สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวศุกร์กับกระจุกดาวลูกไก่

ดาวศุกร์กับกระจุกดาวลูกไก่

29 มีนาคม 2563 โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด
ต้นเดือนเมษายน 2563 จะมีการเข้าใกล้กันระหว่างวัตถุท้องฟ้าที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย นั่นคือการที่ดาวศุกร์เคลื่อนเข้าไปอยู่ท่ามกลางดาวฤกษ์ในกระจุกดาวลูกไก่ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทุก ๆ ปี

กระจุกดาวลูกไก่ หรือที่หลายคนอาจคุ้นเคยกับการเรียกแบบไทยว่าดาวลูกไก่ เป็นกระจุกดาวที่ประกอบด้วยดาวสว่างปานกลางหลายดวง เห็นได้ง่ายด้วยตาเปล่า เป็นกระจุกดาวที่รู้จักกันดีที่สุดบนท้องฟ้า อยู่ห่างโลกประมาณ 440 ปีแสง บางคนนับดาวในกระจุกได้ ดวง บางคนอาจเห็นถึง ดวง หรือมากกว่า โดยเฉพาะในคืนเดือนมืด หรือในสถานที่ซึ่งไม่มีมลพิษทางแสงรบกวนมากนัก

กระจุกดาวแบ่งได้ ชนิดใหญ่ ๆ คือ กระจุกดาวเปิดกับกระจุกดาวทรงกลม กระจุกดาวเปิด (open cluster) ประกอบด้วยดาวหลายดวงอยู่ใกล้กัน มีแรงโน้มถ่วงกระทำต่อกันอย่างหลวม ๆ ดาวเรียงกันโดยไม่มีรูปแบบที่แน่นอน กระจุกดาวทรงกลม (globular cluster) มีดาวจำนวนมากอยู่รวมกันโดยมีลักษณะเป็นทรงกลม มองเผิน ๆ อาจคิดว่าเป็นดาวดวงเดียว แต่เมื่อสังเกตด้วยกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ จะสามารถเห็นดาวดวงที่อยู่รอบนอกของกระจุกแยกเป็นเอกเทศได้

กระจุกดาวลูกไก่เป็นกระจุกดาวเปิด หากใช้กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ส่องดู จะพบว่าความจริงแล้วกระจุกดาวลูกไก่มีดาวสมาชิกมากกว่า ดวง และสามารถมองเห็นหมอกฝ้าจาง ๆ ที่เรียกว่าเนบิวลาอยู่บริเวณเดียวกัน ภาพถ่ายที่เปิดรับแสงนาน ๆ แสดงให้เห็นว่าเนบิวลาเหล่านี้สะท้อนแสงจากดาวฤกษ์จนเห็นเป็นม่านหมอกสีน้ำเงิน แต่เมื่อสังเกตด้วยตาเปล่าหรือผ่านกล้องจะเห็นเป็นสีเทา เนื่องจากดวงตาของเรามีความไวต่ำต่อสีของแสงที่สว่างน้อย การศึกษาสมบัติของดาวฤกษ์ในกระจุกดาวนี้เทียบกับแบบจำลองวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ พบว่าเป็นดาวอายุน้อย คาดว่ามีอายุราว 115 ล้านปี แสดงว่าถือกำเนิดขึ้นเมื่อยุคที่ไดโนเสาร์ครองโลก


ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่สว่างที่สุด เคลื่อนที่ไปรอบดวงอาทิตย์โดยมีระนาบวงโคจรเกือบอยู่ในระนาบเดียวกับโลก และอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก เมื่อสังเกตจากโลก เราจึงเห็นดาวศุกร์เคลื่อนไปตามกลุ่มดาวจักรราศี ทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47° ส่วนใหญ่ดาวศุกร์จะมีตำแหน่งอยู่ในทิศทางเดียวกับกระจุกดาวลูกไก่ราวปีละครั้ง แต่มีระยะห่างจากกระจุกดาวลูกไก่ไม่เท่ากันในแต่ละปี นับตั้งแต่ พ.ศ. 2515 เป็นต้นมา จะมีครั้งหนึ่งในทุก ๆ ปี ที่ดาวศุกร์มีตำแหน่งปรากฏผ่านใกล้กระจุกดาวลูกไก่ภายในระยะ 1° ใกล้จนอาจเรียกได้ว่าดูเหมือนเป็นสมาชิกหนึ่งของกระจุกดาวนี้ และทุกครั้งก็จะเกิดขึ้นในช่วงต้นเดือนเมษายน

