงแหวน เป็นช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ห่างโลกจนมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ แนวคราสวงแหวนครั้งนี้ส่วนใหญ่อยู่ในมหาสมุทร แผ่นดินที่เห็นสุริยุปราคาวงแหวนคือตอนใต้ของประเทศเปรูและอาร์เจนตินาในทวีปอเมริกาใต้

     ที่กึ่งกลางคราสเกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที 25 วินาที เงาคราสวงแหวนกว้างราว 267 กิโลเมตร ดวงจันทร์มีเส้นผ่านศูนย์กลางปรากฏ 95.2% ของดวงอาทิตย์ แนวคราสวงแหวนผ่านเกาะอีสเตอร์ (ดินแดนปกครองของประเทศชิลี) เกิดสุริยุปราคาวงแหวนนานประมาณ นาที บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วน ได้แก่ ส่วนใหญ่ของมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ของทวีปอเมริกาใต้ บางส่วนของแอนตาร์กติกา รวมทั้งส่วนเล็ก ๆ ของเม็กซิโก

แผนที่แสดงบริเวณที่เงาของดวงจันทร์พาดผ่านบนผิวโลกขณะเกิดสุริยุปราคา (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด)

ขั้นตอนการเกิดสุริยุปราคา 2-3 ตุลาคม 2567
เหตุการณ์เวลาพิกัด
1. เงามัวเริ่มสัมผัสผิวโลก22:42:57.6ละติจูด 16° 02.5′ ลองจิจูด 147° 19.4′ W
2. ศูนย์กลางเงาคราสวงแหวนเริ่มสัมผัสผิวโลก23:53:38.4ละติจูด  8° 22.8′ ลองจิจูด 165° 32.9′ W
3. กึ่งกลางคราส (ขนาดอุปราคา 0.93260)01:45:02.8ละติจูด 21° 57.2′ ลองจิจูด 114° 30.8′ W
4. ศูนย์กลางเงาคราสวงแหวนออกจากผิวโลก03:36:13.1ละติจูด 49° 28.7′ ลองจิจูด  37° 05.1′ W
5. เงามัวออกจากผิวโลก04:46:59.3ละติจูด 41° 51.2′ ลองจิจูด  55° 52.2′ W


     หมายเหตุ: ผลการคำนวณเวลาเกิดจันทรุปราคาขั้นตอนต่าง ๆ ในที่นี้ ใช้วิธีซึ่งคำนึงถึงสัณฐานที่เป็นทรงกลมแป้นของโลก (เส้นผ่านศูนย์กลางในแนวเส้นศูนย์สูตรยาวกว่าในแนวขั้ว) อันส่งผลให้เงามีรูปร่างเป็นวงรีเล็กน้อย โดยอ้างอิงจากผลงานวิจัยที่ได้จากการวัดเวลาของการเกิดจันทรุปราคาหลายครั้งในอดีต เวลาที่คำนวณได้จึงต่างกันเล็กน้อยเมื่อเทียบกับผลการคำนวณที่ตีพิมพ์ใน Astronomical Almanac ซึ่งใช้วิธีดั้งเดิมโดยกำหนดให้เงาโลกเป็นวงกลม นอกจากนี้ยังมีพารามิเตอร์ที่ต่างกันในการชดเชยผลจากบรรยากาศโลก และการเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอนของคาบการหมุนของโลก ซึ่งส่งผลต่อการพยากรณ์เวลาของปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ทั้งหมด