ดาวศุกร์กับตัวเลข ปี เป็นคาบเวลาที่นักดาราศาสตร์คุ้นเคยกันดี เนื่องจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบ 365.256 วัน (คาบดาราคติ เทียบกับวัตถุที่อยู่ไกลมาก ๆ ในอวกาศ) ขณะที่ดาวศุกร์โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบ 224.701 วัน ระยะเวลา ปีของโลก (2,922.0 วัน) จึงยาวนานเกือบเท่ากับ 13 ปี ของดาวศุกร์ (2,921.1 วัน) ดาวศุกร์จึงมีรูปแบบการปรากฏบนท้องฟ้าเกือบจะวนกลับมาซ้ำเดิมทุก ๆ ปี เช่น วันนี้ตามปฏิทินเมื่อ ปีที่แล้ว กับอีก ปีข้างหน้า ดาวศุกร์จะปรากฏอยู่ที่จุดใกล้เคียงกับตำแหน่งที่เราเห็นมันอยู่ในปัจจุบัน

สำหรับปีนี้ ดาวศุกร์จะเข้าใกล้กระจุกดาวลูกไก่มากที่สุดในคืนวันศุกร์ที่ และเสาร์ที่ เมษายน 2563 ดาวศุกร์สว่างมาก หากไม่มีเมฆบังก็จะสว่างเด่นสะดุดตา เห็นได้ง่าย ส่วนกระจุกดาวลูกไก่ ปกติเราสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่การที่มีดาวศุกร์ซึ่งสว่างกว่าหลายร้อยเท่ามาอยู่ใกล้ ๆ ก็อาจทำให้สังเกตด้วยตาเปล่าได้ยากขึ้นเล็กน้อย กล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์จึงเป็นตัวเลือกที่ดีในการสังเกตการณ์


การเข้าใกล้กันระหว่างดาวศุกร์กับกระจุกดาวลูกไก่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำของต้นเดือนเมษายนไม่ได้เกิดขึ้นทุก ปี เช่นนี้ตลอดไป คืนวันที่ 3-4 เมษายน 2563 ดาวศุกร์อยู่ทางทิศใต้ของกระจุกดาวลูกไก่ หรือทางซ้ายมือเมื่อสังเกตในมุมมองจากพื้นโลก หลังจากนั้น ปี คืนวันที่ 3-4 เมษายน 2571 ดาวศุกร์จะเคลื่อนไปอยู่ทางขวามากขึ้นอีกเล็กน้อย (ใกล้กระจุกดาวลูกไก่มากขึ้น) ถัดไปอีก ปี วันที่ เมษายน 2579 ดาวศุกร์จะขยับไปทางขวามากขึ้น เป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่ง พ.ศ. 2611 (ค.ศ. 2068) ดาวศุกร์จะอยู่ห่างไปทางขวามือของกระจุกดาวลูกไก่ นับเป็นปีสุดท้ายที่เราจะมีโอกาสเห็นวัตถุท้องฟ้าทั้งสองอยู่ใกล้กันภายในระยะ 1°  (อันที่จริง ยังมีการเข้าใกล้กันในวันที่ 14 พฤษภาคม 2619 และ พฤษภาคม 2627 แต่มีตำแหน่งอยู่ค่อนข้างใกล้ดวงอาทิตย์ เวลาพลบค่ำจึงอยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้ามาก สังเกตได้ยาก)

หลังจาก พ.ศ. 2611 คนในอนาคตจะไม่มีโอกาสเห็นดาวศุกร์อยู่ใกล้กระจุกดาวลูกไก่ที่ระยะใกล้กว่า 1° นานถึงกว่า 100 ปี จนกระทั่งวันที่ เมษายน พ.ศ. 2758 (ค.ศ. 2215) วัฏจักร ปี ของการปรากฏใกล้กันภายในระยะ 1° ระหว่างดาวศุกร์กับกระจุกดาวลูกไก่จึงจะเริ่มขึ้นอีกครั้ง